คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้คัดค้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ผู้คัดค้านขอถอนผู้จัดการมรดกไม่ได้
ผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทเสร็จสิ้นแล้วผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมจะต้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง: ข้อกล่าวหาต้องชัดเจนและมีรายละเอียด ผู้ร้องต้องระบุข้อเท็จจริงที่ผู้คัดค้านสามารถต่อสู้ได้
กระบวนพิจารณาคดีการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้มีพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 78 และ 79 ว่า ให้ผู้เลือกตั้งหรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลจังหวัดที่เขตเลือกตั้งนั้นตั้งอยู่หรือต่อศาลแพ่งสำหรับกรุงเทพมหานคร เมื่อได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งดำเนินการพิจารณาโดยไม่ชักช้า และให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ทำความเห็นและส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยและให้ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเสียแล้วแต่กรณี จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ให้ศาลฎีกาเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนการที่กฎหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งมีหน้าที่ดำเนินการพิจารณาในเบื้องต้นแล้วทำความเห็นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกานั้นก็มีเหตุผลในเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีส่วนได้เสียในทำนองเดียวกันและยังมุ่งหมายจะลดภาระของศาลฎีกาในอันที่จะต้องออกนั่งพิจารณาคดีเองอีกประการหนึ่งด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งในคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่กฎหมายให้ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งกระทำการแทนศาลฎีกา ส่วนความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวที่ได้ส่งมายังศาลฎีกาพร้อมสำนวนนั้นก็เป็นเพียงข้อเสนอแนะต่อศาลฎีกาโดยตรง ไม่มีลักษณะเป็นคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียจะโต้แย้งคัดค้านได้ และในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีศาลฎีกาก็มิได้ถูกผูกมัดโดยความเห็นของศาลหนึ่งศาลใดดังกล่าวนั้นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ในกรณีที่เห็นสมควรศาลฎีกาอาจจะมีคำวินิจฉัยคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปได้โดยไม่จำต้องรอฟังความเห็นของศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งก็ได้.
คำร้องบรรยายว่า การเลือกตั้งทุกหน่วยในอำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอยและอำเภอวิหารแดง เจ้าหน้าที่กรรมการเลือกตั้งประจำหน่วยจงใจปล่อยปละละเลยให้มีการหมุนเวียนไปลงคะแนนซ้ำบุคคลกัน ด้วยการไปลงคะแนนแทนบุคคลที่ไม่ใช้สิทธิ ซึ่งบางคนบวชเป็นภิกษุ บางคนถึงแก่กรรมไปแล้ว และบางคนก็ไปทำงานชั่วคราวในต่างประเทศ ซึ่งหลักฐานการลงคะแนนส่วนมากไม่มีการลงชื่อผู้ใช้สิทธิหรือหมายเหตุเลขที่บัตรประจำตัวไว้ในช่องผู้ใช้สิทธิแล้ว ผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นเลยว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนใดบ้างที่ไปลงคะแนนให้ผู้ถูกคัดค้านซ้ำอีก การลงคะแนนซ้ำเป็นการลงคะแนนแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนใด ที่หน่วยเลือกตั้งใด เป็นการยากที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 คำร้องข้อนี้จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 127/2489)
คำร้องบรรยายว่า คณะกรรมการตรวจนับบัตรวินิจฉัยและขานคะแนนบัตรด้วยการเข้าข้างผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ด้วยการอ่านบัตรเสียว่าเป็นบัตรดีอันมีอยู่ทุกหน่วยในเขต และบัตรดีซึ่งเป็นของผู้ร้อง กรรมการตรวจนับบัตรกลับวินิจฉัยว่าเป็นบัตรเสีย ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 บัตร ในทุกหน่วยเขตเลือกตั้งในเขตอำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอแก่งคอยและอำเภอวิหารแดง ผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นเลยว่าบัตรชนิดใดที่เป็นบัตรเสีย แต่คณะกรรมการตรวจนับบัตรถือว่าเป็นบัตรดี และบัตรชนิดใดที่เป็นบัตรดีแต่คณะกรรมการตรวจนับบัตรถือว่าเป็นบัตรเสีย ทั้งนี้เพราะบัตรเลือกตั้งนั้นได้กำหนดลักษณะเอาไว้แล้วตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ข้อ 9 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 53 และมาตรา 73 ก็บัญญัติถึงบัตรเสียไว้รวม 6 ชนิดด้วยกัน คำร้องข้อนี้ จึงไม่ชัดแจ้งพอที่ผู้คัดค้านจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 623/2514)
