คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่วย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากป่วย และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน และดอกเบี้ย
การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตามปกตินั้น เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติแม้ตามระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างและสัญญาผู้เข้าทำงานของนายจ้างซึ่งลูกจ้างทำกับนายจ้าง จะให้อำนาจนายจ้างเลิกจ้างได้ ก็เป็นเพียงให้สิทธิไว้เท่านั้นถือไม่ได้ว่า ลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี มิได้มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายกรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ไม่ใช่เงินซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายทันที ที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าฉะนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างได้บอกกล่าว หรือทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าได้บอกกล่าวหรือทวงถามลูกจ้างชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 จะกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดแจ้งทั้งโจทก์เรียกร้องเงินมาหลายประเภท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันการที่ศาลให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างเหตุป่วยเพื่อขอขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีหลักฐานประกอบ และการมอบอำนาจทนายความย่อมผูกพันโจทก์
การอ้างว่าตัวโจทก์ป่วย เพิ่งมาพบทนายในวันที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ ไม่ถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขอให้ศาลสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากป่วยและการบอกกล่าวเลิกจ้างที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
การที่จำเลยให้โจทก์ลาออกแต่โจทก์ไม่ยอม อาจเป็นเพราะโจทก์ยังเสียดายตำแหน่งและค่าจ้างแม้จะเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์โดยไม่ได้รับผลงานเท่าที่ควรก็เนื่องจากสมรรถภาพในการทำงานของโจทก์ลดน้อยถอยลงเพราะความบกพร่องของร่างกายและสมองถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์ไม่ยอมลาออกเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 นั้นต้องเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างอย่างเป็นกิจจะลักษณะและต้องกำหนดวันที่จะเลิกจ้างไว้ด้วยการที่จำเลยบอกโจทก์เพียงว่าจะเลิกจ้างโจทก์เท่านั้นยังไม่ชอบด้วยมาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย และผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายจำเลยป่วยตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้อง ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ กลับมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปเลย โดยไม่พิเคราะห์ว่ามีเหตุจำเป็นจะต้องเลื่อนคดีหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เสมียนทนายจำเลยนั่งฟังการสืบพยานโจทก์อยู่ด้วย และในนัดต่อมาพยานโจทก์ดังกล่าวจะได้มาศาลและให้ทนายจำเลยซักค้านแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าไม่เสียความเป็นธรรม เพราะในระหว่างที่ทนายโจทก์หรือศาลซักถามพยานโจทก์นั้น อาจมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในทางคดีเกิดขึ้น เสมียนทนายผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจว่าความอย่างทนายความได้ จึงไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปในช่วงนั้น นอกจากนี้ยังเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติมาตรา 36 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบังคับว่า การนั่งพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าคู่ความที่มาศาลและโดยเปิดเผย อันเป็นกฎหมายที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม
แม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่ก็ได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไว้และใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้
การที่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีเพราะเหตุเจ็บป่วยตามใบรับรองแพทย์ท้ายคำร้อง เป็นกรณีมีความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งเป็นการขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก สมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วยและการพิจารณาคดีรวมกันของจำเลยหลายคน
ทนายจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถูกแก้วบาดเท้าเอ็นขาด ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณามาครั้งหนึ่งแล้ว ถึงวันนัดขอเลื่อนอีก ศาลไม่อนุญาต เพราะได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้วว่า ถ้าทนายป่วยก็ให้จำเลยแต่งตั้งทนายความคนใหม่ คำสั่งดังกล่าวจำเลยยังไม่ทราบ ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ โดยไม่พิจารณาคดีโจทก์และจำเลยที่ 2 ด้วยนั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 เลื่อนคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งตามข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างได้หากมีเหตุป่วย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 47(4) ที่กำหนดว่าละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้น หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่การละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างป่วยจนหมดสมรรถภาพ นายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะป่วยหมดสมรรถภาพในการทำงาน โดยมิได้กระทำผิด อยู่ในความหมายของเลิกจ้างตามข้อ 46 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ เริ่มนับแต่วันที่จำเลยแต่งตั้งโจทก์กลับเข้าทำงาน แม้ป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้
จำเลยกับโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ยอมชำระเงินค่าเสียหายแก่จำเลย จำเลยจะย้ายโจทก์มาเป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยที่ชลบุรี จำเลยสั่งย้ายแล้วโจทก์ป่วยมารับทำงานไม่ได้ ไม่เป็นเหตุที่โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความที่โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยไม่ย้ายโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา จำเลยฟ้องให้โจทก์ชำระเงินตามยอม ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว ไม่ใช่ฐานที่ตั้งของสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นมูลหนี้ จึงไม่นับอายุความ 10 ปีตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์คดีอาญา: การป่วยและการเดินทาง
การยื่นคำขอให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์คดีอาญาภายหลัง ล่วงเลยกำหนด 15 วัน แล้วจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
การที่โจทก์มีบ้านพักอยู่ห่างศาล 38 กิโลเมตรป่วยเป็นหวัด และพยาธิตัวตืดมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดท้อง เมื่อโจทก์ มาในเมืองขอให้แพทย์ตรวจร่างกายได้ก็น่าจะมาศาลเพื่อยื่นอุทธรณ์ได้ จึงไม่แสดงว่ามีเหตุสุดวิสัยแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนคดีเนื่องจากทนายโจทก์อ้างป่วยโดยไม่มีหลักฐาน และจำเลยคัดค้าน
ในคดีอาญา เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วได้นัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดทนายโจทก์ขอเลื่อนอ้างว่าป่วยมีใบรับรองแพทย์มาด้วย จำเลยไม่คัดค้านศาลอนุญาตให้เลื่อนไป ครั้นถึงวันนัด ทนายโจทก์อ้างลอย ๆ ว่าป่วยอีก โดยไม่มีหลักฐานอันใดกำกับมาและขอเลื่อนในวันนัดนั้นเอง เมื่อพยานจำเลยก็มาศาลพร้อมที่จะสื่อ และจำเลยก็คัดค้านการขอเลื่อนดังนี้ ที่ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนจึงชอบด้วยเหตุผล และไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด
การสั่งให้เจ้าพนักงานพร้อมด้วยแพทย์ไปตรวจคู่ความหรือบุคคลที่อ้างว่าป่วยนั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของศาลที่จะสั่งไปเองโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอร้อง
of 4