พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยร่วมกับผู้เช่าซื้อ
รถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อและรถยนต์ที่เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยเป็นรถยนต์คันเดียวกัน และสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทั้งสองเกิดจากการสูญหายของรถยนต์คันเดียวกัน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญหาย จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดี เพื่อให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยในคดีนี้และไม่จำต้องเป็นคู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและประกันภัย กรณีรถยนต์สูญหาย ศาลอนุญาตให้เรียกคู่สัญญาประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้
รถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อและรถยนต์ที่เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยเป็นรถยนต์คันเดียวกันและสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทั้งสองเกิดจากการสูญหายของรถยนต์คันเดียวกัน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญหาย จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดี เพื่อให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)(ก) โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยในคดีนี้ และไม่จำต้องเป็นคู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง/ตัวแทน จำเป็นต่อการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนกระทำละเมิดต่อโจทก์ไปตามคำสั่งหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการหรือผู้ใช้ วานยินยอม สั่งและสมประโยชน์ในการที่จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์กระบะในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู่ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ประเด็นข้อพิพาทมีว่า จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว แต่โจทก์คงมี ค. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์กระบะไว้จากจำเลยที่ 2 มีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ ตามคำเบิกความของ ค. ดังกล่าวไม่ได้ความว่า ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความสัมพันธ์กันดังที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่อย่างใด ส่วนพยานโจทก์ปากอื่นก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไปตามคำสั่งหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการ แม้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ก็เป็นเพียงโจทก์ไม่ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ฟังได้ความดังกล่าวตามฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 เพราะจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการทำละเมิดของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งมีข้อความระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในกรณีที่ผู้ขับขี่มิใช่ผู้เอาประกันภัยเพียงแต่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยโดยโจทก์มิได้ฟ้องเช่นนั้น เป็นการพิพากษานอกคำฟ้องนอกประเด็น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยหลังรถยนต์สูญหาย และอำนาจศาลในการพิพากษาจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้ราคารถยนต์พิพาท จำเลยทั้งสี่ให้การว่า รถยนต์พิพาทสูญหายไป เห็นว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ ซึ่งหากจำเลยทั้งสี่ต้องชำระราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยร่วม และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของรถยนต์พิพาทจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยทั้งสี่จึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามที่จำเลยทั้งสี่ขอดังกล่าวแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยร่วมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้โจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบประกันภัย หากไม่ได้ใช้รถหรือมีไว้เพื่อใช้
แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่า เจ้าของรถ คือ ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ตามมาตรา 7 ผู้มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายนั้นต้องเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุหรือมีรถยนต์คันเกิดเหตุไว้เพื่อใช้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สำนักงานสาขาประกันภัย ไม่ถือเป็นภูมิลำเนาของบริษัทในการฟ้องร้อง
สำนักงานสาขาอุดรธานีของบริษัทจำเลยที่ 3 เป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 3 แต่ไม่ปรากฏว่าสำนักงานสาขาอุดรธานีของจำเลยที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 คงได้ความเพียงว่าโจทก์ได้ไปติดต่อให้สำนักงานสาขาอุดรธานีชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เท่านั้นซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุละเมิดแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาอุดรธานีของจำเลยที่ 3 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 ในส่วนกิจการอันได้กระทำเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดอุดรธานี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัย: ผู้ประสบภัย vs. ผู้จ่ายค่ารักษา
การที่ผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองประสบภัยได้รับบาดเจ็บต่อร่างกายก็เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อด้วยความประมาทเลินเล่ออันเป็นการทำละเมิดต่อผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองโดยตรง ไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรถที่กระทำโดยจงใจหรือประพฤติเลินเล่ออย่างร้ายแรง และไม่ใช่ผู้ขับขี่รถอันจะต้องถูกไล่เบี้ยตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองไปแล้ว โจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะไปเรียกร้องเอาแก่บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองไว้ซึ่งมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ประสบภัยและไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยหรือใช้สิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยจากจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดประกันภัยผู้ประสบภัย หากไม่ได้ใช้รถเอง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 4 ให้คำจำกัดความคำว่า "เจ้าของรถ" หมายถึง ผู้ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ และหมายความรวมถึงผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วย ดังนั้น ผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อต่างก็เป็น "เจ้าของรถ" ตามคำจำกัดความดังกล่าว เพราะผู้ให้เช่าซื้อคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เช่าซื้อคือผู้ครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ตามมาตรา 7 นั้น ระบุว่า ผู้ที่จะต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยนั้น ต้องเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้เท่านั้น หากเป็นเจ้าของรถแต่ไม่ได้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรานี้ เพราะมาตรานี้มุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของรถที่มีการใช้รถเท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อแม้จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถก็ตาม แต่ไม่ได้เป็นผู้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้คงมีรถไว้เพื่อให้เช่าซื้อเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตามมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามสัญญา และหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถึงกำหนด
สัญญากู้เงินระหว่างจำเลยผู้กู้กับโจทก์ผู้ให้กู้กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยของหนี้เงินกู้ไว้แล้ว แม้ตามสัญญาจำนองจะระบุว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี แต่เมื่อสัญญาจำนองเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามอัตราที่ระบุในสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่โจทก์ปรับเพิ่มดอกเบี้ยให้สูงกว่าอัตราร้อยละ 11.50 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเพราะเหตุที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนและค้างชำระติดต่อกันหลายงวด แม้เป็นการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัด ข้อตกลงเช่นว่านี้มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรอันเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้
การที่จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำนองไว้แก่โจทก์ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์จัดการทำประกันภัยได้เอง และจำเลยยินยอมชำระเบี้ยประกันภัยคืนแก่โจทก์ แต่เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยภายหลังวันฟ้องเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระ อันเป็นหนี้ในอนาคต จะถือว่าจำเลยละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนนั้นยังไม่ได้ กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้
การที่จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำนองไว้แก่โจทก์ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์จัดการทำประกันภัยได้เอง และจำเลยยินยอมชำระเบี้ยประกันภัยคืนแก่โจทก์ แต่เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยภายหลังวันฟ้องเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระ อันเป็นหนี้ในอนาคต จะถือว่าจำเลยละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนนั้นยังไม่ได้ กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10325/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของประกันภัย, ความรับผิดของนายจ้าง, และข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริง
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้ นาย ส.ค. เป็นผู้เช่าซื้อ โดยมี นาย ส.พ. เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อ ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในบรรดาอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถยนต์ ส่วนตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจำต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วม นาย ส.พ. ผู้ค้ำประกันจึงมีส่วนได้เสียในความเสียหายของรถยนต์คันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และนาย ส.พ. จึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 แล้วเกิดเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยทั้งสองฝ่ายประมาทพอ ๆ กัน หรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แล้วพิพากษายกฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็หาได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างซึ่งขับรถไปในทางการที่จ้างหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 510,569 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 330,667 บาท โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายส่วนที่ยังขาดอยู่อีก 179,902 บาท แก่โจทก์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกา จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเพียงฝ่ายเดียว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 แล้วเกิดเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยทั้งสองฝ่ายประมาทพอ ๆ กัน หรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แล้วพิพากษายกฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็หาได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างซึ่งขับรถไปในทางการที่จ้างหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 510,569 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 330,667 บาท โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายส่วนที่ยังขาดอยู่อีก 179,902 บาท แก่โจทก์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกา จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเพียงฝ่ายเดียว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย