พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ใช่เหตุตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เนื่องจากโจทก์ผิดข้อตกลงในเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน อันเป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานนั้นมิใช่กรณีหนึ่งกรณีใดตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ การที่โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุย่อมเป็นการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติตามพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เมื่อปรากฏว่า การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานดังกล่าวโดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามที่ระบุไว้ในข้อ 47 หรือเข้าข้อยกเว้นในกรณีไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 จึงต้องถือเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทดแทนจากอุบัติเหตุทางาน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับคดีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 62กำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในเงินทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้น หนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน"ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: ค่าชดเชยการเลิกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ ลงวันที่12 กันยายน พ.ศ.2534 ข้อ 2 ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ.2515 ไม่ใช้บังคับ แต่ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2534 ได้มีระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ประกาศใช้บังคับ ซึ่งข้อ 45 ของระเบียบดังกล่าวก็ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างในหลักเกณฑ์เกียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน2515 ข้อ 46 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2514 ข้อ 46 จึงเป็นเพียงการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตปลูกสร้างอาคารตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง
ภายหลังที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อจำเลยแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดบริเวณห้ามทำการก่อสร้างอาคารในบางส่วนของตำบล ซึ่งรวมถึงบริเวณที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารด้วย จำเลยจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้เมื่ออาคารที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้าง ต้องห้ามมิให้ก่อสร้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ถือว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตยืนตามคำสั่งจำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จภายใน 60 วัน ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดประกาศกระทรวงมหาดไทย และการพิจารณาคำอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารพาณิชย์2 ชั้นต่อจำเลยแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10มิถุนายน 2528 กำหนดบริเวณห้ามทำการก่อสร้างอาคารในบริเวณบางส่วนของตำบลป่าตองอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งรวมถึงบริเวณที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารรายนี้ด้วย ต่อจากนั้นจำเลยจึงได้มีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้ เมื่ออาคารที่โจทก์ขออนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นสูงเกิน 5 เมตร ซึ่งต้องห้ามมิให้ก่อสร้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ถือว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตยืนตามคำสั่งของจำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ไม่มีเหตุที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จภายใน60 วัน แต่ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยโดยไม่ได้ให้ตัวจำเลยเข้าสืบก่อนพยานปากอื่น แต่จำเลยเป็นนิติบุคคล พยานจำเลยที่นำเข้าสืบเป็นเจ้าพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาคำร้องของโจทก์ และทนายจำเลยได้แถลงเหตุขัดข้องของพยานที่จะนำเข้าสืบในแต่ละนัดไว้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แถลงคัดค้าน ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นำพยานปากใดเข้าสืบก่อนหลัง การสืบพยานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของประกาศกระทรวงมหาดไทยต่อคดีแรงงานที่ค้างคา และการจ่ายค่าล่วงเวลาโดยมีเหตุสมควร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 กันนยายน 2534 ซึ่งข้อ 3 กำหนดให้ข้อพิพาทหรือคดีของโจทก์ซึ่งยังไม่ถึงที่สุดให้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515จนกว่าข้อพิพาทหรือคดีจะถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อข้อพิพาทหรือคดีของโจทก์ได้เกิดขึ้นก่อนและยังไม่ถึงที่สุดก่อนใช้ประกาศฉบับดังกล่าวข้างต้น จึงนำพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาใช้บังคับไม่ได้
จำเลยไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบโดยมีเหตุผลอันสมควร จึงไม่เป็นการกระทำโดยจงใจผิดนัดและไม่มีเหตุสมควร โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสอง
จำเลยไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบโดยมีเหตุผลอันสมควร จึงไม่เป็นการกระทำโดยจงใจผิดนัดและไม่มีเหตุสมควร โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจ: ผลกระทบประกาศกระทรวงมหาดไทย และเหตุผลสมควรในการไม่จ่าย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2534 ซึ่งข้อ 3 กำหนดให้ข้อพิพาทหรือคดีของโจทก์ซึ่งยังไม่ถึงที่สุดให้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 จนกว่าข้อพิพาทหรือคดีจะถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อข้อพิพาทหรือคดีของโจทก์ได้เกิดขึ้นก่อนและยังไม่ถึงที่สุดก่อนใช้ประกาศฉบับดังกล่าวข้างต้นจึงนำพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534มาใช้บังคับไม่ได้ จำเลยไม่จ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามระเบียบโดยมีเหตุผลอันสมควร จึงไม่เป็นการกระทำโดยจงใจผิดนัดและไม่มีเหตุสมควร โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ผู้รับมอบหมายทำงานแทนกรรมการถือเป็นนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานและทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ เป็นการได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำเลยที่ 5 เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า"นายจ้าง" ไว้ว่าให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลด้วย.