พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ใช้หลัก ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
โจทก์อาศัยมูลคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งฐานละเมิด จึงเป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้โจทก์เคยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในความผิดฐานบุกรุกและฐานทำให้เสียทรัพย์ พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าวมาแล้ว ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการดังกล่าว มีผลกระทบกระเทือนถึงอายุความในการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของผู้เสียหายแต่อย่างใด เมื่อมูลคดีนี้ไม่มีผู้ใดฟ้องจำเลยทางอาญา กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง มาใช้บังคับ มิใช่ถือเอาอายุความ 1 ปี ฐานละเมิดตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9329/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เพิกถอนการไต่สวนมูลฟ้อง และยกคำร้องของจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องลดโทษตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษ และฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นไม่ใช่ศาลแห่งท้องที่ซึ่งพิจารณาออกหมายลดโทษให้แก่จำเลย ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2539ไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปยื่นคำร้องให้ถูกทาง พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณา การที่จำเลยฎีกาว่าคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษและศาลแห่งท้องที่ปรับลดโทษให้จำเลยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขอให้ศาลฎีกาปรับลดโทษให้จำเลยใหม่อันเป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเลยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีของผู้ป่วยจิตเภท: ขั้นตอนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 14 และการตรวจสภาพจิต
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ อาจเป็นเพราะศาลสังเกตเห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริงให้ศาลทราบก็ได้
ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ธ.น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวง พูดจาวกวน จำเลยเป็นผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 และหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง3 วัน โรงพยาบาลก็ได้รับตัวจำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้จำเลยมีอาการหงุดหงิดง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษาต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ตามใบตรวจโรคของแพทย์เอกสารท้ายฎีกา ดังนี้เมื่อกรณีมีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจจำเลยโดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาลหรือมาให้การว่าตรวจได้ผลประการใดคือวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้องของ ธ.น้องจำเลยจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ป.วิ.อ.มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้และศาลฎีกามีอำนาจตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องต่อไปได้และให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปให้แพทย์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร ตรวจสภาพจิตและเรียกแพทย์ผู้ตรวจจำเลยมาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใด แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14
ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ธ.น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวง พูดจาวกวน จำเลยเป็นผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 และหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง3 วัน โรงพยาบาลก็ได้รับตัวจำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้จำเลยมีอาการหงุดหงิดง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษาต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ตามใบตรวจโรคของแพทย์เอกสารท้ายฎีกา ดังนี้เมื่อกรณีมีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจจำเลยโดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาลหรือมาให้การว่าตรวจได้ผลประการใดคือวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้องของ ธ.น้องจำเลยจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ป.วิ.อ.มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้และศาลฎีกามีอำนาจตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องต่อไปได้และให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปให้แพทย์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร ตรวจสภาพจิตและเรียกแพทย์ผู้ตรวจจำเลยมาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใด แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษในชั้นอุทธรณ์ และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานบุกรุก แต่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน จึงพิพากษาลงโทษในความผิดฐานบุกรุกจำคุกคนละ 6 เดือน ปรับคนละ2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้คนละ 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพียงบทเดียวและคงลงโทษตามศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเพียงบทลงโทษจากหลายบทเป็นบทเดียวโดยไม่ได้แก้โทษด้วยจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแตกต่างจากศาลชั้นต้นได้ การฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์และการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ ย่อมไม่ขัดต่อป.วิ.อ.มาตรา 194
เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแตกต่างจากศาลชั้นต้นได้ การฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์และการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ ย่อมไม่ขัดต่อป.วิ.อ.มาตรา 194
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ.ภาค 4 ลักษณะ 1 ไม่อาจใช้ ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลม
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญาของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.ภาค 4 ลักษณะ 1 จะนำ ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193: การระบุข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการขอรอการลงโทษ
ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ความหมายว่า หากผู้อุทธรณ์ประสงค์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงใด ก็ต้องยกข้อเท็จจริงเฉพาะในปัญหาข้อนั้นขึ้นกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ หาจำต้องยกข้อเท็จจริงอื่นทั้งหมดในสำนวนระบุมาในอุทธรณ์ด้วยไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษโดยอ้างเหตุมาในอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่เคยกระทำความผิดใด ๆ มาก่อน บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่ร้ายแรง ทั้งจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจของผู้เสียหายและไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงที่จำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้จำเลยเป็นการระบุข้อเท็จจริงโดยย่อมาในอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา193 วรรคสองแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเป็นการไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่ามีเหตุสมควรจะรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษโดยอ้างเหตุมาในอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่เคยกระทำความผิดใด ๆ มาก่อน บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่ร้ายแรง ทั้งจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจของผู้เสียหายและไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงที่จำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้จำเลยเป็นการระบุข้อเท็จจริงโดยย่อมาในอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา193 วรรคสองแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเป็นการไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่ามีเหตุสมควรจะรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามเช็คแยกจากความผิดอาญา ไม่ต้องใช้ ป.วิ.อ.มาตรา 46
ในคดีส่วนอาญาจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5253/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องด้วยวาจาในคดีอาญา: ความชอบด้วย ป.วิ.อ. และการวินิจฉัยการรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนศาลบันทึกฟ้องดังกล่าว ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น
ข้อความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิด ทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี หาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
จำเลยมีความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียว
ข้อความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิด ทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ และจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี หาจำต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
จำเลยมีความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ของคำฟ้องที่ระบุข้อเท็จจริงการกระทำความผิดและสถานที่เกิดเหตุโดยไม่ต้องระบุชื่อทางหลวง
คดีโจทก์ฟ้องด้วยวาจา ศาลต้องบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 โดยโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดแล้ว กล่าวคือ จำเลยขับรถบรรทุกมีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบนทางหลวงอันเป็นความผิด ทั้งได้ระบุสถานที่ที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุข้อเท็จจริงว่าเป็นทางหลวงสายใด คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว