คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.พ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: อำนาจฟ้องและกรอบเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
คดีร้องขอถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีเหตุที่จะถอนและต้องร้องขอก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่จะต้องฟ้องภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้อง ประเด็นแห่งคดีร้องขอถอนผู้จัดการมรดกจึงมีเพียงว่า มีเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดกและร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้ร้องก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นหรือไม่ โดยไม่มีประเด็นเรื่องสิทธิเรียกร้องคดีขาดอายุความฟ้องร้องหรือไม่ แม้ผู้ร้องจะกล่าวอ้างมาในคำคัดค้านการร้องขอถอนผู้จัดการมรดกก็เป็นเรื่องเกินเลยไม่เกี่ยวกับประเด็น การที่ศาลล่างหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความการจัดการมรดกตามมาตรา 1733 วรรคสอง ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อการปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้ว การใช้สิทธิขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านจึงพ้นกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอถอนผู้ร้องออกจากตำแหน่งผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฟ้องคดีภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ โดยอาศัยหลัก ป.พ.พ. มาตรา 193/3
ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มิได้กำหนดวิธีการนับระยะเวลาไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นจึงต้องอาศัยการนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2542 การนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2542 เป็นวันแรกและครบกำหนด 30 วันในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 จึงเป็นการฟ้องคดีภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8687/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน และการผิดสัญญา การบังคับคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 456
เอกสารหมาย จ. 3 ซึ่งจำเลยทำถึงโจทก์ มีข้อความว่า ตามที่โจทก์ตกลงซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากจำเลยนั้น จำเลยขอเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ไปโอนพร้อมกับนาง อ. ดังนี้ เอกสารหมาย จ. 3 เป็นหลักฐานซึ่งทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์จึงสามารถใช้เอกสารหมาย จ. 3 เป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ปรากฏว่าจำเลยได้เลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นาง อ. มาตลอด นาง อ. จึงฟ้องร้อง จนจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นาง อ. แต่ไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากราคาที่ดินพิพาทที่ตกลงขายให้แก่โจทก์ และหากจำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยก็ต้องใช้ค่าเสียหายเป็นเงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยรั้วกำแพง การคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 และความรับผิดในความเสียหาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เฉพาะตัวโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง รั้วกำแพงที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1314 ก็ไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1312 มาบังคับ
เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อสร้างรั้วอันเป็นการละเมิดโจทก์ทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสอง จะอ้างว่าได้ขายและส่งมอบที่ดินให้บุคคลภายนอกไปหมดแล้วมาเป็นข้อแก้ตัวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสในกฎหมายอิสลาม: การปรับใช้ ป.พ.พ. เมื่อกฎหมายอิสลามไม่ได้บัญญัติชัดเจน
แม้โจทก์และจำเลยเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาสซึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ว่าด้วยการนั้นก็ตาม แต่เนื่องจากกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติไว้ว่าทรัพย์สินที่ซื้อมาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสระหว่างผู้ซื้อกับคู่สมรสหรือเป็นสินส่วนตัวของผู้ซื้อ จึงต้องใช้ ป.พ.พ.มาปรับแก่กรณี
โจทก์สมรสกับจำเลยตามกฎหมายอิสลามตั้งแต่ พ.ศ.2521และโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส โดยซื้อมาจากเงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่เลี้ยงดูและละเลยดูแลผู้ให้ การถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(3)
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยประพฤติเนรคุณกล่าวคือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 เป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมให้อาหารเลี้ยงดูโจทก์อย่างที่เคยปฏิบัติ โดยจำเลยนำอาหารไปวางไว้ห่างจากที่โจทก์นั่งอยู่แล้วก็หนีไป ไม่รออยู่ดูแลว่าโจทก์จะได้รับประทานหรือไม่ บางครั้งกว่าโจทก์จะคลำไปถูกอาหารที่จำเลยนำมาวางไว้ก็ปรากฏว่าสุนัขกินอาหารหมดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับประทานอาหาร บางวันโจทก์ต้องเรียกชาวบ้านข้างเคียงขออาหารมารับประทานเพื่อยังชีพ นอกจากนี้จำเลยไม่สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ ปล่อยให้โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานต่าง ๆ ในเวลาเจ็บป่วยการเข้าห้องส้วมห้องน้ำและการหลับนอน ดังนี้ เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวหาจำเลยว่าไม่ได้เอาใจใส่ในการให้อาหารโจทก์รับประทานและมิได้สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ มิใช่กรณีตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ.มาตรา 531 (3) ที่บัญญัติว่า ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนการให้ตามมาตรา 531 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4609/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 196: เกณฑ์การคำนวณเพื่อบังคับคดี
