คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บ้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินหลังหย่า: บ้านต่อเติมถือเป็นส่วนควบของที่ดินตกเป็นสินส่วนตัว
บ้านพิพาทหลังเดิมเป็นของบิดาและมารดาผู้ร้อง ต่อมาได้ยกให้แก่ผู้ร้องพร้อมทั้งที่ดินก่อนที่ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับจำเลย ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง หลังจากนั้นมีการต่อเติมบ้านในลักษณะถาวรติดที่ดิน จึงต้องถือว่าบ้านพิพาทที่ต่อเติมนี้เป็นส่วนควบของที่ดินที่ปลูกบ้านและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 เดิม โจทก์จึงยึดบ้านพิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6904/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของทรัพย์สิน: เจ้าของบ้านมีสิทธิไล่ผู้ครอบครองโดยไม่มีสิทธิ แม้บ้านจะตั้งอยู่บนที่ดินเช่า
โจทก์เป็นเจ้าของบ้านย่อมมีสิทธิใช้สอย และได้ซึ่งดอกผลกับทั้งมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีสิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิจะยึดถือครอบครองบ้านของโจทก์ด้วยเหตุใด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบบ้านแก่โจทก์ และขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านอันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ กับเป็นการใช้สิทธิขัดขวางและใช้สิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองบ้านจากจำเลยผู้เข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้ด้วยวิธีการทางศาลแม้บ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของ ม. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่ามาก็ไม่เป็นเหตุตามกฎหมาย ให้จำเลยมีสิทธิครอบครองบ้านแต่อย่างใดเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์หมดสิทธิปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่ามาแล้ว ย่อมไม่กระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ในฐานะเจ้าของบ้านให้เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรบกวนสิทธิครอบครองบ้านหลังการซื้อสิทธิเช่าซื้อ ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยขายสิทธิเช่าซื้อบ้านพิพาทให้โจทก์และส่งมอบการครอบครองแล้วโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในบ้านพิพาท ดังนั้น การที่จำเลยไล่บุตรและน้องภรรยาของโจทก์ซึ่งอาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ในบ้านพิพาทออกไปโดยไม่มีสิทธิและจำเลยได้ปิดประตูบ้านพิพาทใส่กุญแจไว้เพื่อป้องกันมิให้โจทก์หรือคนของโจทก์เข้าไปในบ้านโดยจำเลยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ อันเป็นการรบกวนสิทธิครอบครองบ้านพิพาทของโจทก์โดยปกติสุข จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านจากการครอบครองปรปักษ์และการยกให้ โดยพิจารณาผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์และจำเลย
หลังจาก ต. มารดาได้ลงชื่อโจทก์จำเลยและ ป. ซึ่งเป็นบุตรทั้งสาม เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินในปี 2511 แล้ว ต.มารดาก็ยังคงครอบครองบ้านพิพาทอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวต่อไป แม้บ้านพิพาทจะเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่งกรรมสิทธิ์ในบ้านจะเป็นของโจทก์จำเลยและ ป. ด้วยโดยผลของกฎหมายและ ต. มารดาไม่ทราบการครอบครองบ้านพิพาทของ ต.มารดาก็เป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ในส่วนของโจทก์จำเลยและ ป. ก่อนที่ ต.มารดาจะถึงแก่ความตายได้ยกบ้านพิพาทให้จำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทอยู่แล้ว การที่จำเลยอยู่ในบ้านพิพาทต่อมาจำเลยย่อมครอบครองบ้านพิพาทโดยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจาก ต. มารดา เมื่อรวมระยะเวลาครอบครองเกิน10 ปีแล้ว บ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์ และการครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินปลูกบ้าน จำเลยอาศัยในบ้านดังกล่าวและไม่ยอมออก ขอบังคับให้จำเลยออกจากบ้านพิพาท เป็นการสมบูรณ์ทั้งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ เพราะเมื่อบ้านปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์ไม่ว่าส่วนไหน โจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีแผนที่พิพาทประกอบอีกว่าบ้านอยู่ส่วนไหนของที่ดินเนื่องจากแผนที่พิพาทเป็นรายละเอียดที่จะทำหรือนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยฎีกาว่า แม้การยกให้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่จำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าวมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 30 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่94123 เจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 107วรรคสองเดิม ดังนั้นเมื่อ ป.โอนที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่ ส.โดยไม่ปรากฏมีเงื่อนไขว่าโอนไปโดยไม่รวมถึงบ้านดังกล่าว ก็ต้องถือว่าได้โอนบ้านนั้นด้วย โดยไม่จำเป็นต้องระบุว่าการโอนนั้นให้รวมถึงบ้านด้วยแต่อย่างใด ส.จึงมีสิทธิขายฝากบ้านดังกล่าวนั้นให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวด้วย
