พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและการคืนเงินเมื่อผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ ศาลพิจารณาความเสียหายและคิดดอกเบี้ย
จำเลยสร้างตึกแถวที่จะขายให้โจทก์เสร็จพร้อมที่จะโอนตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2539 โจทก์ย่อมมีหน้าที่รับโอนและชำระราคาส่วนที่เหลืออีก 2,000,000 บาท แก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ชำระแม้ในช่วงเวลานั้นต่างมิได้ถือเอาเงื่อนไขในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ เนื่องจากจำเลยกำลังบอกขายตึกแถวพร้อมที่ดินให้แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของโจทก์ แต่ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะสำเร็จได้ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอในการเตรียมเงินชำระให้แก่จำเลยการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินที่ค้างชำระแก่จำเลยภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ อันเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จเกือบ 1 ปี จึงเป็นการบอกกล่าวให้เวลาอันสมควรแล้ว เมื่อหนังสือดังกล่าวมีข้อความแสดงเจตนาเลิกสัญญา และโจทก์ไม่ชำระเงินภายในเวลากำหนดสัญญาจะซื้อจะขายย่อมเป็นอันเลิกกันเมื่อล่วงพ้น 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามนั้น แต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยมีหน้าที่คืนเงิน 1,200,000 บาท ที่รับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
โจทก์ชำระเงินดาวน์ 300,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของเงินจำนวน1,200,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา โดยมิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระล่วงหน้า มิใช่มัดจำที่จำเลยจะริบได้ เมื่อจำเลยมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแล้วโจทก์เพิกเฉย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามมาตรา 215 การที่จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องคืนเงินล่วงหน้า 1,200,000 บาท ให้แก่โจทก์จนครบจำนวน เนื่องจากจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะเหตุที่โจทก์ผิดนัดและต้องรับภาระดอกเบี้ยที่กู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุนปลูกสร้างอาคารพอแปลได้ว่าจำเลยเรียกเอาเงิน 1,200,000 บาท นั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้
การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน 2,000,000 บาทให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี แต่ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังนั้น แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
โจทก์ชำระเงินดาวน์ 300,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของเงินจำนวน1,200,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา โดยมิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระล่วงหน้า มิใช่มัดจำที่จำเลยจะริบได้ เมื่อจำเลยมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแล้วโจทก์เพิกเฉย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามมาตรา 215 การที่จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องคืนเงินล่วงหน้า 1,200,000 บาท ให้แก่โจทก์จนครบจำนวน เนื่องจากจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะเหตุที่โจทก์ผิดนัดและต้องรับภาระดอกเบี้ยที่กู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุนปลูกสร้างอาคารพอแปลได้ว่าจำเลยเรียกเอาเงิน 1,200,000 บาท นั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้
การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน 2,000,000 บาทให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี แต่ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังนั้น แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9554/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาบัตรเครดิต: เริ่มนับจากวันผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่แค่วันสิ้นสุดการใช้บัตร
สัญญาใช้บัตรเครดิตเป็นข้อตกลงที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้แก่จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่จำเลยในการชำระค่าสินค้าและบริการแทนเงินสดรวมทั้งเบิกถอนเงินสดไปจากโจทก์ โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไปก่อนและโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตจากจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลย โดยจำเลยตกลงยอมให้โจทก์เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองออกไปคืนจากจำเลยได้ เงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนจำเลยตามข้อตกลงจึงเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิต และมีอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) จำเลยมียอดหนี้การใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายวันที่ 20 ธันวาคม 2538 และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระเงินตามยอดหนี้ดังกล่าวภายในวันที่ 4 มกราคม 2539 พร้อมกับแจ้งการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตของจำเลย จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 5มกราคม 2539 เป็นต้นไป โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 15 ธันวาคม 