คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 752 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันและการเพิ่มโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 91
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91 เมื่อจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยต้องเพิ่มทุกกระทงความผิด เว้นแต่ในความผิดฐานใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกเกินห้าสิบปีตาม ป.อ. มาตรา 51 ที่ศาลชั้นต้นยกคำขอเพิ่มโทษทุกกระทงความผิด เนื่องจากลงโทษในความผิดกระทงหนึ่งตลอดชีวิตแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่, การกำหนดโทษ, และการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 134 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 20)ฯ ซึ่งตามมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พ.ร.บ. ดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2542 ซึ่งจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในวันที่ 15 กันยายน 2543 แต่พนักงานสอบสวนจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 ซึ่งมาตรา 134 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) ยังไม่ใช้บังคับ พนักงานสอบสวนจึงไม่ต้องปฏิบัติตามมาตราดังกล่าว การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษในการมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และ 216
องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216 นั้น ผู้มั่วสุมต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 โดยการมั่วสุมนั้นยังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำการอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 แต่หากผู้นั้นกระทำการดังที่มาตรา 215 บัญญัติไว้ ก็จะมีความผิดทั้งมาตรา 215 และมาตรา 216 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ชุมนุมปราศรัยด้วยความสงบ ไม่มีพฤติการณ์ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง แสดงว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกมิได้มั่วสุมโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 216 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ในคดีอาญาเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติไว้แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่าจะนำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะในกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้น และให้นำมาใช้บังคับเพียงเท่าที่จะใช้บังคับได้ บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 193/17 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาไม่ได้ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังได้บัญญัติในมาตรา 185 วรรคหนึ่ง ว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้แท้งลูก แม้ไม่มีเจตนา ก็ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลถึงอันตรายสาหัสนั้น ดังนั้นแม้จำเลยจะทำร้ายผู้เสียหายโดยมิได้มีเจตนาทำให้แท้งลูก เมื่อผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้เสียหายต้องแท้งลูกแล้ว จำเลยก็ต้องมีความผิดตามมาตรา 297(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะผู้เสียหายนั่งอยู่บนแคร่จำเลยเดินเข้าไปตบผู้เสียหายจนตกจากแคร่ แล้วจิกผมให้ศีรษะผู้เสียหายกระแทกกับเสา เมื่อมีผู้เข้าห้าม จำเลยก็ถีบที่ท้องของผู้เสียหาย อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีก่อนกับคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไม่จำกัดฐานความผิดหรืออายุผู้กระทำผิด
บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 มิได้มีข้อบังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากความผิดฐานเดียวกัน จึงจะนำมาบวกโทษได้ และมิได้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับอายุของผู้กระทำความผิด แม้ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี ศาลก็นำโทษของจำเลยในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้บวกกับโทษในคดีหลังได้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลัง และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่า ขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลยตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไว้ในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ตาม เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่เป็นมาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6)
ปัญหาว่า การบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 จะต้องเป็นความผิดฐานเดียวกัน ขณะกระทำความผิดอายุต้องเกิน 17 ปี และต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ในคำขอท้ายฟ้องหรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในที่เกิดเหตุอุบัติเหตุ ต้องพิจารณาประเภทของอุบัติเหตุตามกฎหมาย หากไม่เข้าข่ายมาตรา 335 ให้ลงโทษตามมาตรา 334
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(2) บัญญัติถึงการลักทรัพย์ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุซึ่งอุบัติเหตุนั้นเฉพาะเกิดแก่รถไฟหรือยานพาหนะที่ประชาชนโดยสารเท่านั้น ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายในบริเวณที่มีอุบัติเหตุรถยนต์เฉี่ยวชนกันซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้ขับรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(2) วรรคแรก ได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีก่อนเข้ากับคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไม่จำกัดความผิดฐานเดียวกันหรืออายุผู้กระทำผิด
ฎีกาจำเลยที่ว่าการบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 จะต้องเป็นความผิดฐานเดียวกันและขณะกระทำผิดอายุต้องเกิน 17 ปี และตามคำขอท้ายฟ้องจะต้องระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ด้วยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 มิได้บังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากความผิดฐานเดียวกันจึงจะบวกโทษได้และมิได้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับอายุของผู้กระทำผิด ดังนั้น แม้จะมีเหตุดังกล่าวศาลก็นำโทษของจำเลยในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้บวกกับโทษในคดีหลังได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 6 เดือน โทษจำคุกรอไว้ 2 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง และภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่าขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลย ศาลจึงมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่มาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ มีองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(7)(8)
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันลักมือหมุนเครื่องยนต์รถไถนา 1 อัน และนอตขันแท่นเครื่องยนต์ 3 ตัว ของผู้เสียหายไป โดยเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืนในเคหสถานทรัพย์ที่ลักเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรที่ผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมและเป็นการกระทำผิดโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์ที่ถูกลักนั้นไป จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิ
โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าผู้เสียหายเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรม จึงลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามมาตรา 335 วรรคสาม ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และการพรากผู้เยาว์ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 14 ปี พักอาศัยอยู่กับยายเมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลยแล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งแรก และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามว่าเหตุใดจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วจึงไม่รับผิดชอบจำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองล้วนเป็นการกระทำอันล้วงล้ำต่ออำนาจการปกครองของบิดามารดาของผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร อย่างไรก็ดี จำเลยยังไม่มีภริยา จึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้ และต่างก็รักใคร่ชอบพอกันทั้งได้จดทะเบียนสมรส โดยได้รับอนุญาตจากศาล จึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก
of 76