คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกาศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 176 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การสละสิทธิเมื่อไม่แสดงตนภายใน 90 วันหลังประกาศ
แม้จำเลยได้ยึดถือครอบครองที่ดินมาก่อนที่กฎกระทรวงกำหนดให้ป่าดงขุนดำ เป็นป่าสงวนแห่งชาติก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทราบประกาศให้ที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ จึงถือว่า จำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้ว ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าวเมื่อป่าไม้อำเภอแจ้งว่า จำเลยบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติให้ออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปโดยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกเป็นของแผ่นดินของรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งแร่ผิดกฎหมาย เมื่อเจ้าของไม่แสดงตัวตามประกาศ
พนักงานสอบสวนมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 4 การที่ บ. ผู้เช่าซื้อไปแสดงตัวต่อพนักงานสอบสวนและขอรับรถยนต์พิพาทซึ่งใช้เป็นยานพาหนะกระทำผิดในการบรรทุกแร่ผิดกฎหมายโดยไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองขณะจับกุมคืน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รู้ตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์พิพาทอันจะเป็นเหตุให้กรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจที่จะประกาศหาตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์พิพาท เมื่อการประกาศที่จำเลยที่ 2 กระทำไปชอบด้วยกฎหมายโจทก์ผู้เป็นเจ้าของและ บ. ผู้ครอบครองรถยนต์พิพาทไม่แสดงตัวเพื่อขอรับคืนภายในกำหนดเวลาตามประกาศรถยนต์พิพาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 15 เบญจ วรรคสามโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกรถยนต์พิพาทคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ราคาสินค้าฯ การออกประกาศแก้ไขหลักเกณฑ์ความผิดไม่ยกเลิกความผิดที่กระทำสำเร็จแล้ว
การกระทำที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 43 คือการฝ่าฝืนประกาศที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดใช้อำนาจประกาศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ประกาศดังกล่าวเป็นการกำหนดรายละเอียดของการกระทำที่ถือว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการฝ่าฝืน อันเป็นการกำหนดรายละเอียดในส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ของความผิด มิใช่กำหนดหลักเกณฑ์แห่งความผิดตามมาตรา 43 เมื่อคณะกรรมการฯ ออกประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528แล้ว จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนความในข้อ 5 ของประกาศนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 43 แม้ต่อมามีประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528ก็เป็นเพียงการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดมิใช่เป็นการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำที่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยที่ 2จึงมิใช่ผู้ที่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและการบังคับใช้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในอันที่จะให้ลูกหนี้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถามเจ้าหนี้ทวงถามเมื่อครบ 1 เดือน นับแต่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินแต่หาได้ดำเนินการฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและเพิ่งมาขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปีนับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชน การชำระคืนวงเงินขั้นต่ำและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินให้กู้ยืมของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 54(7) แห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ที่กำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกเอกสารการกู้ยืมเงินที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนไม่ต่ำกว่า 3 ปี ให้แก่ผู้ให้กู้และต้องมีข้อกำหนดไม่ให้ไถ่ถอนก่อนกำหนดเวลาด้วยนั้น เป็นข้อกำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยเฉพาะ ไม่นำมาบังคับในการกู้ยืมเงินจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วยกัน โดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและแจ้งการขายทอดตลาดโดยการปิดประกาศหน้าศาลชอบด้วยกฎหมายเมื่อส่งโดยวิธีปกติไม่ได้ และการขายทอดตลาดในราคาที่สมควร
จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามฟ้อง แต่พนักงานเดินหมาย ส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้ไม่ได้ เพราะบ้านเลขที่ดังกล่าวถูกรื้อ ไปแล้ว ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้ประกาศหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลย หลังจากนั้นในการแจ้งวันนัด ตลอดจนการแจ้งการยึดทรัพย์และวันขายทอดตลาดทำโดยการปิดประกาศที่หน้าศาลถือได้ว่าการส่งหนังสือแจ้งการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาด ให้จำเลย ไม่สามารถทำได้โดยวิธีธรรมดา ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาต ให้ส่งหนังสือดังกล่าวโดยการปิดประกาศหน้าศาล เป็นการใช้ดุลพินิจ สั่งโดยชอบ ถือว่าจำเลยทราบวันขายทอดตลาดแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทรวม 3 ครั้งเป็นเวลาเกือบ 5 เดือน ครั้งสุดท้ายมีผู้เข้าสู้ราคา 5 คน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแก่ผู้ให้ราคาสูงสุดเป็นเงิน 2,680,000 บาท สูงกว่าราคาประเมิน ที่จำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทมีราคาไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทก็เป็นเพียงการคาดคะเน เมื่อไม่ปรากฏว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย ถือว่าการขายทอดตลาด ชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5931/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามกฎหมายโดยไม่ต้องมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 (1) บัญญัติว่าเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ประเภท 1 แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่ามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และปิดประกาศให้ประชาชนทราบแล้วอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5931/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ประกาศกระทรวง
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7(1) บัญญัติว่าเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ประเภท 1 แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่ามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และปิดประกาศให้ประชาชนทราบแล้วอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดในความผิดป่าสงวน: การครอบครองก่อนประกาศเป็นป่าสงวนทำให้ไม่มีเจตนา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถาง ทำไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและมิได้รับยกเว้นตามกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพว่า ได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวจริง เป็นเวลา 33 ปีแล้ว โจทก์ไม่สืบพยาน ดังนี้คำให้การของจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ว่าจำเลยได้เข้าไปในที่ดินตามฟ้องก่อนที่ที่ดินดังกล่าวจะเป็นป่าสงวน แห่งชาติ การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิด ลงโทษจำเลยไม่ได้
ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาป่าไม้: การบรรยายฟ้องประกาศและพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามพ.ศ. 2530 กำหนดให้ไม้ตะเคียนหินในป่าท้องที่ทุกจังหวัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่ทุกจังหวัดดังปรากฏรายละเอียดตามสำเนาประกาศท้ายฟ้อง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศแล้ว ในสำเนาประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องนั้น ปรากฏว่าประกาศดังกล่าวได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรณีจึงเท่ากับว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าประกาศนั้นได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษามาพ้นเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศตาม มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และเมื่อตามฟ้องของโจทก์ฟังได้ว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศแล้วพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้เป็นกฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำความผิด แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาพร้อมกับฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีป่าไม้: การพิสูจน์การมีผลใช้บังคับของกฎหมายและประกาศ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามพ.ศ. 2530 กำหนดให้ไม้ตะเคียน หินในป่าท้องที่ทุกจังหวัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้ ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอด เขตท้องที่ทุกจังหวัดดัง ปรากฏรายละเอียดตาม สำเนาประกาศท้ายฟ้อง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพ้นกำหนดเก้า สิบวันนับแต่วันประกาศแล้ว ในสำเนาประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องนั้น ปรากฏว่าประกาศดังกล่าวได้ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรณีจึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าประกาศนั้นได้ มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษามาพ้นเก้า สิบวันนับแต่วันประกาศตาม มาตรา 47แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และเมื่อตาม ฟ้องของโจทก์ฟังได้ว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาพ้นกำหนดเก้า สิบวันนับแต่วันประกาศแล้วพระราชกฤษฎีกาฉบับ ดังกล่าวย่อมมีผลใช้ บังคับได้ เป็นกฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำความผิด แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาพร้อมกับฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่ประการใด.
of 18