พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนจำนองที่ดินหลังการเสียชีวิตของผู้กู้ และผลของการไม่แสดงเจตนาจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่โจทก์ดำเนินการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อใดอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่จำเป็นต้องบรรยายถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องไปจดทะเบียนจำนองตามวันที่ปรากฏในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้คดีนี้กับคดีอื่นของศาลชั้นต้นจะมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความเห็นว่าลายมือชื่อที่ลงในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เพราะมีคุณสมบัติการเขียน รูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ตามตัวอย่างที่ส่งมาก็ตามแต่สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 ทำก่อนที่จะมีการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา ทั้งผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อบุคคลก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นและลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ที่ลงในใบแต่งทนายความกับในเอกสารที่ร้องเรียนให้นายอำเภอเมืองลำพูนสอบสวนเรื่องจำนองที่ดินในคดีนี้ก็แตกต่างกัน แสดงว่าคุณสมบัติในการเขียนและลักษณะตัวอักษรที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่คงที่แน่นอนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังไม่ขึ้น การจดทะเบียนจำนองที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อนจะจดทะเบียนต้องประกาศ 30 วัน เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านทางสำนักงานที่ดินจึงจะจดทะเบียนให้ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองซึ่งยังไม่ได้ลงวันที่ตอนไปยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนทำนิติกรรมครั้งแรกนั้น สัญญาจำนองยังไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้แสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จดทะเบียนจำนองให้ โจทก์นำสัญญาจำนองดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เองฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 1 มิได้มอบอำนาจให้ทำเช่นนั้น สัญญาจำนองและการจดทะเบียนจำนองจึงไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกันโดยด้านหน้าเป็นสัญญากู้เงินด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินรายพิพาทไม่มีการค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านสัญญากู้เงินแล้วจึงปิด ต่อมาทางด้านหลังแสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลงลายมือชื่อไม่ตรงตามตำแหน่งผู้กู้ ยังคงเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้
เมื่อจำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์ไปจริง การที่จำเลยที่ 2ซึ่งในสัญญาตอนต้นระบุว่าเป็นผู้กู้ลงลายมือชื่อในช่องพยานและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้โดยไม่มีชื่อเป็นผู้กู้ในตอนต้นของสัญญา หาทำให้เอกสารดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรกไม่ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามข้อความในเอกสารดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยึดทรัพย์สินของผู้กู้เมื่อมีการค้ำประกันด้วยทรัพย์สิน และสิทธิของผู้รับประกัน
ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทั้ง 7 รายการ เป็นของจำเลยจำเลยเพียงแต่มอบทรัพย์ดังกล่าวให้ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากผู้ร้องเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์ดังกล่าวของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการฟ้องทายาทของผู้กู้เพื่อชำระหนี้
ป. กู้เงินไปจากโจทก์ เมื่อ ป. ตายโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ให้ชำระหนี้เงินกู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 โดยชั้นนี้ไม่จำต้องพิจารณาว่า จำเลยได้รับมรดกของ ป. หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตามมาตรา 1601,1738 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้ให้กู้ แม้เงินกู้มาจากผู้อื่น: กรณีมารดาออกเงินกู้แทนบุตร
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยมารดาโจทก์เป็นผู้ออกเงินกู้และมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่มารดาโจทก์มีเจตนาช่วยออกเงินกู้แทนโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากการรับเงินกู้แทนและประมาทเลินเล่อในการส่งมอบเงิน ทำให้ผู้กู้ไม่ได้รับเงิน
