พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250-251/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ อาวุธปืน: ศาลฎีกาพิจารณาความถูกต้องของการปรับบทและข้อจำกัดการฎีกา
ฟ้องว่าจำเลยมีและใช้อาวุธปืนปล้นทรัพย์ แต่ไม่ระบุว่าเป็นอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อันจะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสามดังนี้ จึงลงโทษจำเลยหนักขึ้นไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษหนักขึ้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยฐานพาอาวุธปืนโดยผิดกฎหมายไม่เกิน5 ปี การที่จำเลยฎีกาว่ามิได้พาอาวุธปืน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 และในกรณีศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ แต่จำเลยกลับฎีกาโต้แย้งว่ามิได้มีอาวุธปืนสั้นซึ่งมีนายทะเบียนของบุคคลอื่นไว้ในครอบครองดังนี้ถือว่าฎีกาที่ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมและตั๋วเงินปลอม การพิจารณาโทษและการปรับบทลงโทษตามกฎหมายอาญา
คำว่า "เอกสารราชการ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) หรือมาตรา 265 หมายถึง เอกสารของราชการไทยเท่านั้น
การที่จำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมและเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อพนักงานจ่ายเงินและรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารในคราวเดียวกันเพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
ส่วนปัญหาการปรับบทลงโทษ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี.
การที่จำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมและเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อพนักงานจ่ายเงินและรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารในคราวเดียวกันเพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
ส่วนปัญหาการปรับบทลงโทษ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยซึ่งมิได้ฎีกาด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำอนาจารและพยายามข่มขืนเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี การปรับบทลงโทษ
จำเลยได้ถอดกางเกงในของตนออกแล้วจับผู้เสียหายซึ่งมีอายุไม่เกิน 13 ปี ถอดเสื้อกางเกง จากนั้นพาไปนอนหงายบนฟูกของโจทก์ร่วม จำเลยนอนคว่ำทับ กอดจูบผู้เสียหายและได้พยายามเอาอวัยวะเพศของตนสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย อันเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารและพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งอายุไม่เกิน 13 ปี การที่จำเลยได้กระทำอนาจารโดยถอดเสื้อผ้าจำเลยและผู้เสียหายแล้วนอนคว่ำทับ กอดจูบผู้เสียหายและได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหายนั้น เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันโดยมุ่งหมายที่จะกระทำชำเรา จึงเป็นความผิดกรรมเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 80, 279, 91 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก 80, 279 วรรคสอง การกระทำความผิดดังกล่าวเป็นกรรมเดียว ให้ลงโทษบทหนักตามมาตรา 279 วรรคสอง ดังนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษายกฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก การที่โจทก์ไม่อุทธรณ์จึงไม่ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ความผิดฐานนี้ยังไม่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 279 วรรคแรก มิใช่มาตรา 279 วรรคสองศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 80, 279, 91 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก 80, 279 วรรคสอง การกระทำความผิดดังกล่าวเป็นกรรมเดียว ให้ลงโทษบทหนักตามมาตรา 279 วรรคสอง ดังนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษายกฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก การที่โจทก์ไม่อุทธรณ์จึงไม่ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ความผิดฐานนี้ยังไม่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 279 วรรคแรก มิใช่มาตรา 279 วรรคสองศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดคือตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายและการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกายืนยกฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้ถูกทำร้ายและปรับบทจำเลยที่ 1-2
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 มีปากเสียงด่าโต้ตอบกันแล้วต่างหยุดไปต่อมาจำเลยที่ 3 เดินออกจากแผงร้านค้าของตนไปโทรศัพท์ที่แผงร้านค้าของ อ.และพูดคุยกับอ. เป็นเวลานานโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีความโกรธแค้นจำเลยที่ 1 ขั้นตอนการสมัครใจทะเลาะวิวาทจึงยุติลงแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2ผู้เป็นบุตรทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 3 หลังจากจำเลยที่ 3 กลับจากการโทรศัพท์ที่แผงร้านค้าของ อ. จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ได้รับอันตรายสาหัส ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297และไม่เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามมาตรา 69 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำร้ายจำเลยที่ 3 ก่อนจนถึงขั้นบาดเจ็บสาหัส การที่จำเลยที่ 3 ตอบโต้ไปบ้างแม้ทำให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีความผิด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 297ประกอบด้วยมาตรา 69 จำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 391 แม้ปัญหานี้จะยุติในศาลชั้นต้น เพราะทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดตามมาตรา 297 ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้โดยไม่มีการเพิ่มโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและทำให้เสียหายซึ่งอสังหาริมทรัพย์: การปรับบทมาตรา 362 เพื่อใช้กับมาตรา 365
จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบด้วยมาตรา 362 เช่นนี้ ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 โดยมิได้ปรับบทมาตรา 362 มาด้วยย่อมไม่ถูกต้องเพราะมาตรา 365 มิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทมาตรา 362 ประกอบมาตรา 365 กรณีความผิดทางอาญา ศาลต้องปรับบทให้ถูกต้อง
จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3)ประกอบด้วยมาตรา 362 การที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 โดยมิได้ปรับบทมาตรา 362 ด้วยนั้นย่อมไม่ถูกต้องเพราะมาตรา 365 มิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันมีอาวุธปืนเถื่อนไว้ในครอบครอง พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน และการปรับบทความผิดทางอาญา
จำเลยกับ ร. ขู่บังคับผู้เสียหายให้ยอมร่วมประเวณีโดยจำเลยใช้อาวุธปืนไม่มีทะเบียนของจำเลยจี้ผู้เสียหาย เมื่อสามีผู้เสียหายไปตามพลตำรวจ ส. มาจับกุม ส. เอาปืนดังกล่าวจากเอว ร. มาเก็บไว้โดยถอดกระสุนปืนออกหมดแล้วจำเลยเข้าแย่งเอาปืนคืนจาก ส. ยกขึ้นจ้องยิงที่หน้าอก ส. ดังแชะสามครั้ง ดังนี้พฤติการณ์ที่จำเลยกับ ร. ผลัดกันใช้อาวุธปืนของกลางเช่นนี้ถือว่าร่วมกันมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองและพกพาโดยไม่ได้รับอนุญาต และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยไม่สามารถบรรลุผลอย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยที่ใช้ในการกระทำผิดอีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้อื่น: การปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นจำเลยที่ 2 ร่วมข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายก็ดี แต่โจทก์มีพยานแวดล้อมซึ่งล้วนแต่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับการตายและการพบศพของผู้ตาย เมื่อฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนแล้ว รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท: ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ต้องมีคู่ความอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นนั้น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี ซึ้งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 22 ปี 6 เดือน ถึง 30 ปี เป็นบทที่มีโทษเบากว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80, 52 (1) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทหนัก ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทหนัก ศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าจากการขว้างระเบิด แม้ระเบิดไม่ทำงาน ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
จำเลยขว้างลูกระเบิดใส่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า แต่ลูกระเบิดไม่เกิดการระเบิด เพราะยังมิได้ถอด สลักนิรภัย เมื่อปรากฏว่าลูกระเบิดดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ใช้ทำการระเบิดได้ และหากระเบิดขึ้นจะมีอำนาจทำลายสังหาร ชีวิต มนุษย์ ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดตามป.อ. มาตรา 288,80 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288,80 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 288,81 จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 295,80 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 288,80 ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่กำหนดโทษคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น.