คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิบัติตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซื้อขายผิดสัญญา ค่าเสียหาย และการพิพากษาให้ปฏิบัติตามสัญญา
ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้มาขอเช่าจะเช่าเพื่อดำเนินกิจการอะไรเป็นระยะเวลานานเท่าใดตึกพิพาทอยู่ในย่านที่มีความเจริญหรือไม่อีกทั้งมีผู้มาขอซื้อตึกพิพาทเมื่อใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาเมื่อโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายตึกและที่ดินพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่าเดือนละ30,000บาทและหากขายจะได้กำไร1,700,000บาทเพราะมีผู้มาขอเช่าและขอซื้อในจำนวนเงินดังกล่าวฟ้องโจทก์ย่อมเป็นฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับอีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายตึกและที่ดินพิพาทแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้โดยให้โอนตึกพร้อมที่ดินพิพาทให้โจทก์พร้อมกับเรียกค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับอีกด้วยเพราะโจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแต่เพียงอย่างเดียวแต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380วรรคสองอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5574/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดตั้งบริษัท: เงื่อนไขการโอนหุ้นและการปฏิบัติตามสัญญา
ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ตั้งเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทไว้ว่า บริษัทจำเลยที่ 1 และผู้เริ่มก่อการตกลงให้โจทก์ถือหุ้น30 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการให้เปล่าก็ต่อเมื่อกรมการค้าภายในได้จัดสรรสินค้าที่ได้จัดสรรให้บริษัทจังหวัดต่าง ๆ อยู่แล้วให้บริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อโจทก์อนุมัติให้ตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอไว้ในคำเสนอขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำเสนอดังกล่าวในส่วนที่เป็นหน้าที่ของโจทก์ด้วย เพราะถือว่าโจทก์สนองรับคำเสนอของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 เกิดเป็นสัญญาที่คู่กรณีต้องปฏิบัติชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ไม่เคยจัดสรรสินค้าต่าง ๆ ตามสัญญาให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการโอนหุ้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: การเสนอและสนองสัญญา, การปฏิบัติตามสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญา, การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ
การที่จำเลยตกลงให้โจทก์เช่าอาคารสืบต่อจากผู้เช่าเดิมโดยถือตามสัญญาเช่าฉบับเดิม และโจทก์ได้ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างและค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลยตามเงื่อนไขที่จำเลยเสนอกับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าแล้ว โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในฐานะผู้เช่ากับผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าเดิมการที่โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงรายการการชำระเงินในภายหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเช่าฉบับเดิมไม่ แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระเงินกินเปล่างวดแรกและไปลงนามทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิมในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531แต่จำเลยก็มีหนังสือถึงตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์แจ้งความประสงค์เข้าทำสัญญาตามข้อตกลงนั้นได้ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2531ซึ่งภายในระยะเวลาที่บ่งไว้นี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะถอนคำเสนอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 354โจทก์จึงมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาตามข้อตกลงเดิมในวันใดก็ได้ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2531 เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้ทำสัญญาเช่าตามข้อตกลงเดิม โจทก์ก็ได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิม โดยนำเงินกินเปล่างวดแรกที่ถึงกำหนดชำระแล้วไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยกำหนดไว้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องรับผูกพันตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ทำให้เกิดสัญญาเช่าขึ้น การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขขึ้นมาใหม่โดยลดระยะเวลาการเช่าลงกับเพิ่มเงินกินเปล่าขึ้น โจทก์มิได้สนองรับจึงไม่เกิดสัญญาขึ้นใหม่และไม่มีผลลบล้างข้อตกลงเดิม โจทก์จำเลยตกลงกันที่จะทำสัญญาเช่าไว้เป็นหนังสือ และยังไม่มีการลงนามในสัญญาเช่าอันจะมีผลให้สาระสำคัญของสัญญาตามที่ตกลงกันไว้กลายเป็นสัญญาเช่าที่เป็นหนังสือ แต่เมื่อเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญของสัญญานั้น โจทก์ได้ตรวจแก้ไขและจำเลยก็ยอมรับแล้ว จึงไม่มีเหตุให้เป็นที่สงสัยว่าอาจจะมีข้อความใดที่ตกหล่นหรือเกินเลยไปจากคู่สัญญามุ่งทำสัญญากันแต่อย่างใด ทั้งคำเสนอและคำสนองของคู่สัญญาก็มีความชัดแจ้งและถูกต้องตรงกันทุกประการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่ยังมิได้มีสัญญาต่อกัน กรณีที่มีการตกลงให้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือแต่ให้ถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง นั้นมีได้เฉพาะเมื่อกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น เมื่อไม่มีกรณีเป็นที่สงสัยจะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนกำหนดวันจดทะเบียนโอนที่ดินหลายครั้ง ทำให้สัญญายังไม่เป็นที่สุด จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญา
