พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานและการวางค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ป.วิ.พ.
จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อไป ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้ เท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้สืบพยานต่อไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีขับไล่ที่เข้าข่ายข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะอ้างว่าพิพาทเรื่องประเภทที่ดิน
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า จำเลยไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์ แม้จำเลยจะให้การมาด้วยว่า จำเลยปลูกบ้านตามฟ้องอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธนิติสัมพันธ์และนิติเหตุตามฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อยู่ในประเด็นแห่งคดีตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเดือนละ 1,000 บาท ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวไม่ทำให้คดีมีประเด็นใหม่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีตามฟ้อง ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 กรณีทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่า 200,000 บาท แม้เป็นการฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำนวน 69,956.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 54,596.43 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์อุทธรณ์โดยขอให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ฎีกาว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ไม่จงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันจะเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้จะเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 69,956.72 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เมื่อไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาที่มิชอบ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ทำให้การอุทธรณ์และฎีกาเป็นอันไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์แต่ทำคำแก้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีกลับเป็นฝ่ายชนะคดี จำเลยที่ 1 ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์พร้อมกับนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 จะมาขอในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5617/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยการวางค่าธรรมเนียมเป็นเงื่อนไขสำคัญของการรับอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นรวม 2 ฉบับ และยื่นคนละคราวกัน โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีก่อน ส่วนอุทธรณ์คำพิพากษายื่นในภายหลัง เนื่องจากจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไว้ สำหรับการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้นถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้จำเลยนำพยานเข้าสืบแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีซึ่งทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปด้วย จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ดังนั้นเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อนอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางพร้อมอุทธรณ์คำสั่งให้ถูกต้องครบถ้วน และหากจำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วครบถ้วนจำเลยก็ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมส่วนนี้ซ้ำอีกเมื่อยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งย่อมเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ทันที จำเลยจะอ้างว่าได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาไว้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ฉบับนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นอุทธรณ์คนละฉบับและยื่นคนละคราวกัน ทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลชั้นต้นต้องรอสั่งอุทธรณ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวพร้อมกัน และแม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไปแล้ว ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธหนี้และการนำสืบพยานหลักฐานนอกประเด็นข้อต่อสู้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าไม่เคยกู้เงินและทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์แล้ว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบก็เป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: มาตรา 27 ว.2 ป.วิ.พ. ครอบคลุมทุกกรณี
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้รับทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดมูลแห่งข้ออ้างนั้นซึ่งระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวนี้ใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา หาใช่ว่าใช้บังคับเฉพาะกรณีขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบช่วงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ ดังนั้น คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ โดยอ้างว่าทนายโจทก์ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมาขอเลื่อนคดีต่อศาลโดยให้เหตุผลว่าป่วยถือว่าโจทก์มาศาลและแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแล้ว ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ไม่มาศาลนั้น จึงอยู่ในบังคับระยะเวลาแปดวันที่จะต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: เจ้าของรวมฟ้องบังคับโอนที่ดินซ้ำกับคดีก่อนที่เจ้าของรวมคนอื่นเคยฟ้องแล้ว ศาลฎีกาตัดสินเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ในคดีนี้ อ. และ ค. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีก่อน ซึ่ง อ. เป็นโจทก์ จำเลยคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย และคดีระหว่างจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ ค. เป็นจำเลย ซึ่งรวมพิจารณาพิพากษา โดยมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ การที่ อ. เป็นโจทก์ฟ้องคดี และ ค. เป็นจำเลยต่อสู้คดีในคดีก่อน เป็นกรณีที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 จึงเป็นการกระทำแทนโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย ถือได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 234 ครบถ้วน มิเช่นนั้นอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาคดีใหม่มิใช่อุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งให้รับอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมทำให้การบังคับล่าช้าออกไปและอาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมายเรียกตัวการเข้ามาในคดีแทนตัวแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)(ก)
จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามฟ้องเป็นการที่จำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทนของบริษัท ช. และ บริษัท ป. จำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อโจทก์ คำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกบริษัททั้งสองเข้ามาเป็นจำเลยร่วมย่อมเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) เนื่องจากเป็นการขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีโดยอ้างว่าถ้าหากศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีตามฟ้อง จำเลยในฐานะตัวแทนย่อมฟ้องบุคคลภายนอกซึ่งเป็นตัวการเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยได้