คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่าไม้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และความหมายของคำว่า 'ครอบครอง' ใน พ.ร.บ.ป่าไม้
ฎีกาของจำเลยหาได้บรรยายให้เห็นว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยานที่โจทก์นำสืบในข้อไหนอย่างไร และได้สันนิษฐานอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193วรรคสอง, 225 และฎีกาข้อนี้กล่าวโดยสรุปก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายบทจำกัด คิดว่าต้องครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด และในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า “ครอบครอง” ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ครอบคลุมทั้งการครอบครองเพื่อตนเองและแทนผู้อื่น
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มิได้หมายความเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตาม ป.พ.พ. แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด อีกทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน การที่จำเลยครอบครองไม้หวงห้ามเพื่อนำส่งโรงเลื่อยซึ่งเป็นนายจ้างจึงเป็นความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ในเขตควบคุม ต้องได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้มีใบอนุญาตโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม
การที่จำเลยใช้กบไฟฟ้าและเลื่อยวงเดือนของกลางซึ่งติดตั้งบนแท่นไม้ไสและเลื่อยไม้ของกลางอันเป็นการแปรรูปไม้ที่สถานที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุจึงเป็นที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้อันเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(13) แม้จำเลยได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกให้ตามพระราชบัญญัติ โรงงานฯ แล้วก็ตาม แต่โรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง ด้วยเมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงมีความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะยังมิได้แปรรูปไม้ก็ตาม ความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้หวงห้ามในฐานะลูกจ้าง ไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
คำว่า ครอบครอง ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มิได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า สิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วยทั้งนี้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้น จึงจะเป็นความผิด อีกทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน การที่จำเลยครอบครองไม้ไว้ในฐานะลูกจ้างเพื่อนำส่งโรงเลื่อยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69,73

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6203/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ ผู้ขับรถบรรทุกไม้ไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่ถือเป็นความผิดสนับสนุน
เจ้าของถ่านไม้ของกลางได้ครอบครองถ่านไม้ของกลางซึ่งเป็นของป่าหวงห้ามปริมาณเกินกว่าที่บุคคลอาจมีไว้ในครอบครองโดยไม่ต้องรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่อยู่ด้วยตนเอง จำเลยเป็นเพียงผู้รับจ้างขับรถยนต์บรรทุกถ่านไม้ของกลาง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองถ่านไม้ของกลาง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกระทำผิดกับเจ้าของถ่านไม้ และจำเลยไม่รู้ว่าเจ้าของถ่านไม้ของกลางไม่มีใบเบิกทางและไม่รู้ว่าถ่านไม้ของกลางมีปริมาณเกินกว่าที่กำหนดตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2526 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าของถ่านไม้ของกลาง เมื่อจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด จึงริบรถยนต์ของกลางไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3386/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ และการริบของกลางในคดีป่าไม้ ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้แปรรูปและเครื่องใช้ของกลางเป็นทรัพย์ที่ได้มาและมีไว้เนื่องจากการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองซื้อไม้แปรรูปจากโรงเลื่อยจักรโดยถูกต้องตามกฎหมายและเครื่องใช้ดังกล่าวก็ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ ฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ จึงเป็นความผิดร้ายแรงสมควรแก่การกำราบปราบปราม การที่จำเลยมีไม้แปรรูป ปริมาตร 16.68 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 21.590 แผ่น ซึ่งเป็นไม้ที่มีจำนวนมากและสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นโดยผิดกฎหมายไว้ในครอบครองนับได้ว่าจำเลยกระทำความผิดอันมีลักษณะร้ายแรงดังนี้ ไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปรียบเทียบอัตราโทษป่าไม้ พบ พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 โทษหนักกว่า พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง มีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสองซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปีโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบอัตราโทษระหว่าง พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ: บทหนักกว่าคือ พ.ร.บ.ป่าไม้
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองมีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราโทษป่าไม้สูงกว่าป่าสงวนแห่งชาติ: เปรียบเทียบ พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 กับ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง มีอัตราโทษขั้นสูงจำคุกยี่สิบปี เป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสองซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบห้าปีโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาป่าไม้: การบรรยายฟ้องประกาศและพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามพ.ศ. 2530 กำหนดให้ไม้ตะเคียนหินในป่าท้องที่ทุกจังหวัดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่ทุกจังหวัดดังปรากฏรายละเอียดตามสำเนาประกาศท้ายฟ้อง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศแล้ว ในสำเนาประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องนั้น ปรากฏว่าประกาศดังกล่าวได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรณีจึงเท่ากับว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าประกาศนั้นได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษามาพ้นเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศตาม มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และเมื่อตามฟ้องของโจทก์ฟังได้ว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศแล้วพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้เป็นกฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำความผิด แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาพร้อมกับฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่ประการใด
of 16