พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้คดีอาญาไม่สามารถพิสูจน์ตัวผู้ขับรถได้ โจทก์ยังสืบได้ในคดีแพ่ง
จำเลยเคยถูกอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ศาลแขวงวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ขับรถคันเกิดเหตุ คงมีเพียงบางปากยืนยันว่าผู้ขับรถเป็นหญิง แต่ไม่ยืนยันว่าเป็นจำเลย จำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ขับรถคันดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลย พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ดังนี้ถือว่าศาลในคดีอาญาไม่ได้ชี้ขาดว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนขับรถคันเกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวเป็นโจทก์ฟ้องทางแพ่งเป็นคดีนี้เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนขับรถคันเกิดเหตุ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดลักทรัพย์: ความผิดของผู้ขับรถพาผู้กระทำผิดไปและกลับ
จำเลยที่ 2 ขับรถสามล้อเครื่องพาจำเลยที่ 1 มายังที่เกิดเหตุขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังลักทรัพย์ในร้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2จอดรถอยู่บริเวณหน้าร้านผู้เสียหายห่างประมาณ 6-7 เมตรและนั่งอยู่เฉย ๆ ข้างรถสามล้อเครื่อง มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเอาทรัพย์ผู้เสียหายไป มิได้คอยดูต้นทางให้จำเลยที่ 1หรือให้ความร่วมมือโดยใกล้ชิดกับการที่จำเลยที่ 1ลักทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 เพียงแต่รอคอยอยู่เพื่อจะขับรถพาจำเลยที่ 1 ออกไปจากที่เกิดเหตุ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1ก่อนและขณะกระทำผิด จำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
จำเลยที่ 2 เพียงแต่ขับรถสามล้อเครื่องมาส่งจำเลยที่ 1ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ผู้เสียหาย ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถสามล้อเครื่องดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ พาทรัพย์ไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิคงมีความผิดตามมาตรา335 วรรคสามเท่านั้น และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225.
จำเลยที่ 2 เพียงแต่ขับรถสามล้อเครื่องมาส่งจำเลยที่ 1ไม่ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ผู้เสียหาย ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถสามล้อเครื่องดังกล่าวเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ พาทรัพย์ไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิคงมีความผิดตามมาตรา335 วรรคสามเท่านั้น และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ศาลฎีกาพิพากษาความรับผิดจากความประมาทของผู้ขับรถและข้อยกเว้นการรับผิด
คดีที่เหตุเกิดจากมูลกรณีละเมิดอันเดียวกัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยฟังว่าลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ขับรถประมาท และจำเลยที่ 5 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 1 ที่ 2 ดังนี้เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 4 ผู้เดียวฎีกาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้ฎีกาเมื่อศาลฎีกาฟังว่าเหตุเกิดจากความประมาทของคนขับรถโจทก์ฝ่ายเดียวศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อจากการจอดรถบรรทุกในเวลากลางคืนโดยไม่มีสัญญาณเตือน เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับรถโดยสารไม่ได้ประมาท
ถนนที่เกิดเหตุเป็นทางตรง ขึ้นเนินประมาณ20องศา ผิวจราจรกว้าง 6 เมตร ไหล่ถนนกว้างประมาณ 2 เมตร รถยนต์บรรทุกของจำเลยเสียจำเลยจอดรถอยู่บนผิวจราจรทั้งคันในเวลากลางคืนเมื่อขึ้นเนินไปประมาณ 50 เมตร และคลุมผ้าใบไว้ โดยไม่ได้เปิดไฟท้ายรถหรือแสดงสัญญาณใด ๆ เตือนให้ผู้ขับรถคันอื่นทราบเป็นเหตุให้รถโจทก์ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วประมาณ 50กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้จะมีแสงสว่างจากไฟหน้ารถแต่ก็เห็นรถจำเลยเมื่อเข้าไปใกล้กันประมาณ 7-8 เมตรแล้ว คนขับรถโจทก์ขับรถหลบหลีกไม่ทัน จึงเป็นเหตุให้ชนท้ายรถจำเลยดังนี้เหตุเกิดเพราะจำเลยเป็นฝ่ายประมาทแต่ฝ่ายเดียว คนขับรถโจทก์มิได้ประมาทด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถโดยสารประจำทาง ไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง หากเจ้าของรถร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นผู้รับผิดชอบ
รถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ประกอบการขนส่งประจำทางร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดังนั้น เจ้าของรถยนต์ร่วมกับองค์การ ฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการใช้รถคันนี้ในการขนส่งประจำทาง จำเลยเป็นเพียงผู้ใช้รถยนต์ ในนามของเจ้าของรถร่วมกับองค์การ ฯ เท่านั้น จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำรถยนต์ แล่นรับส่งคนโดยสารนอกเส้นทางที่ได้รับอนุญาตไว้ ก็ไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ฯ มาตรา 23, 126
