พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ครบถ้วนของผู้ค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยจำเลยครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้จาก ก. ผู้กู้ ตามทางนำสืบของจำเลยผู้ค้ำประกัน แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่น โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาท และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า เมื่อโจทก์รับว่าได้รับเงินจาก ก. แต่ปฏิเสธว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามคำปฏิเสธของโจทก์ โจทก์ไม่นำสืบพยานเช่นว่านั้น จำต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ก. ชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาทแล้ว ดังนี้ เป็นการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานในประเด็นข้อพิพาทเดิมขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้เป็นการตั้งประเด็นใหม่หรือยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นใหม่แต่อย่างใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ก. กู้ยืมเงินโจทก์โดยที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ก. ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แทน จำเลยให้การว่า ก. ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้จาก ก. จริง แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ ไม่ได้ชำระหนี้รายพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์และมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้รายพิพาทจาก ก. แล้ว
โจทก์ฟ้องว่า ก. กู้ยืมเงินโจทก์โดยที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ก. ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แทน จำเลยให้การว่า ก. ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้จาก ก. จริง แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ ไม่ได้ชำระหนี้รายพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์และมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้รายพิพาทจาก ก. แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ลูกหนี้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหรือชำระไม่ครบและโจทก์บังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้วไม่พอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 จนครบถ้วนได้ จึงหาจำต้องระบุว่าหากบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ให้โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 อีกด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้โดยเจ้าหนี้ไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาตามกฎหมาย ทำให้ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดตามสัญญา
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องไม่ได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อก็ดี โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 8 เดือน จึงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก็ดี จึงมิใช่การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ อันจักทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 700
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้ศาลยกฟ้องลูกหนี้เนื่องจากไม่ใช่หนี้ตามฟ้อง
ศาลแรงงานกลางมิได้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ถ้าลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้แต่นั้นประกอบกับมาตรา 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิตามมาตรา 688, 689 และ 690 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเบียดบังยักยอกสินค้าของโจทก์ และเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบแก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้เมื่อลูกหนี้กระทำละเมิด แม้ศาลยกฟ้องลูกหนี้ด้วยเหตุอื่น
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะเป็นฟ้องซ้อนมิได้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ถ้าลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้แต่นั้นประกอบกับมาตรา 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิตามมาตรา 688,689 และ 690 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันที่ต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสภาพนิติบุคคล หักบัญชีชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด วันที่ 13 กรกฎาคม 2536 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีวันที่ 20 เมษายน 2537 ทำให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคล ไม่มีอำนาจดำเนินการต่อไปตั้งแต่วันที่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต้องสิ้นสุดลงและหักทอนบัญชีกัน จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเงินประมาณ 2,132,418 บาท แม้ต่อมาจะมีการถอนเงินออกจากบัญชีและมีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีอีก แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคลแล้วย่อมไม่มีอำนาจถอนเงิน ออกจากบัญชีอันเป็นการก่อหนี้ได้ การถอนเงินดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนการนำเงินเข้าฝากคือการที่โจทก์รับฝากเงินจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระ ดังนั้นจึงต้องนำเงินฝากหลังจากวันที่ 20 เมษายน 2537 มาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ที่มีต่อโจทก์ ซึ่งปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าถึงวันที่ 11 มีนาคม 2539 มีการนำเงินเข้าฝากหลายครั้งรวม 3,928,691.69 บาท ส่วนจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้นเงินประมาณ 2,132,418 บาท คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.75 ต่อปีแบบไม่ทบต้นตามที่โจทก์ขอมา นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2537 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2539 เป็นเงินประมาณ 794,340.52 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 2,926,758.52 บาท น้อยกว่าจำนวนเงินที่มีการนำเข้าฝากในบัญชี จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานผู้ค้ำประกันและผู้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นให้ไว้แก่โจทก์มีจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 118 แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้ หากเป็นเพียงเอกสารลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่ง ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 118 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าปรับในสัญญาจ้างแรงงาน และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ข้อตกลงที่ลูกจ้างจะชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับให้แก่นายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นข้อตกลงในทางแพ่งโดยทั่วไปซึ่งนายจ้างและลูกจ้างสามารถทำข้อตกลงดังกล่าวได้ และค่าปรับก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเบี้ยปรับคือเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า หากสูงเกินส่วนศาลก็ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายพร้อมค่าปรับจำนวน 5 เท่า ของราคาทรัพย์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
แม้สัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทุกประการก็ตาม แต่ความรับผิดดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหมาย จ. 3 เท่านั้น ส่วนข้อตกลงตามหนังสือแนบท้ายสัญญาจ้างหมาย จ. 4 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้ค่าปรับอีกส่วนหนึ่งจำนวน 5 เท่าของค่าเสียหายแก่โจทก์ เพิ่งจัดทำขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 แล้ว โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อให้ความยินยอมด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับจำนวน 5 เท่า แก่โจทก์
แม้สัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทุกประการก็ตาม แต่ความรับผิดดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหมาย จ. 3 เท่านั้น ส่วนข้อตกลงตามหนังสือแนบท้ายสัญญาจ้างหมาย จ. 4 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้ค่าปรับอีกส่วนหนึ่งจำนวน 5 เท่าของค่าเสียหายแก่โจทก์ เพิ่งจัดทำขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 แล้ว โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อให้ความยินยอมด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับจำนวน 5 เท่า แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดชอบหนี้แม้ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกัน แม้ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณา แต่ก็มีผลเพียงให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนเท่านั้น ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 และหากต่อมาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จะลดลงตามแผนฟื้นฟูกิจการก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน ตามมาตรา 90/60 วรรคสอง