คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกอบกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8203/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนประกอบกิจการร่วมกัน: ความรับผิดร่วมกันในละเมิดของลูกจ้าง
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการ โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 2 ร้อยละ 13 ของยอดรายได้ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายและยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 กับยอมให้จำเลยที่ 3 พ่นชื่อบริษัทจำเลยที่ 3 ไว้ที่ข้างรถ จึงถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการรับขนคนโดยสารด้วยกันในลักษณะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย
ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดไม่เกิน250,000 บาท ในนามของจำเลยที่ 3 นั้น ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ความรับผิดในจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 3 ต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลดลง เนื่องจากโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 3 ได้เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการให้เช่า/จำหน่ายวีดีโอเทปโดยไม่ได้รับอนุญาต และการมีวีดีโอเทปที่ไม่ได้แสดงรายละเอียดตามกฎหมาย
จำเลยประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายด้วยประการใดๆซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนดังบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530มาตรา6,34เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการที่จำเลยละเว้นไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนม้วนวีดีโอเทปหรือวัสดุโทรทัศน์จึงมิใช่เป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดจึงไม่มีเหตุที่จะริบของกลาง ความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530มาตรา10,36เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา6ที่มีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเมื่อจำเลยมิใช่เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา6แม้จำเลยจะมีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดไว้ในกฎกระทรวงจำเลยก็ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดประกอบกิจการเทปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเทปไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายซึ่งเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนและไม่มีเหตุได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย การกระทำผิดของจำเลยเกิดจากไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เทปของกลางจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด จึงไม่มีเหตุที่จะริบของกลาง ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 กับความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6,34 มิใช่ความผิดที่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6489/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าสิทธิจาก Licensing Agreement: สำนักงานสาขาทำหน้าที่ประกอบกิจการในไทย เสียภาษีตาม ม.66 มิใช่ ม.70
โจทก์ทำสัญญาให้ใช้สิทธิ (LicensingAgreement) กับบริษัท ช.ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศแคนาดา โดยบริษัทช. อนุญาตให้โจทก์มีสิทธิผลิตสินค้าเครื่องสำอางและเครื่องหอมภายใต้เครื่องหมายการค้าซึ่งบริษัทมีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ ทั้งจะให้คำแนะนำแก่โจทก์ในข้อปฏิบัติและกรรมวิธีในการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าดังกล่าว รวมทั้งการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลและให้คำแนะนำแก่โจทก์เป็นครั้งคราว โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนคิดคำนวณจากยอดขายของโจทก์ให้บริษัท สัญญานี้โจทก์ทำกับสำนักงานใหญ่ของบริษัทโดยตรง แต่หลังจากทำสัญญาแล้วสำนักงานสาขาประเทศไทยของบริษัท เป็นตัวแทนปฏิบัติตามพันธะ ดังกล่าว รวมทั้งการตรวจสอบยอดขายและการเปลี่ยนแปลงราคาขายของโจทก์สำนักงานสาขาประเทศไทยอันเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับบริษัทจึงเป็นผู้กระทำกิจการอันเป็นเหตุให้บริษัทได้รับเงินค่าสิทธิในประเทศไทย และมีหน้าที่เสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66กรณีมิใช่เงินได้ของนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยตามมาตรา 70 โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าสิทธิจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5948/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการขายลดเช็คถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้ไม่มีการลงบัญชีซื้อขาย