คำร้องบรรยายว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ละเมิดกฎหมายด้วยการนำดนตรีไปแสดงให้ประชาชนในเขตเลือกตั้งในทุกเขตของจังหวัดสระบุรี อันเป็นการโฆษณาหาเสียง ด้วยการจัดให้มีมหรสพและการรื่นเริงต่าง ๆ และในการเลือกตั้งดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังได้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้มากอันเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั้นสำหรับข้อกล่าวอ้างที่ว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทำการหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพและการรื่นเริงต่าง ๆ นั้นถึงหากจะทำการพิจารณาต่อไปและฟังได้ว่าเป็นความจริงการกระทำดังกล่าวก็เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35(3) และมีโทษตามมาตรา 84 เท่านั้นหาเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ตามมาตรา 78 ไม่ ประเด็นข้อนี้จึงไม่จำต้องยกขึ้นวินิจฉัย ส่วนข้อที่กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้มาก อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 32 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า เมื่อได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกินสามแสนห้าหมื่นบาทไม่ได้ ทั้งนี้ไม่รวมค่าธรรมเนียมการสมัคร คำร้องของผู้ร้องเฉพาะส่วนนี้นอกจากผู้ร้องจะมิได้กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้จ่ายไปในการหาเสียงเลือกตั้งทั้งหมดเกินจำนวน 350,000 บาท ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ผู้ร้องก็ยังมิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยแจ้งชัดว่าผู้คัดค้านทั้งสามได้ใช้จ่ายเงินไปในกิจการใดบ้าง อันพอสมควรที่ผู้คัดค้านทั้งสามจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำร้องของผู้ร้องส่วนนี้จึงเคลือบคลุมเช่นเดียวกัน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2964/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศคำร้องและสิทธิคัดค้าน: ผู้คัดค้านต้องยื่นภายในกำหนด หากไม่ยื่นสิทธิขาด
การที่ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องของผู้ร้องขอให้ศาลสั่งว่า ส. เป็นบุคคลไร้ความสามารถทางหนังสือพิมพ์รายวัน ถือว่าประกาศของศาลเป็นที่รู้กันทั่วไป เมื่อประกาศครบแล้วศาลชั้นต้นเริ่มทำการไต่สวน จึงเป็นการดำเนินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 แล้วผู้คัดค้านจะอ้างว่าไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ที่ศาลประกาศ ย่อมไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านไม่ยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดตามที่ศาลประกาศ ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิจะยื่นคำคัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับมรดกกรณีมีผู้คัดค้านสิทธิ ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมายและพยานหลักฐาน
โจทก์ร้องขอรับมรดกที่ดิน โฉนดที่ 5130 ของ พ. ว. ยื่นคำร้องคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช.ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1927/2506 ว่า ว.มีสิทธิในส่วนของช.ในโฉนดที่กล่าวด้วย จำเลยที่ 1 ในนามจังหวัด ได้มีหนังสือหารือการปฏิบัติในการสั่งคำร้องของโจทก์มายังจำเลยที่ 2(กรมที่ดิน) จำเลยที่ 2 เห็นว่าคำพิพากษาฎีกาได้วินิจฉัยว่า ว.มีส่วนได้เสียในที่ดินอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงสั่งให้โจทก์และ ว.ลงชื่อร่วมกันในโฉนดในฐานะผู้รับมรดกและสั่งด้วยว่าฝ่ายใดไม่เห็นพ้องด้วยก็ให้ฟ้องศาลภายใน 60 วัน มิฉะนั้นจะดำเนินการไปตามคำสั่งต่อไปดังนี้ เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการในการออกคำสั่งคำร้องของโจทก์ ได้ปฏิบัติการไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โดยชอบ เช่น การประกาศการขอรับมรดกของโจทก์เป็นต้น ครั้น ว.คัดค้าน ก็ได้ขอความเห็นจากจำเลยที่ 2 อันเป็นสำนักงานต้นสังกัดในการรับผิดชอบ แสดงว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้การงานเป็นไปโดยถูกต้อง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ว.รับมรดกร่วมกับโจทก์ ก็เห็นว่าเนื่องจากหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า ว.มีส่วนได้ส่วนเสียในที่ดินโฉนดนี้อยู่ด้วย และทั้งสองฝ่ายไม่ยอมตกลงตามข้อเปรียบเทียบของจำเลยที่ 1 จำเลยก็ย่อมสั่งการไปได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสองมิได้ก่อการเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์ เพราะถ้าโจทก์หรือ ว.ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของจำเลยที่1ก็ย่อมนำคดีเสนอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์: หน้าที่การนำสืบของผู้คัดค้านเมื่อรับทราบการครอบครองเกิน 10 ปี