2541คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8508/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสัญญาประนีประนอมยอมความหลังผิดนัดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 จะระบุไว้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโอนไปยังจำเลยที่ 1 ทันที และโจทก์จะดำเนินการจดทะเบียนโอนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรายการสมุดคู่มือจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเสียก่อน โดยเช็คที่ออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ถูกธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงิน 4 ฉบับ โจทก์จึงได้ใช้สิทธิของตนเพื่อการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4ซึ่งระบุว่า หากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดใด งวดหนึ่ง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดทั้งหมดและยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที โดยหักส่วนที่ชำระมาแล้วออกก่อนคงบังคับเอาเฉพาะส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินที่ค้างชำระ พร้อมทั้งยินยอมให้โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้ทันที นอกจากนี้แล้วข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาก็ปรากฏว่าหลังจากผิดนัดชำระหนี้แล้ว จำเลยทั้งสองได้ยินยอมให้โจทก์นำรถยนต์ดังกล่าวกลับคืนไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ด้วย ฉะนั้นเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ซึ่งยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของตนกลับคืนมาแล้วโจทก์จึงสามารถนำรถยนต์นั้นออกขายทอดตลาดและโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อได้โดยไม่อาจถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 แต่อย่างใด โจทก์ได้นำรถยนต์ออกขายทอดตลาดและโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อไป ซึ่งการขายและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ดังกล่าวได้กระทำภายหลังที่จำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาแล้ว การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นผลให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระงับไปดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างเมื่อโจทก์ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์จึงบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ และสกุลเงินที่ใช้ชำระ
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์กับเจ้าหน้าที่กงสุลไทยรับรองอีกชั้นหนึ่งว่ามีการจัดทำเอกสารอย่างแท้จริง กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาซื้อขายพิพาทระบุเงื่อนไขชำระราคาใน 365 วันจากวันที่มีการส่งของ และตามใบตราส่ง โจทก์ส่งของให้แก่ผู้ขนส่งวันที่ 18ธันวาคม 2540 ซึ่งตรงกับวันที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าพร้อมแจ้งหนี้ดังนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของหนี้เงินค่าสินค้าในระหว่างผิดนัดได้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม2541 เป็นต้นไป มิใช่คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2540
สัญญาซื้อขายพิพาทระบุเงื่อนไขชำระราคาใน 365 วันจากวันที่มีการส่งของ และตามใบตราส่ง โจทก์ส่งของให้แก่ผู้ขนส่งวันที่ 18ธันวาคม 2540 ซึ่งตรงกับวันที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าพร้อมแจ้งหนี้ดังนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของหนี้เงินค่าสินค้าในระหว่างผิดนัดได้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม2541 เป็นต้นไป มิใช่คิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินโบนัสตามผลดำเนินงาน สัญญาจ้างกำหนดสิทธิขั้นต่ำ และผลของการผิดนัดชำระหนี้
สัญญาจ้างกำหนดสิทธิที่โจทก์จะได้รับเงินโบนัสจากจำเลยว่า "เงินโบนัสตามผลดำเนินงานของบริษัท โดยบริษัทจะจ่ายเงินโบนัสให้อย่างน้อยปีละ 1 เท่าของเงินเดือน ในวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี" ย่อมหมายความว่า บริษัทจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์จำนวนมากน้อยตามผลการดำเนินงานของบริษัท แต่อย่างน้อยต้องจ่ายปีละ 1 เท่าของเงินเดือน โดยจ่ายให้แก่โจทก์ในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินโบนัสของปี 2541 ให้แก่โจทก์ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง มาตรา 7 และ 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับชำระหนี้ล่าช้าทำให้สิทธิเรียกร้องหนี้ทั้งหมดทันทีสิ้นสุดลง ต้องมีการบอกกล่าวเตือนก่อน
โจทก์ยอมรับเงินค่างวดที่จำเลยผิดนัดชำระให้แก่โจทก์เรื่อยมาโดยไม่ได้อิดเอื้อนหรือโต้แย้งสงวนสิทธิของโจทก์ที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยในกรณีดังกล่าวไว้เลย พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยแสดงออกต่อกันเช่นนี้ต่างมิได้ถือเอากำหนดวันปฏิทินให้จำเลยชำระเงินแต่ละงวดตามสัญญากู้เงินเป็นสาระสำคัญต่อไป และถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระเงินแต่ละงวดล่าช้าไปกว่าวันที่กำหนดไว้ตามสัญญากู้เงินเป็นการผิดนัดกันอีกแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงงวดชำระ จำเลยไม่ชำระเงินให้โจทก์ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดนัด อันจะก่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดคืนได้ทันทีตามสัญญากู้เงิน เว้นแต่โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดที่ค้างในกำหนดเวลาพอสมควรก่อน หากจำเลยไม่ชำระจึงจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดเพราะโจทก์ได้เตือนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 และ 204 วรรคหนึ่ง
