พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7252/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบประกาศกระทรวงสาธารณสุขต่อความผิดฐานเสพยาและขับรถภายใต้ฤทธิ์ยา
จำเลยกระทำความผิดฐานเสพแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และจากนั้นจำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อไปตามถนนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539)เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 อีกต่อไป อันเป็นผลให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 157 ทวิวรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185, 195 วรรคสอง, 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบจากการลักลอบนำคนต่างด้าวเข้าประเทศต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และสาธารณสุข
การลักลอบนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการสร้างปัญหาให้แก่ประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายด้านหลายประการเป็นต้นว่าทางด้านสาธารณสุข โดยที่คนต่างด้าวเหล่านั้นอาจนำเชื้อโรคที่แพร่หรือระบาดอยู่ในประเทศของคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาแพร่หรือระบาดในประเทศไทยจนยากที่จะควบคุมและทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินงบประมาณจำนวนมากในการป้องกันและรักษาโดยใช่เหตุ ทางด้านความมั่นคง คนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามามีจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาประกอบอาชญากรรมที่เป็นภัยต่อสังคมและประเทศชาติ ทั้งที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ซึ่งยากต่อการที่จะป้องกันและปราบปราม หากปล่อยปละละเลยนับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้น และทางด้านสังคมคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรมักจะเข้ามาแย่งอาชีพของคนไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศในด้านแรงงานทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมส่งผลให้คนไทยต้องกลายเป็นผู้ไม่มีอาชีพหรือตกงานเป็นจำนวนมากกระทบกระเทือนต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมพฤติกรรมของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรที่ศาลจะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำคนต่างด้าวเข้าประเทศ: ผลกระทบต่อความมั่นคง, เศรษฐกิจ, และสาธารณสุข
การลักลอบนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการสร้างปัญหาให้แก่ประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายด้านหลายประการเป็นต้นว่าทางด้านสาธารณสุข โดยที่คนต่างด้าวเหล่านั้นอาจนำเชื้อโรคที่แพร่หรือระบาดอยู่ในประเทศของคนต่างด้าวดังกล่าวเข้ามาแพร่หรือระบาดในประเทศไทยจนยากที่จะควบคุมและทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินงบประมาณจำนวนมากในการป้องกันและรักษาโดยใช่เหตุ ทางด้านความมั่นคง คนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามามีจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาประกอบอาชญากรรมที่เป็นภัยต่อสังคมและประเทศชาติทั้งที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรง ซึ่งยากต่อการที่จะป้องกันและปราบปราม หากปล่อยปละละเลยนับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้น และทางด้านสังคมคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรมักจะเข้ามาแย่งอาชีพของคนไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศในด้านแรงงานทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมส่งผลให้คนไทยต้องกลายเป็นผู้ไม่มีอาชีพหรือตกงานเป็นจำนวนมากกระทบกระเทือนต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมพฤติกรรมของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรที่ศาลจะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการแบ่งแยก และผลกระทบต่อผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ระงับการนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทจนกว่าคดีที่โจทก์จำเลยถูกฟ้องจะถึงที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทและนำไปโอนขายให้แก่ผู้ร้องมาแต่ต้น ผู้ร้องจะอ้างว่าโจทก์ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วและโอนขายให้แก่ผู้ร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ คดีไม่เกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความโดยไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหรือในฐานะผู้ซื้อซึ่งรับโอนโดยสุจริต จำเลยมีสิทธิขออายัดการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การกำหนดเวลาชำระหนี้และผลกระทบเมื่อเจ้าของที่ดินพิพาทไม่ใช่ผู้ให้เช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่า "หากผู้เช่าซื้อฝ่าฝืน หรือผิดสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใดถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งมาแล้วทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวให้ทราบแต่ประการใดทั้งสิ้น และถือว่าสัญญาเช่าซื้อฉบับนี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันที" แต่ตามที่ปฏิบัติต่อกันจำเลยทั้งสองมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 ของเดือน และหลายงวดชำระครั้งหนึ่งก็มี ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นในงวดต่อมาแม้จำเลยทั้งสองจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เนื่องจากปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองเช่าซื้อ จำเลยทั้งสองอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทก็ประกาศให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทกลับคืนมา จำเลยทั้งสองเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง 49,000 บาท ไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยจะขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีกรวมแล้วเป็นเงินประมาณ 130,000 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามป.พ.พ.มาตรา 205 จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดนัดและผิดสัญญาเช่าซื้อ
การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เนื่องจากปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองเช่าซื้อ จำเลยทั้งสองอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทก็ประกาศให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทกลับคืนมา จำเลยทั้งสองเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง 49,000 บาท ไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยจะขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีกรวมแล้วเป็นเงินประมาณ 130,000 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามป.พ.พ.มาตรา 205 จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดนัดและผิดสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีรอผลคดีมรดก: ปัญหาความขัดแย้งคำพิพากษาและผลกระทบต่อคู่ความ
คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้กับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในอีกคดีหนึ่งมีข้อความไม่เหมือนกันในสาระสำคัญในทำนองที่ว่าโจทก์คดีนี้เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกหรือโจทก์ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกจึงยังเป็นปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ และจำเลยคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลในคดีแพ่ง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีดังกล่าวร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรม คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนี้หากจะให้มีการบังคับคดีต่อไปแล้วและในชั้นที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี การบังคับคดีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป และหากมีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปแล้ว การบังคับคดีของจำเลยอาจจะไร้ประโยชน์ อันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายและการงดบังคับคดีของโจทก์ไว้ชั่วคราวไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ทำให้โจทก์บังคับคดีช้าไปบ้างเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้งดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวตามที่จำเลยร้องขอซึ่งทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้านเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินและสังคม
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 การกำหนดเงินค่าทดแทนนั้น ต้องคำนึงถึงราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
การจะเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขต-คลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2533 นั้น มีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา -อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน 32 ไร่เศษ มีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่าน การเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลให้ที่ดิน(อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ - สุทธิ นิชโรจน์ - สุรินทร์ นาควิเชียร)ศาลแพ่ง นายจิรนิติ หะวานนท์ศาลอุทธรณ์ นายสุวิทย์ นรนุตกุล
นายสุพจน์ แสงประชากุล - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายธานิศ เกศวพิทักษ์ - ย่อ
วาสนา พ/ท
การจะเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขต-คลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2533 นั้น มีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา -อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน 32 ไร่เศษ มีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่าน การเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลให้ที่ดิน(อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ - สุทธิ นิชโรจน์ - สุรินทร์ นาควิเชียร)ศาลแพ่ง นายจิรนิติ หะวานนท์ศาลอุทธรณ์ นายสุวิทย์ นรนุตกุล
นายสุพจน์ แสงประชากุล - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายธานิศ เกศวพิทักษ์ - ย่อ
วาสนา พ/ท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยื่นคำร้องขอให้งดบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบังคับคดี
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 128 ของจำเลยที่ 1 ที่จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์ออกขายทอดตลาด ผู้ร้องทั้งสี่อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 57274 ซึ่งเดิมคือที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 128และได้ฟ้องกรมบังคับคดี โจทก์และจำเลยที่ 1 ตลอดจนผู้มีชื่อทางทะเบียนก่อนตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสี่เป็นอีกคดีหนึ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทั้งสี่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งถอนฟ้องคดีอาญา และผลกระทบของการถอนฟ้องโดยโจทก์ร่วม
จำเลยยื่นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์และจำหน่ายคดีในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความจากข้อฉ้อฉลและผลกระทบต่อบุคคลนอกคดี
การฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 คนหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้น ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้