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถโดยสารประจำทาง ไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง การกระทำผิดจึงอยู่ที่เจ้าของรถและองค์การขนส่งมวลชน
รถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ประกอบการขนส่งประจำทางร่วมกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพดังนั้น เจ้าของรถยนต์ร่วมกับองค์การฯเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้รถคันนี้ในการขนส่งประจำทาง จำเลยเป็นเพียงผู้ใช้รถยนต์ ในนามของเจ้าของรถร่วมกับองค์การฯ เท่านั้น จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ประกอบการขนส่งประจำทางแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำรถยนต์ แล่นรับส่งคนโดยสารนอกเส้นทางที่ได้รับอนุญาตไว้ ก็ไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 23,126
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้ขับรถโดยสารกับความผิดพ.ร.บ.ขนส่งทางบก: ผู้ขับรถไม่ใช่ผู้ประกอบการ แต่ผิดฐานใช้รถที่ไม่ได้เสียภาษี
จำเลยเป็นเพียงคนขับรถยนต์โดยสารของเจ้าของรถ จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ประจำรถ หาใช่อยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการขนส่งประจำทางไม่ จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา23แต่เมื่อรถคันเกิดเหตุไม่ได้เสียภาษีรถประจำปีจำเลยเป็นผู้ขับและนำไปใช้ขณะเกิดเหตุ จึงมีความผิดตามมาตรา 71,148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้รถขนส่งที่ยังไม่เสียภาษี และขอบเขตความรับผิดของผู้ขับรถในฐานะลูกจ้าง
จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างขับรถยนต์ ถือได้ว่าอยู่ในฐานะเป็น ผู้ประจำรถตามความในมาตรา 92(1) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ.2522 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการขนส่งตามความหมายของมาตรา 23 แม้รถที่จำเลยขับจะมิได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งจากนายทะเบียนจำเลยก็ไม่มีความผิด
ตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522รถที่ใช้ในการขนส่งต้องเป็นรถที่ได้มีการเสียภาษีตามมาตรา 85แล้ว หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 148รถคันเกิดเหตุไม่ได้เสียภาษีรถประจำปี จำเลยเป็นผู้ขับและนำไปใช้ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติ ตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 148
ตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522รถที่ใช้ในการขนส่งต้องเป็นรถที่ได้มีการเสียภาษีตามมาตรา 85แล้ว หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 148รถคันเกิดเหตุไม่ได้เสียภาษีรถประจำปี จำเลยเป็นผู้ขับและนำไปใช้ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติ ตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998-1003/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถโดยสารไม่ใช่ผู้ประกอบการ ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่ง
ผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 10,59 ในการประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481-2485/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งประจำทางนอกเส้นทางอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่ง และผู้ขับรถไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง
บริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางจากจังหวัดสิงห์บุรีถึงบ้านชันสูตร การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ได้ร่วมกันนำรถยนต์โดยสารเข้าไปรับส่งคนโดยสารและสินค้าในเส้นทางซึ่งนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนนั้น ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 10 อันมีโทษตามมาตรา 59 ตามฟ้องโดยตรง เพราะออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนดให้ประกอบการขนส่ง หาได้เป็นความผิดเกี่ยวกับมาตราอื่นที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษไม่
จำเลยที่ 7 ของแต่ละสำนวนเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามฟ้อง จึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 34(1) ซึ่งบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะ จำเลยที่ 7 จึงมิใช่ผู้ประกอบการขนส่งด้วยไม่มีความผิดตามมาตรา 10 ดังฟ้อง
จำเลยที่ 7 ของแต่ละสำนวนเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามฟ้อง จึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 34(1) ซึ่งบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะ จำเลยที่ 7 จึงมิใช่ผู้ประกอบการขนส่งด้วยไม่มีความผิดตามมาตรา 10 ดังฟ้อง