โจทก์เรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุกล่าวหาว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์พึงมีตามสัญญากู้เงินข้อ 7 แม้จำเลยไม่ผิดนัดก็ตาม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดชำระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ผิดนัดแล้ว ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงสิทธิอื่นใดของโจทก์อีก เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญากู้เงิน โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการชอบแล้ว
โจทก์เรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุกล่าวหาว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์พึงมีตามสัญญากู้เงินข้อ 7 แม้จำเลยไม่ผิดนัดก็ตาม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดชำระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ผิดนัดแล้ว ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงสิทธิอื่นใดของโจทก์อีก เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญากู้เงิน โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ระบุว่าหากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามที่กำหนดไว้ไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนด (สูงกว่าร้อยละ 9.5) เมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ สัญญากู้เงิน ฉบับพิพาท ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่ง มีระยะเวลาที่แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิ ผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง สมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป แม้มีสัญญาให้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้
การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำตามสัญญาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า แต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบลูกค้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนดังกล่าวแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้วจำนวน 1,500,000 บาท นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนต้นเงิน 1,500,000 บาท อยู่ แต่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยส่วนนี้เป็นเหตุที่สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากโรงงานน้ำตาล: ความชอบด้วยกฎหมาย, การผิดนัดชำระหนี้, และดอกเบี้ย
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและวรรคสองกำหนดว่า การกำหนดเบี้ยปรับดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและวรรคสี่ระบุให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับฯ สำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวได้ออกโดยชอบ ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายและไม่ซ้ำซ้อน
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับกำหนดให้คิดเบี้ยปรับกระสอบละ 2,000 บาทแต่ไม่น้อยกว่าครั้งละ 200,000 บาท ไม่ใช่ค่าปรับซึ่งเป็นโทษทางอาญาเพราะเบี้ยปรับเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน จึงเป็นคนละอย่างกับโทษปรับตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท
เบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเบี้ยปรับอันเกิดจากการที่คู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่า ลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ถึงมาตรา 381 มิใช่กรณีของจำเลยซึ่งจะต้องรับผิดเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดโดยกฎหมาย
เบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระ ถือได้ว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์มีอำนาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22
ระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับกำหนดให้คิดเบี้ยปรับกระสอบละ 2,000 บาทแต่ไม่น้อยกว่าครั้งละ 200,000 บาท ไม่ใช่ค่าปรับซึ่งเป็นโทษทางอาญาเพราะเบี้ยปรับเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน จึงเป็นคนละอย่างกับโทษปรับตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท
เบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเบี้ยปรับอันเกิดจากการที่คู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่า ลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 379 ถึงมาตรา 381 มิใช่กรณีของจำเลยซึ่งจะต้องรับผิดเพราะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดโดยกฎหมาย
เบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระ ถือได้ว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์มีอำนาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นและการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหลังผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับเงินต้นแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้านั้น มีผลบังคับใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะครบกำหนดชำระหนี้และลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามวิธีการดังกล่าวได้
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728