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 196 วรรคสองหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินนี้ตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาของศาล และถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนมีคำพิพากษา แต่ไม่เกินอัตราแลกเปลี่ยนตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการฉ้อฉลและผิดสัญญาซื้อขาย: การกระทำที่มิใช่ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องละเมิดชำระค่าเสียหาย 20,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3และจำเลยร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมิได้ทำละเมิด ซึ่งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 1 จะขายให้แก่ น. ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.เสียเปรียบ และจำเลยดังกล่าวร่วมกันจัดการให้จำเลยที่ 4เป็นทนายให้จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนที่ดินและรีบเร่งทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกัน ต่อมาได้มีการเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมได้ร่วมกระทำการดังกล่าวกับจำเลยทุกคนด้วย ซึ่งเป็นการแสดงเหตุว่าฟ้องจำเลยร่วมได้ การบรรยายดังกล่าวมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแจ้งชัดที่สามารถเข้าใจได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ น. โดยมิได้กำหนดเวลากันไว้ น.ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 200,000 บาท คงค้างชำระอีก 190,000 บาท เมื่อ น.ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ได้บอกกล่าวให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ชำระค่าที่ดิน 290,000 บาท และรับโอนที่ดินในวันที่ 7กรกฎาคม 2532 หากโจทก์ไม่จัดการภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ขอบอกเลิกสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและคดีถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน2532 แต่โจทก์เพิ่งไปขอรับคำสั่งศาลในวันที่ 20 กรกฎาคม 2532 ถือว่าโจทก์ได้ปล่อยปละละเลยไม่ขอรับคำสั่งศาลในเวลาอันสมควร จะยกเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือ 290,000 บาท ทั้ง ๆ น.ค้างชำระเพียง 190,000 บาท โจทก์ย่อมอ้างเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่รับชำระไว้ และถือว่าสัญญาจะซื้อขายยังมีผลผูกพันอยู่เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่ขณะทำนิติกรรมนั้น จำเลยที่ 2 มิได้รู้ความจริงในเรื่องนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาเท่านั้น ยังมิใช่เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 420 จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5072/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ไม่ต้องมีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ และสำเนาทะเบียนบ้านไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าบ้านพิพาทจากโจทก์มีกำหนด 3 ปี โดยมิได้ทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือ แต่ตามเนื้อหาแห่งคำฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่า หากแต่เป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เท่านั้น การฟ้องคดีจึงมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 538 แห่งป.พ.พ. ฉะนั้นแม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
สำเนาทะเบียนบ้านมิใช่เอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทโดยตรง เป็นแต่เพียงหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ที่ระบุว่าบ้านพิพาทมีคนอยู่กี่คน แต่ละคนมีความเกี่ยวพันกันอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของทางราชการเท่านั้น การที่จำเลยมีชื่อในสำเนาทะเบียนบ้านเพียงอย่างเดียว ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้โอนหุ้นในส่วนที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1133 เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องได้โดยตรง
จำเลยร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ หุ้นที่จำเลยที่ 5ที่ 8 และที่ 9 โอนให้แก่บริษัท ท. เป็นหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่เต็มจำนวนค่าหุ้น ถ้าปรากฏว่าบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันจะพึงต้องออกใช้นั้น จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ผู้โอนหุ้นดังกล่าวก็ยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1133 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ให้รับผิดในจำนวนเงินดังกล่าวได้ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และการที่โจทก์นำสืบว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมบางคนรวมทั้งตัวโจทก์ด้วยเป็นผู้มีชื่อถือหุ้นแทนผู้บริหารของธนาคารชุดเดิม ก็เป็นการนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าผู้ที่มีชื่อถือหุ้นของจำเลยร่วมอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ตามมาตรา 1133 (2) แห่ง ป.พ.พ.ซึ่งจำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานด้วย จึงหาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องไม่
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 ผู้โอนหุ้นรับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1133 นั้น โจทก์หาได้ฟ้องโดยใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยร่วมในการเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยร่วมไม่ แต่เป็นการที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ที่ 8 และที่ 9 รับผิดออกส่วนใช้หนี้ของจำเลยร่วม ตามมาตรา 1133 โดยใช้สิทธิของโจทก์เองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยร่วมโดยตรงทั้งนี้เพราะจำเลยร่วมหามีสิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5ที่ 8 และที่ 9 ได้โดยไม่จำต้องเรียกค่าหุ้นหรือยึดทรัพย์จากผู้ถือหุ้นของจำเลยร่วมก่อน
การส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1121 นั้นเป็นกรณีที่กรรมการของบริษัทซึ่งผู้ถือหุ้นอยู่เรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินค่าหุ้น ไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ของบริษัทเรียกให้ผู้โอนหุ้นซึ่งยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นรับผิดออกส่วนใช้หนี้ตามมาตรา 1133 ซึ่งเจ้าหนี้ของบริษัทมีสิทธิเรียกร้องตามสิทธิของตนเองได้โดยตรง ดังนั้น ก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 1121
of 11