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล จำเลยรับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้วมีหน้าที่ต้องนำไปมอบให้ผู้กู้โดยตรงตามหน้าที่ตามข้อบังคับของโจทก์ แม้จะฟังว่าจำเลยมอบเงินกู้ดังกล่าวให้ผู้อื่นรับไปมอบให้ผู้กู้ จำเลยก็ไม่พ้นความรับผิด เมื่อผู้กู้ไม่ได้รับเงินกู้การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินกู้จากเช็ค แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินบนเช็ค แต่มีหลักฐานการรับเงินอื่น ย่อมถือว่าได้รับเงินกู้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ ในวันเดียวกันโจทก์สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ม. จำนวนเงิน400,000 บาท ตรงกับที่ระบุในสัญญากู้ให้แก่จำเลยที่ 1 แม้ในการรับเงินตามเช็คนั้น จะไม่มีลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ลงไว้ในเช็คในฐานะผู้รับเงินก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินในสลิป ลูกหนี้เงินโอนซึ่งมีข้อความระบุเลขที่เช็คและจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ได้รับไปจากโจทก์ ทั้งเช็คนั้นก็เป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือและในวันเดียวกันนั้นธนาคารก็ได้เงินจำนวน 400,000 บาท ตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คไปแล้ว ดังนี้ข้อเท็จจริงบ่งชัดว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้จำนวน 400,000 บาทตามเช็คฉบับดังกล่าวไปแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ลายมือชื่อผู้กู้เพียงผู้เดียวก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาท กฎหมายเพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วยแม้สัญญากู้เงินจะเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้แล้วก็ชอบฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. 653.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ลายมือชื่อผู้กู้สำคัญกว่าผู้ให้กู้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินจะเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเมื่อจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้กู้ สัญญากู้ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ไม่เป็นโมฆะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่าย ดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ และหน้าที่ชำระภาษีของผู้กู้
บริษัท พ. จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริกามีสัญญากับโจทก์ว่าเป็นผู้จัดหาคณะบุคคลให้แก่โจทก์ในการดำเนินงานของบริษัทโจทก์ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบริหารของบริษัทโจทก์บุคคลที่บริษัท พ. จัดหามาเพื่อทำงานให้แก่โจทก์นั้นจึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ ไม่ถือว่าบริษัท พ. มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งถือไม่ได้ว่าบริษัท พ.ประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับเงินที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเป็นค่าจัดการและดอกเบี้ยของเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท พ. เมื่อโจทก์ไม่ได้หักไว้เพราะมีข้อสัญญาให้โจทก์ชำระแทน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีจำนวนที่ต้องรับผิดชำระแทนนั้นต่อเจ้าหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 โจทก์ทำสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงิน 5 แห่ง ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศสหรัฐอเมริการ่วมกับธนาคารแห่งอเมริกาตามข้อสัญญาระบุให้ธนาคารแห่งอเมริกาเป็นตัวแทนจัดการเงินกู้และรับดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งนี้สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาโดยตรง ธนาคารแห่งอเมริกามีสาขาในประเทศไทยแต่ไม่ปรากฏว่า สาขาในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่ง การชำระดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินเหล่านั้นโจทก์ส่งไปให้แก่ธนาคารแห่งอเมริกา นครนิวยอร์คโดยตรงธนาคารแห่งอเมริกา นครนิวยอร์คจึงเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งเพื่อการนี้ และแม้ธนาคารแห่งอเมริกาจะมีสาขาในประเทศไทย ก็ถือไม่ได้ว่าสาขาในประเทศไทยนั้นเป็นตัวแทนของสถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังกล่าวด้วย เมื่อสถาบันการเงินทั้ง5 แห่งนั้นไม่มีสาขาหรือลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลณ ที่จ่าย สำหรับเงินค่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้แก่สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งดังกล่าว แต่เมื่อตามข้อสัญญาในหนังสือสัญญากู้ระบุให้โจทก์ในฐานะผู้กู้ต้องเป็นฝ่ายชำระค่าภาษีทั้งปวงแทน โจทก์ไม่อาจหักเงินภาษีออกจากเงินค่าดอกเบี้ยได้ โจทก์จึงชอบที่จะออกเงินค่าภาษีจำนวนที่ต้องรับผิดชำระแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70