คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับบทลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8102/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษในคดีพยายามลักทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ แต่จำกัดด้วยการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์/ฎีกาขอโทษหนักขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335,336 ทวิ,80 เมื่อจำเลยรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องซึ่งต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 336 ทวิ และต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปรับบทลงโทษตามมาตรา 336 ทวิและวางโทษจำคุก 8 เดือน แล้วลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 4 เดือนต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของมาตรา 335(1)(8) วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 80,336 ทวิ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้นศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขโทษที่ลงแก่จำเลยได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 212ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนและการปรับบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข
ฟ้องโจทก์ข้อ 1 วรรคสองมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อขาย อันเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนตามความหมายของ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4อันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่โจทก์บรรยายฟ้องในข้อต่อมาว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตามฟ้องข้อ 1 เป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเป็นของกลางเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89 จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ขณะจำเลยกระทำความผิด การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 5.643 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณ 0.500 กรัม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522เท่านั้น จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 5.643 กรัมไม่ถึง 20 กรัม ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 67 มีระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ศาลยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ได้ แต่การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิด จึงได้ริบตาม ป.อ.มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา, การปรับบทลงโทษผิดพลาด, และข่มขู่เจ้าพนักงาน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองตามฟ้อง กระทงแรก มาตรา 7, 72 วรรคสาม ศาลล่างปรับบทลงโทษฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีระวางโทษ จำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท เพียงบทเดียว โดยมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยฐาน มีเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 7, 72 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในส่วนนี้ ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืน จึงเป็นอันยุติไปตาม คำพิพากษาศาลล่าง สำหรับข้อหามีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและข้อหาพาอาวุธปืนตามฟ้องกระทงที่สอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท กับเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท อีกบทหนึ่งด้วยนั้น โจทก์มิได้ฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) และมาตรา 95 (5)
จำเลยกระทำความผิดโดยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งขู่เข็ญเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะเข้าจับกุมจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก และวรรคสาม ซึ่งคำนวณแล้วมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 15,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลล่างจะปรับบทลงโทษว่าเป็นความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้คดีโจทก์ในความผิดนี้ต้องขาดอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 (3) ไม่ เพราะเป็นกรณีที่ศาลล่างปรับบทลงโทษผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา และการปรับบทลงโทษผิดพลาดในความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองตามฟ้อง กระทงแรกมาตรา 7,72 วรรคสาม ศาลล่างปรับบทลงโทษฐานมีอาวุธปืน มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งมี ระวางโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทเพียงบทเดียว โดยมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยฐานมีเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 7,72 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในส่วนนี้ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืน จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลล่างสำหรับข้อหามีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและข้อหาพาอาวุธปืนตามฟ้องกระทงที่สอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุก 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 10,000 บาท กับเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท อีกบทหนึ่งด้วยนั้น โจทก์มิได้ฟ้องภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) และมาตรา 95(5)
จำเลยกระทำความผิดโดยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งขู่เข็ญเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะเข้าจับกุมจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสองประกอบมาตรา 140 วรรคแรกและวรรคสาม ซึ่งคำนวณแล้วมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 15,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลล่างจะปรับบทลงโทษว่าเป็นความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้คดีโจทก์ในความผิดนี้ต้องขาดอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95(3) ไม่ เพราะเป็นกรณีที่ศาลล่างปรับบทลงโทษผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตามคำรับสารภาพ และการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ระบุบทมาตราที่ยกขึ้นปรับในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (11)วรรคแรก, 83 (ที่ถูกมาตรา 335 (7) (11) วรรคสาม) จำคุกคนละ 4 ปีข้อความภายในวงเล็บที่ว่า "ที่ถูกมาตรา 335 (7) (11) วรรคสาม" เป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองให้ตรงตามคำรับสารภาพตามฟ้องซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างของจำเลยทั้งสองอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (7) (11) วรรคสามเท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขโทษจำเลยทั้งสองให้สูงขึ้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 หรือพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ตามมาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังคำฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้แย้งหรือโต้เถียงในชั้นฎีกาอีกว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยขาดเจตนาทุจริตนั้นหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษคดีขับรถประมาทและหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
ป.วิ.อ. มาตรา 176, 194, 195พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78, 160 ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ซึ่งขับโดย ล.เป็นเหตุให้ ล.ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แล้วจำเลยหลบหนีไปไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที การที่จำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล.ถึงแก่ความตาย จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่าหลังจากจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ล.ขับ เป็นเหตุให้ ล.ได้รับบาดเจ็บแล้วจำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล.ถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคหนึ่ง จำคุก 4 เดือน สูงกว่าอัตราโทษจำคุกตามบทมาตราดังกล่าว จึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น ให้ลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้บุคคลอื่นตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสองนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง มิใช่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 194

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษความผิดฐานไม่หยุดช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ: ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษถูกต้อง ไม่ถือเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกคำวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78,160 ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ซึ่งขับโดยล. เป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แล้วจำเลยหลบหนีไปไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที การที่จำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตาย จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่าหลังจากจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ล. ขับ เป็นเหตุให้ ล. ได้รับบาดเจ็บแล้วจำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคหนึ่ง จำคุก 4 เดือน สูงกว่าอัตราโทษจำคุกตามบทมาตราดังกล่าวจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น ให้ลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้บุคคลอื่นตายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง มิใช่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 194

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษความผิดฐานขับรถโดยประมาทและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือ ศาลอุทธรณ์ปรับบทได้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78,160 ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ซึ่งขับโดยล. เป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แล้วจำเลยหลบหนีไปไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที การที่จำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตาย จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่าหลังจากจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ล. ขับ เป็นเหตุให้ ล. ได้รับบาดเจ็บแล้วจำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคหนึ่ง จำคุก 4 เดือน สูงกว่าอัตราโทษจำคุกตามบทมาตราดังกล่าวจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น ให้ลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้บุคคลอื่นตายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง มิใช่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 194

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5627/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมต่างกัน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,83,80 พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกัน ฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ตามฟ้องการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องแต่ไม่แก้โทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างบทมาตราผิดพลาดในฟ้องอาญา ศาลปรับบทลงโทษตามความผิดที่สืบได้ตามฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด และการพาทรัพย์นั้นไป ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ แต่โจทก์กลับอ้างบทมาตรา 336 ซึ่งเป็นบทมาตราที่เกี่ยวกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับฐานความผิดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตรา 336 ทวิ ผิดพลาดไป เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า
of 15