คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏและแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน อีกทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19, 20
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรุนแรงของบาดแผลทางกายเพื่อกำหนดความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นบาดแผลรอยแดง ๆ บวมช้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร รักษาประมาณ 3 วันหาย ยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยคงมีความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์โดยมีอาวุธในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสอง ไม่ใช่มาตรา 339 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาซื้อขายที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติ: ไม่บังคับใช้ราคาประเมินหากไม่มีการจดทะเบียน
ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน2515 ข้อ 76 มิได้บังคับว่าหากในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่สำนักงานทะเบียนที่ดินแล้ว จะต้องถือเอาราคาที่ดินของกรมที่ดินกำหนดเป็นเกณฑ์แทน เพราะมิใช่ราคาซื้อขายกันในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีบุคคลต่างด้าว: เจ้าพนักงานต้องไต่สวนและแจ้งการประเมินก่อนฟ้องเรียกรับผิด
การที่จะเรียกให้ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อรับผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรกนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะต้องดำเนินการตาม มาตรา 19 และ 20ก่อน กล่าวคือ จะต้องเรียกบุคคลผู้ต้องรับผิดนั้นมาไต่สวนแล้วแจ้งจำนวนเงินที่จะประเมินไปยังบุคคลผู้ต้องรับผิด เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามความใน มาตรา 76 ทวิวรรคสามก่อน มิฉะนั้นกรมสรรพากร โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบุคคลนั้นให้รับผิดตาม มาตรา 76 ทวิ และย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันบุคคลนั้นให้ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขประเมินภาษีที่ผิดพลาด: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีซ้ำหลังพบข้อผิดพลาดเป็นไปตามกฎหมาย
ค่ารายปีของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์เช่ามาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมประจำปีภาษี 2531 ที่ถูกต้องจำนวน 18,195,941.60 บาท ต้องถือเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปี 2532 การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532สำหรับโรงงานดังกล่าวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยคิดค่ารายปีเพียง 3,360,000 บาท ค่าภาษีที่จะต้องเสียจำนวน420,000 บาท โดยโรงงานนั้นไม่ได้ถูกรื้อถอนหรือถูกทำลายให้ลดลงจากเดิม ย่อมเป็นการประเมินที่ผิดพลาด ดังนั้นหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบถึงจำนวนค่ารายปีที่ถูกต้องแท้จริงประจำปีภาษี 2531 จากคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางแล้วได้มีหนังสือแจ้งรายการประเมินให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 มาชำระเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,848,242.70 บาทจึงเป็นเพียงการแก้ไขการประเมินครั้งแรกที่ผิดพลาดนั้นเสียใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 24 ประกอบมาตรา 8 และมาตรา 18 บัญญัติไว้นั่นเองไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดเสียใหม่ให้ถูกต้อง และมิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินซ้ำซ้อนกันหรือเรียกเก็บปีละ 2 ครั้ง ฉะนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินค่าภาษีเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,848,242.70 บาทจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายต้องห้าม-ดอกเบี้ยเงินกู้: การหักรายจ่าย, การประเมินภาษี, และเหตุงดลดเงินเพิ่ม
เงินส่วนที่นำเข้าฝากในบัญชีสมทบทุนนี้เป็นเงินที่หักจากเงินเดือนของพนักงานแต่ละคนซึ่งโจทก์ได้จ่ายให้พนักงานแล้ว เพียงแต่ให้สิทธิโจทก์หักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามระเบียบที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่พนักงานเมื่อออกจากงานเท่านั้น ตามระเบียบของโจทก์เมื่อพนักงานของโจทก์ออกจากงานก็มีสิทธิที่จะได้รับเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยจากบัญชีสมทบทุนทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ โจทก์เพียงแต่มีสิทธิยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้ที่พนักงานยังคงค้างชำระแก่ตนเท่านั้นแม้ในระหว่างที่ยังทำงานอยู่พนักงานไม่มีสิทธิถอนเงินดังกล่าว และอำนาจจัดการเงินกองทุนจะตกเป็นเด็ดขาดของผู้ควบคุม 3 คน โดยตำแหน่ง คือ กรรมการผู้จัดการสมุห์บัญชี และผู้จัดการบุคคลของโจทก์ แต่ต้องเป็นการจัดการตามระเบียบที่กำหนดไว้ อันเป็นประโยชน์ในการสะสมทรัพย์ให้พนักงาน ผู้ควบคุมโดยตำแหน่งทั้ง 3 คนดังกล่าวแม้เป็นผู้บริหารระดับสูงของโจทก์ แต่ก็เป็นพนักงานของโจทก์ และเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยการเป็นผู้ควบคุมของบุคคลทั้งสามมิให้ทำในนามโจทก์แต่เป็นการทำแทนสมาชิกทุกคนรวมทั้งบริษัทโจทก์ด้วยเงินเดือนที่โจทก์จ่ายให้พนักงานแต่ละคนรวมทั้งเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนในบัญชีสมทบทุนนี้เป็นรายจ่ายในหมวดเงินเดือนของโจทก์ซึ่งนำมาหักเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ได้ โดย โจทก์ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนทั้งหมด ของ พนักงานไว้ตามมาตรา 50 แล้วนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอ ตามมาตรา 52 จึงเป็นเงินที่จ่ายขาดจากโจทก์แล้ว เงินส่วนที่หักจาก เงินเดือนนำเข้าฝากในบัญชีสมทบทุนนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงาน นับแต่นั้น ดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินฝากนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงาน หาใช่เงินของโจทก์ไม่ การกำหนดราคาสินค้าคงเหลือในแต่ละปีของโจทก์ได้กระทำโดย ประเมินราคาสินค้าให้เหมาะสมกับราคาตลาด คำนึงถึงประเภทของสินค้า อายุการใช้งาน เป็นสินค้าที่ลูกค้าส่งคืน เพราะชำรุดหรือไม่ ล้าสมัยหรือไม่ แล้วนำหลักเกณฑ์ การตัดค่าเสื่อมราคาและค่าตัดบัญชี มาประกอบ ในการกำหนดราคา ซึ่งมีแนวปฏิบัติตามข้อ 7 เช่น สินค้าที่เสียง่าย หากคงเหลือถึง 18 เดือนจะตัดค่าเสื่อมราคาลงร้อยละ 50 หากคงเหลือถึง 2 ปี จะ ตัดออกจากบัญชีหมด จะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าว เป็น การ ตัดค่าเสื่อมราคาสินค้าคงเหลือมิใช่เป็นการคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่แท้จริงตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ(6) โจทก์มีรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและมีรายจ่าย ซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9)(18) ในปี 2514 จำนวน 557,106.50 บาท ในปี 2515 จำนวน 1,256,529.49 บาท อันเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาหัก เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี จึงต้องนำมารวมคำนวณ เป็นเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี โจทก์กู้เงินมาจากเจ้าหนี้หลายราย บางรายระบุอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 7 ก็มี ร้อยละ 10.5 ก็มี ร้อยละ 11 ก็มี ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยก็มี มีแต่การระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระตอนสิ้นปี เท่านั้น ซึ่งดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เท่ากัน ส่วนเงินที่โจทก์ให้บริษัทในเครือกู้มีการระบุวันเดือนปีที่ให้กู้ ยอดเงินที่ให้กู้ บางรายก็ระบุอัตรา ดอกเบี้ยว่า ร้อยละ 10 บ้าง ร้อยละ 10.5 บ้าง ร้อยละ 11 บ้างไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยบ้าง แต่ไม่ปรากฏว่ามีเงินรายใดบ้างที่โจทก์ กู้มาแล้วนำเงินดังกล่าวไปให้บริษัทในเครือกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย อันจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่ามิได้นำมาใช้ในกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ แม้โจทก์ซึ่งมีภาระพิสูจน์จะนำสืบไม่ได้ว่าเงินที่กู้มา มิได้นำไปให้บริษัทในเครือกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย ต้องถือว่าเงิน ส่วนที่ให้บริษัทในเครือดังกล่าวกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยเป็นเงิน