พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6032/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากปกปิดการเจ็บป่วยเกิน 1 เดือน ทำให้จำเลยแพ้คดี
โรงพยาบาลอุดรธานีได้ถ่ายสำเนาประวัติการรักษาตัวของบ.มอบให้ก.และก.ได้รายงานแจ้งไปยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1เมื่อวันที่16พฤศจิกายน2533ซึ่งตามรายงานดังกล่าวระบุว่าจากการตรวจสอบเชื่อได้ว่าบ.มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ก่อนทำประกันอย่างแน่นอนและป่วยเป็นมะเร็งทั้งตามหนังสือบอกล้างสัญญาประกันชีวิตจำเลยที่1ก็อ้างว่าแพทย์เคยวินิจฉัยว่าบ. ป่วยเป็นโรคมะเร็งของท่อน้ำดีจำเลยที่1ย่อมมีเหตุควรรู้ได้แล้วว่าบ. เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งและเคยได้รับการตรวจรักษามาแล้วแต่บ. ปกปิดความจริงดังกล่าวฉะนั้นจึงฟังได้ว่าจำเลยที่1ได้รู้มูลเหตุที่จะบอกล้างสัญญาประกันชีวิตตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533ที่จำเลยที่1ได้รับรายงานของก. แล้วการที่จำเลยที่1บอกล้างสัญญาประกันชีวิตในวันที่19มิถุนายน2534จึงเกิน1เดือนนับแต่วันที่จำเลยที่1รู้มูลเหตุที่จะบอกล้างได้จำเลยที่1จึงต้องแก้คดีตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และการหักชดใช้จากสัญญาประกันชีวิต
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 (1) กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่า จำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน 14,413 บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน 10,000 บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัท ม.มาหักมิได้ เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะ หานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่ และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์ต่อค่ารักษาพยาบาล และการหักชดใช้จากประกันชีวิต
จำเลยผู้รับประกันภัยรถยนต์ในประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้ประสบภัยตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2535)ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ข้อ2(1)โดยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัทม. มาหักมิได้เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะและจะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย และการหักชดใช้จากประกันชีวิต
ตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2535)ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ข้อ2(1)กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่าจำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทสำหรับความเสียหายต่อร่างกายเมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน14,413บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน10,000บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัทม.มาหักมิได้เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะหานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตกับประกันอุบัติเหตุ: การตีความตามสัญญาจ้างและกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889ได้วางหลักไว้ว่าในสัญญาประกันชีวิตการใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลของผู้ตายได้ความว่าหากผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุจากการทำงานบริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินให้การจ่ายเงินก็โดยอาศัยความมรณะของผู้ตายจึงเป็นการประกันชีวิตตามกฎหมายมาตราดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้จัดการประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายตามที่ได้ตกลงไว้แล้วส่วนสาเหตุการตายเป็นเพียงเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันและผู้รับประกันจะตกลงกันในการจ่ายเงินเท่านั้นไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตกลับกลายเป็นไม่ใช่สัญญาประกันชีวิตไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จในการทำประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ ผู้ชักชวนไม่ใช่ตัวแทนผู้รับประกัน
ผู้เอาประกันชีวิตรู้อยู่แล้วว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่แจ้งในคำขอเอาประกันชีวิตว่าไม่เคยเป็นโรคดังกล่าว อันเป็นความเท็จสัญญาประกันชีวิตย่อมเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
ส.เป็นผู้ชักชวนให้ ธ. ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย แม้ ส.รู้ว่า ธ. เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็จะถือว่าจำเลยรู้เช่นนั้นด้วยไม่ได้เพราะ ส.มิได้เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน หรือเป็นตัวแทนของจำเลยผู้รับประกันชีวิต แต่เป็นเพียงผู้หาผู้ที่จะเอาประกันชีวิตและดำเนินการทำคำขอเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันเท่านั้น
ส.เป็นผู้ชักชวนให้ ธ. ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย แม้ ส.รู้ว่า ธ. เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็จะถือว่าจำเลยรู้เช่นนั้นด้วยไม่ได้เพราะ ส.มิได้เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน หรือเป็นตัวแทนของจำเลยผู้รับประกันชีวิต แต่เป็นเพียงผู้หาผู้ที่จะเอาประกันชีวิตและดำเนินการทำคำขอเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลสุขภาพที่สำคัญ
คำว่า"มูลอันจะบอกล้างได้"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา865วรรคสองคือข้อความในวรรคแรกที่ว่า"ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยก็ดีหรือในกรณีประกันชีวิตก็ดีบุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดีรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญาหรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ" จำเลยทราบว่าผู้ตายเป็นมะเร็งภายหลังจากทำสัญญาประกันชีวิตมิใช่เป็นก่อนหรือขณะทำสัญญากรณียังไม่ทราบมูลที่จะบอกล้างกำหนดระยะเวลาบอกล้างหนึ่งเดือนตามมาตรา865วรรคสองจึงยังไม่เริ่มนับต่อมาจำเลยได้รับรายงานในวันที่3ธันวาคม2528ว่าผู้ตายน่าจะเป็นมะเร็งมาก่อนทำสัญญาแต่ปกปิดไว้จึงเป็นการทราบมูลอันจะบอกล้างได้แล้วเมื่อจำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังโจทก์ในวันที่23และ24ธันวาคม2528จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามมาตรา865วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันชีวิต ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ หากจำเลยบอกล้างสัญญาแล้วไม่ต้องรับผิด
ป. รู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคร้ายแรงรักษาไม่หาย ได้ขอเอาประกันชีวิตต่อจำเลยโดยปกปิดข้อเท็จจริงไม่กรอกข้อความในคำขอเอาประกันภัยว่าตนเป็นโรคดังกล่าวซึ่งถ้าจำเลยทราบความจริงข้างต้นนี้แล้วอาจไม่ยอมทำสัญญาประกันชีวิตด้วย ดังนั้น สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะ เมื่อจำเลยบอกล้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิต ตัวแทนในการขายประกันมีหน้าที่เพียงชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยเท่านั้น มิใช่ตัวแทนในการทำกรมธรรม์ประกันชีวิต การที่ตัวแทนในการขายประกันจะได้รู้ถึงข้อความจริงที่ผู้เอาประกันชีวิตไม่เปิดเผยหรือไม่ ก็หาอาจจะยกเป็นข้อยันจำเลยได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยในสัญญาประกันชีวิตทำให้สัญญามีโมฆียะ และตัวแทนขายไม่มีอำนาจผูกพันจำเลย
ป. ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ทั้งที่ในคำขอเอาประกันมีข้อความระบุถามโดยชัดเจนถึงโรคดังกล่าว โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคร้ายแรงและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป.และจำเลย จึงตกเป็นโมฆียะ ตัวแทนในการขายประกันของจำเลยมีหน้าที่เพียงชักชวนให้ผู้อื่นมาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย มิใช่ตัวแทนในการทำกรมธรรม์ประกันชีวิต การที่ตัวแทนจะได้รู้ข้อเท็จจริงหรือไม่ หาอาจยกเป็นข้อยันจำเลยได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตหลังต่ออายุ และผลผูกพันตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้ ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191(เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2529 ฉะนั้นเมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว