คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่าสงวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7363/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวน: สัญญาไม่เป็นโมฆะหากไม่ก่อให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรง และมีการรับรองสิทธิผู้ครอบครองโดยราชการ
จำเลยฎีกาอ้างว่า การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นการซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นต้นเหตุสำคัญในการ เกิดภัยพิบัติถือว่าเป็นนิติกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเป็นโมฆะ แต่ไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินต้นน้ำลำธารอันจะทำให้เกิดภัยพิบัติเป็นสาธารณภัยอย่างร้ายแรง ทั้งทางราชการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับ ค่าทดแทนที่ดินและค่ารื้อย้ายซึ่งมีชื่อจำเลยรวมอยู่ด้วย การประกาศดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าผู้ที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ที่ดิน คือ ผู้มีชื่อครอบครองที่ดินตามที่ถูกเวนคืน ดังนั้น สัญญาที่จำเลยขายการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท และสิทธิในที่ดินป่าสงวน
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการรับผิดในกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน: การลงโทษตามบทกฎหมาย และการพิจารณาข้อเท็จจริงเพื่อตัดสินโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันบุกรุกเข้าไปตัดโค่นทำไม้หวงห้ามประเภท ก.และอ้างบทมาตรา 11 ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484อันเป็นบทห้ามกระทำความผิดแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วย ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง ได้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและในเขตป่าสงวน ถือเป็นความผิดฐานทำไม้ แม้ไม้จะตกเป็นของแผ่นดิน
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (5) ประกอบมาตรา11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้น การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามมาตรา 73
จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลงพ.ศ.2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักลากไม้โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ และความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) ประกอบมาตรา 11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้นการชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำ ต้องรับโทษตามมาตรา 73 จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนด หลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำ ไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลง พ.ศ. 2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ละเว้นการแจ้งป่าสงวนก่อนออก น.ส.3ก. ทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อออก น.ส.3 ก. ไม่มีการแจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขต เมื่อนายอำเภอมีคำสั่งให้ตรวจสอบแนวเขตที่ดิน เพราะมีเหตุสงสัยว่าที่ดินที่ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตติดต่อกับเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขตตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินกับกรมป่าไม้ว่าด้วยการพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกี่ยวกับเขตป่าไม้ พ.ศ. 2424 จำเลยไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานป่าไม้ไประวางแนวเขตแต่กลับรายงานต่อนายอำเภอที่เกิดเหตุทั้งสามแปลงไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นเหตุให้นายอำเภอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ให้แก่ ส. เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตร 157,162(4) แต่การกระทำดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ และการแก้ไขคำพิพากษาฐานความผิด
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 โดยในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 ที่เป็นบทกฎหมายมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นว่านั้นเป็นความผิดมาด้วย ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน, ครอบครองไม้ผิดกฎหมาย, และหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ศาลฎีกาแก้ไขข้อหาฐานทำไม้ให้ถูกต้อง
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 โดยในคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 ที่เป็นบทกฎหมายมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นว่านั้นเป็นความผิดมาด้วย ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษในข้อหาทำไม้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน: ศาลปรับบทลงโทษและลดโทษจำเลย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทำให้เสื่อมสภาพป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทคือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่1ปีถึง20ปีและปรับตั้งแต่5,000บาทถึง200,000บาทและเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา14,31วรรคสองโทษจำคุกตั้งแต่2ปีถึง15ปีและปรับตั้งแต่20,000บาทถึง150,000บาทจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา11,73วรรคสองอันเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎจำเลยจำเลยทั้งสามทำไม้หวงห้ามในลักษณะเป็นนายทุนมีอิทธิพลเพื่อทำลายป่าแต่จำเลยได้ร่วมกันตัดฟันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีปริมาตรถึง32.38ลูกบาศก์เมตรนับว่าทำไม้จำนวนมากจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ
of 18