ส่วนบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ปลูกอยู่ในที่ดินของ ป.บางส่วนอีกทั้งฝ่ายจำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือนำสืบเลยว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของ ป.และใช้สิทธินั้นปลูกบ้านทั้งสองหลังในที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 109 เดิมนอกจากนี้ยังได้ความว่าบ้านทั้งสองหลังได้ต่อเติมอย่างถาวรจากบ้านเลขที่ 1จึงเป็นส่วนควบกับบ้านและที่ดินของ ป.ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. เมื่อ ป.ยกที่ดินให้ ส. ส.จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 107วรรรคสองเดิม ส.จึงมีสิทธิขายฝากบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ให้ไว้แก่โจทก์ได้และโจทก์ย่อมได้กรรรมสิทธิ์ในบ้าน 2 หลังนี้เช่นเดียวกับบ้านเลขที่ 1
ในชั้นอุทธรณ์ ฝ่ายจำเลยอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 8 ถึงที่ 17 อยู่ในบ้านของตนเอง โจทก์จึงไม่เสียหายเท่านั้น หาได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 2,000 บาทต่อหลังสูงเกินไปและไม่ชอบเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะอ้างอิงขึ้นกล่าวไว้โดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ลดลงเหลือหลังละ500 บาทต่อเดือนจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และให้บังคับเรื่องค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้ขายต้องคืนเงินที่รับไว้ให้ผู้ซื้อ
โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าซื้อบ้านโดยอ้างเหตุว่าสัญญาเลิกกันได้ความว่าสัญญาซื้อขายบ้านเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ศาลก็พิพากษาให้จำเลยคืนเงินในฐานลาภมิควรได้ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืนในฐานลาภมิควรได้
เมื่อสัญญาซื้อขายบ้านตามฟ้องเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เงินค่าซื้อบ้านที่จำเลยได้รับชำระไว้จากโจทก์จึงเป็นเงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยจำต้องคืนแก่โจทก์ แม้โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินค่าซื้อบ้านโดยอ้างเหตุว่าสัญญาเลิกกันศาลก็พิพากษาให้จำเลยคืนในฐานลาภมิควรได้ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้องไม่ เพราะคดีแพ่งนั้นเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การ และตามข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังได้ชัดแจ้งอย่างใดแล้ว ศาลก็ยกข้อกฎหมายขึ้นปรับแก่คดีเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ดินพร้อมบ้าน: เจตนาสละรวมถึงส่วนควบ แม้ไม่ได้ระบุในเอกสาร
ขณะทำบันทึกการสละมรดกนั้นมรดกมีแต่ที่ดินกับบ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินเท่านั้น ฉะนั้นแม้บันทึกการสละมรดกจะไม่มีข้อความระบุถึงบ้านพิพาทก็ต้องถือว่าบรรดาทายาทผู้ให้ถ้อยคำทุกคนมีเจตนาสละบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินด้วย การสละมรดกจึงมีผลใช้บังคับได้มิใช่เป็นการสละมรดกเพียงบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองบ้านที่สร้างบนที่ดินของผู้อื่น แม้เจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ ก็ต้องพิจารณาความเป็นเจ้าของบ้านควบคู่ไปด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์เพื่อให้จำเลยและลูกอยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้ จำเลยอยู่ต่อไปจึงได้บอกกล่าวให้จำเลยออกจากบ้านพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยออกจากบ้านพิพาท การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากบ้านพิพาท ย่อมหมายถึงฟ้องขับไล่ให้จำเลยออกไปจากที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทนั้นด้วย ดังนั้น เมื่อฟังได้ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลย ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ได้ ไม่เป็นการเกินคำขอหรือนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่สร้างระหว่างสมรสเป็นสินสมรสต้องแบ่งเท่ากัน
ผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อ 4 ธันวาคม 2504บ้านพิพาทปลูกในระหว่าง พ.ศ. 2517 ถึง 2524 หลังจากที่ผู้ร้องที่ 1ซื้อที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านมาเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้ว จึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสกันได้มาระหว่างสมรสอันเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474(1) เมื่อผู้ร้องที่ 1และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากัน ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชาย และหญิงได้ส่วนเท่ากัน เมื่อยังไม่มีการแบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสนั้นจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของร่วมกัน.
of 8