เช็คที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆมีอยู่ 3 ประเภท คือ เช็คของลูกค้า เช็คของโจทก์เอง และเช็คที่ไม่ปรากฏที่มา สำหรับเช็คของลูกค้า เป็นเช็คที่ได้มาจากการประกอบกิจการของโจทก์ โดยโจทก์ได้รับชำระหนี้มาเป็นเช็คที่ยังไม่ถึงกำหนดจึงนำไปขายลด จำนวนเงินที่ได้จากการขายลดเช็คประเภทนี้ต้องถือว่าเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์ ส่วนเช็คของโจทก์เองที่นำไปขายลดนั้น ต่อมาโจทก์ต้องนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น การที่โจทก์จะมีเงินไปเข้าบัญชีโจทก์ก็จะต้องมีเงินได้จากรายรับเนื่องจากการประกอบกิจการเช่นกันสำหรับเช็คที่ไม่ปรากฏที่มานั้น โจทก์อ้างว่าเป็นเช็คของหุ้นส่วนที่โจทก์ยืมมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปีที่โจทก์นำเช็คที่ยืนมาไปขายลดนั้น โจทก์ยังเป็นหนี้หุ้นส่วนที่โจทก์ยืมเช็คมา ย่อมแสดงว่าถ้ามีการยืมเช็คของหุ้นส่วนมาขายลดจริง ก็ต้องมีการชำระหนี้ตามเช็คที่ยืมมานั้นหมดแล้ว และโจทก์ต้องมีรายรับจากการประกอบกิจการอย่างน้อยตามจำนวนเงินในเช็คที่ยืมมาขายลด โจทก์จึงจะสามารถชำระหนี้เงินตามเช็คที่ยืมมาได้หมดสิ้น จึงถือได้ว่าเงินตามเช็คที่โจทก์ยืมมาขายลดนี้ เป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์เช่นเดียวกัน ดังนั้น เงินตามเช็คทั้ง 3 ประเภทที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงเป็นรายรับจากกิจการของโจทก์ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ขายลด โจทก์ก็ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิที่คิดจากยอดรายรับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเข้าข่ายเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้และทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร ก. หลายครั้งหลายช่วงเวลาและการซื้อขายไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศระหว่างกันหรือส่งเงินตราไปนอกราชอาณาจักร โจทก์มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบการค้าดังกล่าวตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการเทป/วัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีทรัพย์สินที่ผิดกฎหมาย
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ มีเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่มิได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบของเจ้าพนักงานผู้ตรวจไว้ในสถาน ที่ประกอบกิจการของตนเป็นความผิด เทปและวัสดุโทรทัศน์จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการเทป/วัสดุโทรทัศน์โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณา ถือเป็นทรัพย์ที่ต้องริบ
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ มีเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่มิได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบของเจ้าพนักงานผู้ตรวจไว้ในสถานที่ประกอบกิจการของตนเป็นความผิด เทปและวัสดุโทรทัศน์จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 32.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ยังคงต้องเสียภาษีการค้า หากเข้าข่ายประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคาร
การจะพิจารณาว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ ในประเภทใดต้องพิจารณาจากกิจการที่โจทก์กระทำเป็นสัญญา แม้กิจการนั้นจะได้กระทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายแต่ถ้าเป็นกิจการที่กฎหมายกำหนดว่าต้องเสียภาษีการค้าแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นปกติธุระจึงเป็นกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารก็ตาม เมื่อมีผลกำไรจากการนี้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 12 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศประกอบกิจการในไทย มีหน้าที่เสียภาษีจากการสั่งซื้อโดยตรงจากลูกค้า
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของบริษัท ท. แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีอำนาจทำสัญญาแทนบริษัท ท. วิธีการปฏิบัติในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ของโจทก์นั้น วิศวกรของโจทก์จะต้องไปสำรวจออกแบบและสั่งเครื่องปรับอากาศเข้ามา โดยโจทก์จะทำใบสั่งซื้อไปยังผู้ขายถ้าไม่มีใบสั่งซื้อ บริษัทผู้ขายจะขายให้ใครไม่ได้ ก่อนทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศและระบบระบายอากาศกับบริษัท ต. ในประเทศไทย โจทก์ก็ให้วิศวกรของโจทก์ไปสำรวจออกแบบ แล้วแยกคำนวณราคาค่าเครื่องปรับอากาศกับค่าแรง ในการติดตั้งไว้ต่างหาก แต่เนื่องจากบริษัท ต. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรโดยไม่ต้องเสียภาษีอากร โจทก์จึงให้บริษัท ต. เป็นผู้สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากบริษัท ท. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยตรงการกระทำของโจทก์ดังกล่าวฟังได้ว่าบริษัท ท. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีโจทก์เป็นผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นเหตุให้บริษัท ท. ได้รับเงินได้ในประเทศไทย ถือได้ว่าบริษัท ท. ประกอบกิจการในประเทศไทยและโจทก์ผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
of 8