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อกับจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายไปแล้วหลายครั้งหลายหน โดยต่างไม่ถือว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญา แสดงว่าโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระราคาที่ดินที่เหลือให้จำเลยตามกำหนดในสัญญา และถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แล้วให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำในทันทีหาได้ไม่จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือเสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงจะเลิกสัญญากับโจทก์ได้เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์ดังนั้น การบอกเลิกสัญญาของทนายความ ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลทางกฎหมาย จำเลยยังคงผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายอยู่ เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ แต่จำเลยไม่ยอมรับ ถือได้ว่าจำเลยละเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามสัญญาให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5505/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องทางภารจำยอม ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขการกระทำที่ขัดขวางการใช้ทาง
โจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่ดินของทั้งสองฝ่ายบางส่วนเป็นทางภารจำยอมโดยยอมให้ตัดฟันต้นไม้ที่ขึ้นกีดขวางทางหรือปรับทางภารจำยอมนี้ได้เพื่อความสะดวกในการใช้ทาง การที่โจทก์ถมดินใหม่สูงกว่าพื้นดินเดิมประมาณ 1 คืบตัดต้นมะม่วงแล้วยังเหลือตอสูงกว่าพื้นดินประมาณ 1 คืบมุงหลังคาสังกะสีระเบียงใหม่และทำหลังคาห้องน้ำใหม่แต่ไม่มีรางน้ำฝนและโจทก์ทำท่อระบายน้ำจากห้องน้ำไหลลงมาทางเดินเหล่านี้เป็นการกระทำที่ขัดขวางและทำให้ไม่สะดวกแก่การใช้ทางภารจำยอมจึงไม่เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การปฏิบัติตามสัญญา, ความสามารถในการชำระหนี้, และผลกระทบต่อการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินต่อกัน แต่การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เกิดจากเหตุขัดข้อง2 ประการ เหตุประการแรก เจ้าพนักงานที่ดินไม่กล้าตัดสินใจว่าการขายที่ดินเข้าข่ายจะต้องขออนุญาตค้าที่ดินจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 101 ก่อนหรือไม่เป็นการวินิจฉัยสั่งการของเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง การที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่กล้าตัดสินใจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจนกว่าจะได้หารือกรมที่ดินก่อนมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เหตุประการที่สอง เรื่องที่ฝ่ายโจทก์เพียงแต่เตรียมตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 3 ฉบับ ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินกับนำสมุดเงินฝากออมทรัพย์ของ ส. ไปแสดงต่อจำเลยทั้งสองแทนค่าซื้อไว้ก่อน แต่จำเลยทั้งสองไม่ยินยอม ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระเงินที่ค้างชำระทั้งหมดในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์การที่โจทก์พา ส. ไปซื้อที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ แม้จะไม่ใช่เรื่องผิดสัญญาในส่วนของตัวบุคคลผู้ที่จะเป็นผู้ซื้อก็ตามก็เรียกได้ว่าโจทก์และ ส. ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินส่วนที่ค้างชำระ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ชอบที่จำเลยทั้งสองจะริบมัดจำได้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวและอำนาจศาลในการปรับค่าประกันเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ให้ขังจำเลยทั้งสี่ระหว่างฎีกา ผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2ที่ 3 ไปจากศาลชั้นต้น ถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยทั้งสองนี้ได้ ศาลชั้นต้นปรับเต็มจำนวนตามสัญญาประกันคนละ 600,000 บาทต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ยกฟ้องผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลและของดหรือลดค่าปรับ ศาลสอบถามถึงการชำระค่าปรับในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันจำเลยที่ 2 แล้ว ผู้ประกันขอชำระเงินค่าปรับ 300,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท จนกว่าจะครบ ศาลชั้นต้นให้รับเงินและผ่อนชำระได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นฉบับเดียวกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันเพราะผิดสัญญาประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเป็นเวลา 1 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งลดค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ภายในเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ว่าต้องชำระค่าปรับที่เห็นควรลดให้แล้วนั้นภายใน 1 เดือน และต้องไม่ผิดนัดการชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2ด้วย มิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันได้ ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง การกู้ยืมเงินที่ดิน และการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายคืน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ผู้ขายกับจำเลย ระบุว่านับแต่วันทำสัญญาภายในระยะเวลา 2 ปี ถ้าโจทก์ประสงค์จะซื้อคืนจำเลยยินดีจะขายคืนให้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลเป็นสัญญา โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามได้
ข้อตกลงที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาภายหลังโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาคดีไปตามยอมแล้วนั้น เป็นข้อตกลงที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจะปฏิบัติต่อกันย่อมเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ภายหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเวลาใดและที่ใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ลูกหนี้ต้องปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้
โจทก์และจำเลยต่างมิได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความความทุกข้อที่ทำกันไว้ในศาลชั้นต้นแต่ที่จำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 โดยไม่ยอมให้โจทก์เช่าตึกแถวนั้นปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวดังกล่าวให้จำเลยตามสัญญาข้อ 2 โจทก์จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญายังมิได้ และที่จำเลยยังมิได้จัดการโอนหุ้นตามสัญญาข้อ 8 และยังมิได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ตามสัญญาข้อ 2 นั้น เนื่องจากสัญญาข้อ 8 และข้อ 2 มิได้เกี่ยวข้องหรือเป็นเงื่อนไขของสัญญาข้ออื่น ทั้งสัญญาข้อ 10 ระบุว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด อีกฝ่ายบังคับคดีได้ทันที โจทก์ก็อาจบังคับคดีได้เช่นกัน ไม่เป็นเหตุขัดข้องในการที่โจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาข้อ 2 ถึง ข้อ 5 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและคำบังคับ จำเลยก็มีสิทธิบังคับคดีแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271
of 9