คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้ชำระหนี้ไม่ได้ และไม่มีการผิดนัดส่งมอบทรัพย์
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกให้จำเลยสีเป็นข้าวสารแล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวนั้น ถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารส่งมอบให้แก่โจทก์ ต่อมาเกิดไฟไหม้โรงสีข้าวของจำเลยซึ่งขณะนั้นในโรงสีไม่มีข้าวเปลือกมีแต่ข้าวสารแสดงว่าข้าวสารที่จำเลยจะต้องส่งมอบแก่โจทก์นั้นเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้เพราะเหตุไฟไหม้ที่ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุไฟไหม้นั้นเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ การชำระหนี้ของจำเลยด้วยการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
ส่วนกรณีที่จำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแม้การชำระหนี้จะกลายเป็นพ้นวิสัยนั้น ปรากฏว่าการที่จำเลยจะต้องส่งข้าวสารคืนแก่โจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อโจทก์ยังมิได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์อันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 217

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้ชำระหนี้ไม่ได้ และไม่มีการผิดนัดส่งมอบทรัพย์
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสารแล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าว ถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง เมื่อขณะที่ไฟไหม้โรงสีไม่มีข้าวเปลือกแล้วมีแต่ข้าวสาร แสดงว่าข้าวสารที่จำเลยจะต้องส่งมอบแก่โจทก์เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว เมื่อที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดจึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้โรงสีนั้นเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ การชำระหนี้ของจำเลยด้วยการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
การส่งข้าวเปลือกให้จำเลยจะทยอยส่งเป็นงวด โดยกำหนดให้จำเลยสีข้าวเปลือกให้เสร็จตามระยะเวลา แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกเสร็จแล้วจะต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด โจทก์ก็มิได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์และกลับได้ความว่า ในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์อันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 217

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินค้าของผู้ประกอบการค้า: 2 ปี หากผิดนัดชำระเป็นงวด แม้จะยินยอมผ่อนชำระ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการที่โจทก์ในฐานะผู้ประกอบการค้าเรียกค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 แล้ว แม้โจทก์จะยินยอมให้จำเลยที่ 1 แบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องหาใช่เป็นกรณีเงินต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามมาตรา 193/33(2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ยึดทรัพย์ได้ก่อนบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหายคิดจากราคาตลาด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันตามสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินใด ๆ จำเลยที่ 1 ยอมให้ผู้แทนหรือลูกจ้างของโจทก์เข้าไปยังสถานที่ของจำเลยที่ 1เพื่อยึดรถยนต์ได้ไม่ว่าโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ก็ตาม การที่โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถกระทำได้โดยที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญากันและต่อมาภายหลังโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคารถยนต์แก่โจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดราคารถยนต์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ยังขาดได้ เพราะจะมีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่เลิกกันไปแล้ว หากโจทก์ยังได้รับความเสียหายในส่วนราคารถยนต์ที่ขาด โจทก์สามารถเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคท้าย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้นี้คือค่าขาดราคาไปจากราคารถยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่ค่าขาดราคาไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ยึดรถได้ก่อนบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหายคิดจากราคาจริงรถยนต์
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันตามสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินใด ๆ จำเลยที่ 1 ยอมให้ผู้แทนหรือลูกจ้างของโจทก์เข้าไปยังสถานที่ของจำเลยที่ 1เพื่อยึดรถยนต์ได้ไม่ว่าโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ก็ตาม การที่โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถกระทำได้โดยที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญากันและต่อมาภายหลังโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคารถยนต์แก่โจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดราคารถยนต์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ยังขาดได้ เพราะจะมีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่เลิกกันไปแล้ว หากโจทก์ยังได้รับความเสียหายในส่วนราคารถยนต์ที่ขาด โจทก์สามารถเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคท้าย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้นี้คือค่าขาดราคาไปจากราคารถยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่ค่าขาดราคาไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4976/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ผู้ให้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าซ่อมแซม
การที่เจ้าพนักงานตำรวจมีหนังสือแจ้งอายัดการดำเนินการทางทะเบียนต่อผู้อำนวยการสำนักงานทะเบียนรถยนต์ เพราะการนำรถยนต์เข้าประเทศผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จะรับโอนรถยนต์มาและไม่อาจทราบได้ การที่ไม่อาจต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี จึงมิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ประสงค์จะเลิกสัญญาเพราะไม่อาจใช้รถยนต์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก็ชอบที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 โดยส่งมอบรถยนต์คืน แต่จำเลยที่ 1 กลับชำระค่าเช่าซื้อต่อมาจนถึงงวดที่ 17 จากนั้นไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อและไม่ยอมส่งมอบรถยนต์คืนโดยปราศจากเหตุผล โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมร่วมกันส่งมอบรถยนต์หรือใช้ราคาคืนและเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก และการคิดดอกเบี้ยจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ผ. ชำระค่าปรับตามสัญญารับรองการขออนุญาตเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวแก่โจทก์ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2537 ผ. เพิกเฉยไม่ชำระถือว่า ผ. เป็นฝ่ายผิดนัดตั้งแต่วันที่ 31มีนาคม 2537 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันที่ ผ. ผิดนัดโดยเป็นผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวสงวนสิทธิไว้ในหนังสือแจ้งให้ ผ. ชำระเงินแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ ผ. จึงเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ผ. ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินของ ผ. ทุกชนิด ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกันกับ ผ. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกในฐานะทายาทโดยธรรม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ ผ. ต้องรับผิดใช้ให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ ผ. ผิดนัดจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามที่โจทก์แจ้งจึงไม่ชอบ เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2และที่ 3 จะต้องรับผิดเป็นส่วนตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายผิดนัด และการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดดอกเบี้ย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคาร จำเลยผู้จะขายจะต้องก่อสร้างอาคารที่ตกลงจะซื้อขายให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 24 เดือน นับแต่วันทำสัญญา แต่เมื่อครบกำหนดดังกล่าว จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาไม่แล้วเสร็จ โจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย ปรากฏว่าเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยก็ยังไม่อาจส่งมอบอาคารให้โจทก์ได้ ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระหว่างโจทก์จำเลยเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในส่วนดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยไม่ได้มีข้อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีนี้อย่างไร ทั้งตามสำนวนก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยสู้ความโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุตามบทบัญญัติมาตรา 142 (6) ที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับกรณีผิดนัด, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา เว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันซื้อขายสินค้าและการผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด
แม้การสั่งซื้อสินค้าพิพาทและการลงลายมือชื่อรับสินค้าของเจ้าหน้าที่คลังสินค้าของจำเลยจะถูกต้องตามระเบียบที่จำเลยกำหนดหรือไม่ก็ตาม แต่การที่สินค้าพิพาทอยู่ที่จำเลยและพฤติการณ์ที่จำเลยได้ส่งสินค้าพิพาทบางส่วนไปให้โจทก์ซ่อมแซม ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันในการซื้อสินค้าพิพาทแล้ว จำเลยจึงต้องชำระราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้ามีว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
of 41