พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของศาลเจ้า: แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มีผู้จัดการที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าฯ สามารถฟ้องได้ตามกฎหมาย
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคมพุทธศักราช 2463 ข้อ 4 กำหนดว่า ที่ดินที่ศาลเจ้าตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐบาล ก็ดีหรือในที่ดินของเอกชน แต่ได้อุทิศให้เป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิขาดแล้วก็ดีในหัวเมืองนอกจากเขตกรุงเทพมหานครให้มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ในนามกรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามโฉนดที่ดินระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่ากรมพะลำภังค์กระทรวงมหาดไทย(ศาลเจ้าเจตึ๊ง)เมื่อกรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย ก็คือกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันนี้ ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการปกครองศาลเจ้าโจทก์ได้ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวข้อ 13 และตามกฎเสนาบดีข้อ 14กำหนดให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าในฐานะและกาล อันสมควรและมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทก็ตาม โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์เป็นกุศลสถานประเภทศาลเจ้า มีว.เป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ที่ดินของโจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยกระทรวงมหาดไทย ตามสำเนาแผนที่จำลองในโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องดังนั้น โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ไม่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำฟ้อง การประกาศเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการเป็นข้อเท็จจริง ที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลรู้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ความเสียหายต่อรถยนต์ของผู้จัดการห้างหุ้นส่วน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุเงื่อนไขว่า จำเลยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย และไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุมหรือครอบครองทรัพย์สินนั้น แต่รถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนไว้จากจำเลยร่วมเป็นของจำเลยร่วม แม้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยร่วม แต่จำเลยร่วมจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลย่อมเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1015ดังนั้น จะถือว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยด้วยหาได้ไม่ ทั้งรถยนต์คันที่ได้รับความเสียหายเป็นของโจทก์ มิใช่เป็นทรัพย์สินของจำเลยร่วมผู้เอาประกันภัย หรือของบุคคลดังกล่าว กรณีจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวที่จำเลยจะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยค้ำจุนชนได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำละเมิดของผู้จัดการ การขัดต่อความประสงค์ของตัวการ และอายุความฟ้องคดี
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133 กรมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 1 จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. นำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของกรมโจทก์หลังจากหมดงบประมาณแล้ว แต่โจทก์ก็รับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมากรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงานไม่ใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 396 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, การจัดการงานที่ขัดต่อความประสงค์ของตัวการ, และขอบเขตความรับผิดของผู้จัดการ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณีมิใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลให้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133การที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยคดีไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1นั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีแล้วและมีอำนาจวินิจฉัยฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1ได้ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดจึงต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดแต่โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันมอบอำนาจฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396เป็นกรณีผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่เคยปฏิบัติมาและโจทก์เองก็รับรู้และยอมรับข้อปฏิบัติดังกล่าวจึงมิใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์แท้จริงของโจทก์จำเลยที่3ซึ่งปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่1มอบหมายจึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ฝ่ายบริหาร' ใน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์: ผู้จัดการสาขาธนาคารไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกสมาคมพนักงาน
พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4วรรคสาม บัญญัติว่า "พนักงาน หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจแต่ไม่หมายความรวมถึงฝ่ายบริหาร" และวรรคสี่ บัญญัติว่า "ฝ่ายบริหาร หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการ ผู้ว่าการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการด้วย"โจทก์ทั้งสี่เป็นหัวหน้าหน่วยงานโดยเป็นพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขาของธนาคาร ก.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นผู้จัดการอันเป็นฝ่ายบริหารตามความหมายของ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4 วรรคสี่ หาใช่เป็นเพียงพนักงานตามบทกฎหมายดังกล่าวในมาตรา 4 วรรคสาม ไม่ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์ทั้งสี่มีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยตนเองหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายบริหาร โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 มาตรา 4, 30, 35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชย์ - พฤติการณ์ประวิงคดี
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 เป็นเวลาประมาณ 8 เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด และจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริง จำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใด การที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอย ๆ ว่า จำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้าง พฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควร กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 และตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่ แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการเพื่อชำระหนี้จากการประกอบกิจการพาณิชย์ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ลูกหนี้
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307เป็นเวลาประมาณ8เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดและจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริงจำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใดและจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใดการที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอยๆว่าจำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้างพฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควรกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา307และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามาแต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควรศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของเจ้าของรถ, ห้างหุ้นส่วน, และผู้จัดการ
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันหรือจำเลยที่1เชิดจำเลยที่2ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ4"อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่1และที่2มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผยการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่าโรงสีชัยเจริญ4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตรซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นหุ้นส่วนโดยจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้นข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานเป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา179และมาตรา180โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา446 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่1กับห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันจำเลยที่3เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.ผู้มีหน้าที่จัดการขายทอดตลาด เข้าสู้ราคาเอง เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 511
แม้จำเลยที่1ซึ่งสังกัดจำเลยที่2มิใช่กรรมการจัดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ที่จำเลยที่2ยึดมาเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระภาษีเงินได้ที่โจทก์ค้างชำระจำเลยที่1ก็ มีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการ ขายทอดตลาด เมื่อได้เสนอจำเลยที่3แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดโดยล้วนแต่เป็น ข้าราชการในบังคับบัญชาของจำเลยที่1ถือว่าจำเลยที่1ได้ทำในนามของจำเลยที่2ต้องถือว่าจำเลยที่1เป็น ผู้ทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา511จึงต้องห้าม เข้าสู้ราคาซื้อที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดผู้จัดการสาขาเบียดบังเงินฝากของลูกค้า: ความผิดหลายกรรม
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต เบียดบังยักยอกเงินของลูกค้าที่จำเลยรับฝากไว้แทนโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมต้องใช้เงินให้แก่ลูกค้าไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบ ประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบ ประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม