คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันสังคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต: การจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณีและหน้าที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม แม้ผู้รับจ้างลาป่วย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 29 บัญญัติให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาตินั้น ก็เพื่อให้ลูกจ้างประกอบกิจกรรมสำคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ซี่งวันหยุดดังกล่าวล้วนแต่ให้หยุดในระหว่างการทำงานทั้งสิ้น เมื่อ ฉ. ลาป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ตลอดมาจนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่มีการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงไม่มีวันหยุดตามประเพณีดังกล่าว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีให้แก่ ฉ. และไม่ได้หักค่าจ้างของ ฉ. ส่งสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 73 โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11394-11547/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: เหตุผลอันสมควรล่าช้าการยื่นคำขอ
วันที่มีการคลอดบุตรหรือตายแล้วแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ยังมิได้จ่ายเงินสมทบให้แก่จำเลยครบถ้วนตามกฎหมาย อันจะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เพราะอยู่ในระหว่างที่มีการโต้แย้งขององค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายเพียงใด ดังนั้น โจทก์จึงยังมิอาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายแล้วแต่กรณีตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า องค์การค้าของคุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ว่าจะต้องหักเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพิ่มเติมในกรณีคลอดบุตรและกรณีตาย โดยจะหักย้อนหลังไปจนถึงเดือนเมษายน 2538 และองค์การค้าของคุรุสภาได้สำรองจ่ายแทนเงินสมทบส่วนของลูกจ้างส่งไปให้จำเลยเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2543 และหักเงินสมทบจากลูกจ้างทั้งหมดครบถ้วน เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2544 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนสำหรับกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน 2538 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายอันเป็นวันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น เป็นกรณีที่โจทก์มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า โจทก์จึงยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประกันสังคม: การรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเอกชนเมื่อโรงพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถให้การรักษาได้ และประเด็นดอกเบี้ย
โจทก์เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามสิทธิแล้ว แต่โรงพยาบาลดังกล่าวไม่สามารถให้บริการหรือเยียวยารักษาเพื่อให้โจทก์รอดชีวิตได้ จึงเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำเพื่อรักษาชีวิตโจทก์ โดยนำโจทก์ไปรับการรักษาพยาบาลทางสมองที่โรงพยาบาล พ. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนเนื่องจากมีศัลยแพทย์ทางสมองประจำอยู่ ต้องถือว่าโจทก์มีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ และต้องไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลอื่นตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 59 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับคืนเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายไปเป็นค่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่โรงพยาบาล ร. ซึ่งโรงพยาบาล พ. ส่งโจทก์ไปตรวจกับเงินค่าผ่าตัดสมองที่โรงพยาบาล พ. โดยเงินทั้งสองจำนวนเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ 2)
คำฟ้องโจทก์ไม่ได้มีคำขอดอกเบี้ยในเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์มาด้วย ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวนดังกล่าวโดยไม่ให้เหตุผลว่าเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความอย่างไร จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนประกันสังคมกรณีจำเป็นเร่งด่วน แม้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ศาลพิพากษาเกินคำขอเรื่องดอกเบี้ย
โจทก์เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ส. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิแต่โจทก์มีอาการหนักมากจึงถูกส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาล ช. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเครือข่ายระดับบน และโจทก์อยู่ที่โรงพยาบาลดังกล่าวกว่า 16 ชั่วโมง ก็มิได้รับการบำบัดรักษาอาการเลือดคั่งในสมองจนอาการทรุดลงเรื่อย ๆ จนตกอยู่ในภยันตรายแก่ชีวิต ญาติโจทก์จึงย้ายโจทก์ไปโรงพยาบาล พ. ซึ่งแพทย์ได้ทำการผ่าตัดสมองทันที โจทก์จึงมีชีวิตรอดมาได้ จึงเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องกระทำเพื่อรักษาชีวิตโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิได้ และต้องไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลอื่นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 59 ยังถือไม่ได้ว่า โจทก์สละสิทธิหรือไม่ประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคม
ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคมจำเลย เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ 2) ระบุไว้ในข้อ 4.2 ว่า กรณีจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์เพราะเกิดอุบัติเหตุจ่ายเงินเป็นค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทดรองจ่ายค่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่โรงพยาบาล ร.ซึ่งโรงพยาบาลช. ส่งโจทก์ไปตรวจเป็นเงิน 4,000 บาท และเงินค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล พ. ซึ่งโจทก์ได้รับการผ่าตัดสมองเมื่อเวลา 18.15นาฬิกา ของวันที่ 6 มีนาคม 2543 ภายหลังจากโจทก์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ส.เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2543 เวลา 17 นาฬิกาเศษ เป็นเงิน 227,268 บาท จึงเป็นเงินเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ครั้งแรก โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวม231,268 บาท
คำฟ้องโจทก์ไม่ได้มีคำขอดอกเบี้ยในค่าทดแทนมาด้วย การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว โดยไม่ให้เหตุผลว่าเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความอย่างไร จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างก่อนกำหนดตามข้อตกลง และการส่งเงินสมทบประกันสังคมเพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทน
แม้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามปกติ แต่ก็เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างที่ว่า หากวันที่กำหนดตรงกับวันหยุดให้จ่ายค่าจ้างก่อนวันหยุดนั้น จึงถือเป็นการจ่ายค่าจ้างตามปกติ ไม่ใช่การจ่ายค่าจ้างล่วงหน้า เมื่อนายจ้างได้หักค่าจ้างของโจทก์เพื่อส่งเป็นเงินสมทบแล้วในวันเดียวกัน จึงต้องถือว่าโจทก์ได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบเจ็ดเดือนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5211/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างก่อนกำหนดไม่กระทบสิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม หากมีการหักเงินสมทบตามกฎหมาย
ไม่มีกฎหมายใดบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างรายเดือนในวันสิ้นสุดของเดือน มิฉะนั้นจะไม่ถือว่าเป็นการจ่ายค่าจ้าง และตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 47 วรรคหนึ่งทุกครั้งที่นายจ้างจ่ายค่าจ้าง นายจ้างต้องหักค่าจ้างส่งเป็นเงินสมทบแก่สำนักงานประกันสังคมโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ว่าการจ่ายค่าจ้างนั้นจะได้กระทำเมื่อใด ทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับนายจ้างกำหนดให้จ่ายค่าจ้างเดือนละครั้งทุกวันที่ 25 ของเดือนหากตรงกับวันหยุดให้จ่ายค่าจ้างก่อนวันหยุดนั้น ปรากฏว่าวันที่ 24 และ 25 กุมภาพันธ์2544 เป็นวันหยุด นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ให้โจทก์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 การที่จ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวจึงไม่ใช่การจ่ายค่าจ้างล่วงหน้า เมื่อนายจ้างได้หักค่าจ้างของโจทก์เพื่อส่งเป็นเงินสมทบแล้วในวันเดียวกันจึงต้องถือว่าโจทก์ได้จ่ายเงินสมทบเดือนกุมภาพันธ์ 2544 แล้วตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์2544 โจทก์จึงเป็นผู้ประกันตนที่ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ตามเงื่อนไขในมาตรา 65 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรซึ่งตลอดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544
โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 4,000บาท ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 66 ประกอบประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ลงวันที่ 30 มีนาคม 2538 และมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเป็นการเหมาจ่ายร้อยละ 50 ของค่าจ้างตามมาตรา 57 เป็นเวลา 90 วันตามมาตรา 67 เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท จึงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวจำนวน 22,500 บาท เป็นกรณีที่มีกฎหมายกำหนดจำนวนไว้แน่นอน ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรให้แก่โจทก์ตามกฎหมาย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าจำเลยจะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: การสละสิทธิบริการมาตรฐานและการบังคับใช้ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม
ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยรับบริการทางการแพทย์ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 63 ในสถานพยาบาลที่กำหนดตามมาตรฐานที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม หากผู้ประกันตนประสงค์จะได้รับบริการพิเศษกว่ามาตรฐานบริการทางการแพทย์ที่กำหนด เช่น ค่าห้องพิเศษ ค่าอาหาร ค่ายา ค่าแพทย์ที่ผู้ประกันตนระบุเฉพาะ ทางสถานพยาบาลจะเรียกเพิ่มได้เฉพาะในส่วนที่เกินจากสิทธิของประกันสังคมโดยตกลงกับผู้ประกันตนเป็นลายลักษณ์อักษรตามหนังสือของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลในโครงการประกันสังคม ฉบับลงวันที่ 15 เมษายน 2536
โจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด แต่โจทก์ประสงค์จะรับบริการพิเศษกว่ามาตรฐานบริการทางการแพทย์ที่กำหนด จึงต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะส่วนที่เกินจากสิทธิของประโยชน์ทดแทนของสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมที่โจทก์สละสิทธิผู้ป่วยประกันสังคมโดยจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด ในส่วนที่ตัดสิทธิ์โจทก์ที่พึงได้รับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานของประกันสังคม พ.ศ. 2533 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 คงบังคับได้เฉพาะค่าบริการทางการแพทย์ส่วนที่เกินจากสิทธิตามประกันสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม การสละสิทธิเพื่อรับบริการพิเศษ และข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม แต่โจทก์ประสงค์จะได้รับบริการพิเศษกว่ามาตรฐานบริการทางการแพทย์ที่กำหนดจึงต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะส่วนที่เกินจากสิทธิของประโยชน์ทดแทนของสำนักงานประกันสังคม ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับโรงพยาบาลจำเลยร่วมที่ว่าโจทก์สละสิทธิผู้ป่วยประกันสังคมโดยโจทก์จะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมดนั้นในส่วนที่ให้ตัดสิทธิที่โจทก์พึงได้รับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานของประกันสังคม ซึ่งเป็นสิทธิที่จะได้รับตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 63 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 คงบังคับได้เฉพาะค่าบริการทางการแพทย์ส่วนที่เกินจากสิทธิตามประกันสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตายหลังสิ้นสภาพลูกจ้าง: การส่งเงินสมทบต่อเนื่องและการปฏิเสธการรับชำระเงิน
ผู้ประกันตนถูกนายจ้างเลิกจ้าง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ต่อไปอีก 6 เดือน คือถึงวันที่ 31 มกราคม 2544 สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 อนุมัติให้เป็นผู้ประกันตนต่อไปตามมาตรา 39 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 และให้ส่งเงินสมทบภายในวันที่ 1 ถึง 15 มีนาคม 2544 โจทก์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบแต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยปฏิเสธที่จะรับชำระเงินสมทบ ครั้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายดังนี้ สำนักงานประกันสังคมจะปฏิเสธจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีตายโดยอ้างว่าผู้ประกันตนถึงแก่ความตายหลังจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเกิน 6 เดือน โดยผู้ประกันตนไม่ได้ส่งเงินสมทบหนึ่งเดือนภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตายไม่ได้ เพราะโจทก์ได้แสดงความจำนงขอชำระเงินสมทบงวดแรกตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 แล้ว เป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมเองที่ไม่ยอมรับ สำนักงานประกันสังคมจึงต้องจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม: การว่าจ้างเหมาค่าแรงและลักษณะนายจ้าง-ลูกจ้าง
ผู้ประกอบกิจการที่จะอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานรับเหมาค่าแรง ตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้ว่าจ้างเหมาค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมาค่าแรงรายใดรายหนึ่งเป็นผู้จัดหาคนงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการ หรือผู้รับเหมาค่าแรงนำงานอันเป็นธุรกิจ หรือกระบวนการผลิตของผู้ประกอบกิจการไปให้คนงานของผู้รับเหมาค่าแรงทำในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ทำงานโดยใช้เครื่องมือที่สำคัญในการทำงานของผู้ประกอบกิจการ และคนงานเหล่านั้นต้องมีฐานะเป็นลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงด้วย
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าข้าว ในการขนข้าวลงเรือไปขายให้แก่ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ โจทก์ว่าจ้าง ส. จีนเต็งใหญ่เป็นผู้รับเหมาค่าแรงขน ส. จะให้ ท. จีนเต็งหัวหน้าสายเป็นคนจัดหาคนงานซึ่งสมัครใจรับจ้างรายวันเฉพาะกิจเป็นคราว ๆ มาขนข้าวสาร โดยก่อนขนข้าวสารลงเรือ คนงานต้องผสมข้าวสารด้วยเครื่องจักรของโจทก์และบรรจุใส่กระสอบผ่านสายพานในโกดังของโจทก์ อันเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ทำงานที่โจทก์เป็นผู้จัดหา แล้วแบกกระสอบข้าวสารไปลงเรือ การทำงานของคนงานจึงอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการของ ส. ส. ย่อมมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือคนงานทุกคน ประกอบกับ ส. เป็นคนจ่ายค่าจ้างให้แก่คนงานที่มาแบกขนข้าวสารแต่ละวัน นิติสัมพันธ์ระหว่าง ส. กับคนงานจึงเข้าลักษณะจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ส. มีฐานะเป็นนายจ้างของคนงาน และเมื่อการทำงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของโจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะนายจ้างของคนงานทั้งหมดด้วย เมื่อขณะเกิดเหตุโจทก์มีลูกจ้างเกิน 10 คน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง กรณีเปลี่ยนวันที่มีหน้าที่ชำระเงินสมทบ และชำระเงินสมทบให้แก่จำเลย
of 13