ผู้ร้องได้ร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินโฉนดมีชื่อนายวันเป็นเจ้าของเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินรายนี้มาโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า10 ปีแล้ว ผู้คัดค้านอ้างว่า นายวันเป็นบิดาผู้คัดค้าน
เมื่อ 10 ปีเศษนายวันได้นำโฉนดที่ดินรายนี้ไปวางประกันเงินกู้นายท้วมและให้ทำกินต่างดอกเบี้ย นายท้วมตายโฉนดจึงตกอยู่แก่ผู้ร้องดังนี้ เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านจะต้องนำสืบก่อน ในเมื่อผู้คัดค้านรับว่าผู้ร้องได้ครอบครองมากว่า 10 ปีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้ปกครอง: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ความเหมาะสมของผู้ถูกเสนอชื่อ ไม่ใช่แค่เปรียบเทียบกับผู้คัดค้าน
อัยการได้ร้องขอให้ตั้ง ส.เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์มีผู้คัดค้านว่าส.เป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ประเด็นคงมีแต่เพียงว่า สมควรจะตั้ง ส.เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์หรือไม่ ผู้ร้องขอมุ่งสืบไปในทางว่า ส. เป็นผู้ที่สมควรเป็นผู้ปกครองมากกว่าผู้คัดค้าน แต่หาได้สืบให้เป็นที่พอใจศาลว่า ส. เป็นผู้ที่สมควรเป็นผู้ปกครองหรือไม่ ดังนี้ ต้องยกคำร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อพิพาทกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทเมื่อมีผู้คัดค้าน ศาลต้องดำเนินกระบวนการต่อไป
คดีเดิมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเมื่อมีผู้เกี่ยวข้องคัดค้านเข้ามาต้องถือว่าเป็นคู่ความ. ศาลต้องดำเนินคดีไปเช่นคดีมีข้อพิพาท. มิใช่จำหน่ายเรื่องเดิมเสียและให้ตั้งต้นใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ผู้คัดค้านมีหน้าที่รวบรวมและถอนการยึด ผู้ร้องเป็นเพียงตัวแทน
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวเป็นผู้มีหน้าที่ในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ดังนั้น การยึดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวม จึงเป็นอำนาจของผู้คัดค้าน ผู้ร้องเป็นเพียงตัวแทนของผู้คัดค้านในการนำบันทึกข้อความขอให้ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดปราจีนบุรี สาขากบินทร์บุรี ดำเนินการยึดและขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทน ไปยื่นและดำเนินการแทนผู้คัดค้านเท่านั้น หาใช่ผู้ร้องโดยส่วนตัวเป็นผู้ยึดทรัพย์ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด อันส่งผลให้ผู้คัดค้านหมดอำนาจในการจัดการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านจึงต้องเป็นผู้ดำเนินการถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวเอง ไม่อาจสั่งให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของผู้คัดค้านในการนำยึดไปดำเนินการถอนการยึดและชำระค่าธรรมเนียมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดก: การพิจารณาศาสนาของผู้คัดค้าน
แม้คดีจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาท โดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ท. ผู้ตายซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่เมื่อมีการคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีผลให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยมิใช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลฯ ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล ต้องใช้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 6 บังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดก: ผู้คัดค้านมิใช่อิสลามศาสนิก จึงใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แม้คดีจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาท โดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของนายทวี ผู้ตาย ซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่เมื่อมีการคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีผลทำให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยนับถือศาสนาพุทธ จึงมิใช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ.2489 ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล ต้องใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 บังคับแก่คดี
of 4