ที่โจทก์กู้มา ดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปในส่วนนี้จึงเป็นรายจ่าย ที่มิใช่เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะก็ตาม แต่ดอกเบี้ย ที่ได้จากบริษัทในเครือหรือที่อ้างว่าสมควรจะได้จากบริษัทในเครือ อาจมีอัตรามากหรือน้อยว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กู้มา จำนวนดอกเบี้ย จึงไม่เท่ากันพอที่จะนำไปหักทดแทนกันได้ ข้อสำคัญก็คือยอดดอกเบี้ย ที่โจทก์อ้างว่าลงบัญชีผิดพลาดดังกล่าวมิใช่ตัวเลขของรายจ่าย ดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไป หรือเท่ากับดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปสำหรับ เงินต้นในจำนวนเดียวกันทั้งไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าพนักงาน ประเมินที่จะนำไปหักทดแทนกันได้ รายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2514 จำนวน 1,801,323.35 บาท และปี 2515 จำนวน 3,551,560.01 บาท ที่เจ้าพนักงานประเมินนำไปหักออกจากการจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ที่โจทก์จ่ายไปในปี 2514 และ 2515 จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำมอบให้ แล้วแจ้งประเมินภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการประเมิน ที่ชอบ หากโจทก์มีข้อโต้แย้งในรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารอย่างไร ชอบที่โจทก์จะชี้แจงให้เจ้าพนักงานประเมินทราบหรืออุทธรณ์การประเมิน ไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือนำสืบในชั้นศาลได้ การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือโจทก์คำนวณโดยการกำหนดกฎเกณฑ์ เอาเองตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชีอันมิใช่ ราคาตลาด เพื่อให้ต่ำกว่าราคาทุน ทำให้มีรายรับน้อยลง และเสียภาษีเงินได้น้อยลงไปด้วยแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยง การเสียภาษีในตัว ส่วนรายจ่ายต้องห้ามในแผนกท่องเที่ยวโจทก์ทำใบสำคัญการจ่ายขึ้นเองแล้วเอาอากรแสตมป์มาปิดโดยไม่มีรายละเอียดถึงเหตุที่ต้องจ่ายเงินว่าเป็นการจ่ายเพื่อกิจการอย่างไร ชื่อที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่ชัดแจ้งมีพฤติการณ์ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีคดีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการประเมินภาษีอากรและการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ได้อ้างเหตุในฟ้องไว้แล้วว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้จัดหางานได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2525 ก่อนหน้านั้นโจทก์ไม่มีรายได้หรือรายรับจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไว้ ดังนั้น เมื่อคดีฟังได้ว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงต้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวตามฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด หาจำต้องไปวินิจฉัยว่าส่วนใดถูกต้องส่วนใดไม่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าใดไม่
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แต่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คดีนี้เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการคนหนึ่งแล้ว ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่เพราะเป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: หลักฐานการจ่ายเงินต้องชัดเจน หากไม่มีหลักฐาน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าใช้จ่ายให้เหมาได้
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์อ้างว่ามีการหักให้เจ้าของฟิล์มภาพยนต์ ที่ นำมาฉายนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการจัดทำหลักฐานการรับเงินไว้ บัญชีแสดงการจ่ายเงินก็ไม่มีจ่ายให้แก่ผู้ใด จำนวนเท่าใดก็ไม่ปรากฏ จึงไม่อาจนำจำนวนค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการ คำนวณภาษีที่ต้องชำระของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนด ค่าใช้จ่ายให้เป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 75 เป็นประโยชน์แก่โจทก์ มากกว่า ไม่มีข้อที่โจทก์จะอ้างได้ว่าหักค่าใช้จ่ายให้ไม่ถูกต้อง และเป็นผลร้ายแก่โจทก์ โจทก์จึงนำเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้าง เพื่อให้เพิกถอนการประเมินไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินกับการเวนคืน: หลักเกณฑ์การประเมินความเสียหายที่แตกต่างกัน
แม้พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 28 วรรคสาม ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าทดแทนตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันในท้องตลาด แต่คดีนี้เจ้าของที่ดินที่ถูกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเดินสายไฟฟ้าผ่านมิได้เสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ เพียงแต่เสียสิทธิเกี่ยวกับการใช้ที่ดินดังกล่าวไปบ้างจึงแตกต่างจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ การจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินย่อมต้องให้ต่ำกว่าการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนค่าใช้ที่ดินของโจทก์เท่ากับอัตราร้อยละห้าสิบของราคาที่ดินจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนรถไฟ: การประเมินค่าเสียหายที่สมเหตุสมผลและการแบ่งความรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกและได้นำเข้าไปร่วมในกิจการค้าของจำเลยที่ 3 ซึ่งจดทะเบียนประกอบการขนส่งไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ในการขับรถยนต์บรรทุกได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างให้แก่จำเลยที่ 2ด้วยความประมาทชนกับรถไฟของโจทก์ ดังนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในฐานะที่เป็นนายจ้างร่วมกันของจำเลยที่ 1 ค่าเสียหายในการซ่อมรถไฟคันเกิดเหตุ โจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าแรงและค่าของที่โจทก์ได้ใช้จ่ายไปจริงในการซ่อมดังกล่าวส่วนค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในโรงงาน ซึ่งมีค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเชื้อเพลิง ค่าเครื่องจักรทำงาน ค่าเสื่อมราคากับค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรและค่าควบคุมซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปในการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุละเมิดขึ้นนั้น โจทก์คิดคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการดังกล่าวมาจากสถิติตามระเบียบของการรถไฟปี พ.ศ. 2525 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการคิดมาจากผลการทำละเมิด โจทก์ย่อมไม่สามารถเอาค่าใช้จ่ายทั้งสองรายการนี้มารวมกับค่าแรงและค่าของเพื่อคิดเป็นค่าเสียหายในการซ่อมรถไฟคันเกิดเหตุได้สำหรับค่าเสียหายด้านการโดยสารนั้น เนื่องจากเหตุที่รถไฟตกรางทำให้การเดินรถต้องหยุดชะงักเป็นเหตุให้โจทก์ขาดรายได้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว แต่โจทก์คำนวณค่าเสียหายดังกล่าวจากสถิติการจำหน่ายตั๋วรถไฟหลายขบวนที่โจทก์เคยได้รับค่าโดยสารมาถัวเฉลี่ย มิใช่รายได้ที่โจทก์ขาดไปจริง ศาลจึงมีอำนาจที่จะกำหนดค่าเสียหายจำนวนนี้ให้ได้ตามจำนวนที่เห็นว่าเหมาะสม นอกจากนี้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมทางของฝ่ายการช่างโยธาทั้งค่าแรงและค่าของ ค่าแรงในการยกรถตกราง และค่าลากจูงรถไฟคันเกิดเหตุตามจำนวนที่ได้ใช้จ่ายไปจริง แต่ค่าโอเวอร์เฮดชาร์จในการยกรถตกราง ค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงานและค่าควบคุมนั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าค่าโอเวอร์เฮดชาร์จกับค่าควบคุมซึ่งโจทก์คิดในอัตราร้อยละ51 และ 25 ของค่าแรงยกรถนั้นเกี่ยวข้องกับการซ่อมรายนี้อย่างไรและมีหลักการคิดคำนวณอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการละเมิด ส่วนค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงานโจทก์มิได้สืบว่าเหตุใดเมื่อจ่ายค่าแรงแล้วต้องจ่ายค่าอาหารอีกจึงเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม สำหรับค่าจัดรถพิเศษช่วยอันตรายที่โจทก์ต้องจัดขบวนรถไฟพิเศษไปจัดการเปิดทางนั้น โจทก์ได้คำนวณเพิ่มค่าควบคุมรถโดยสารในอัตราร้อยละ 20 รถสินค้าในอัตราร้อยละ 15 ไว้ด้วย โดยคิดคำนวณจากระเบียบของโจทก์ ค่าควบคุมส่วนที่คำนวณเพิ่มขึ้นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิด ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ใหม่ได้
of 13