พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3752/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์การแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินในคดีบังคับคดี
ในชั้นบังคับคดีจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดเพื่อหารายได้ชำระหนี้โจทก์แทนการสั่งขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวโดยขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในกรณีเช่นนี้มีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยต่อไปได้ ซึ่งถ้าหากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยเสร็จแล้วหากศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วมีความเห็นว่าควรตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำร้อง กรณีก็จะไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการทรัพย์สินและผู้ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาท
ธ. ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ไม่ปรากฏว่าเป็นหุ้นส่วนลงทุนในการก่อสร้างห้องแถว จำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิของ ธ. แต่อย่างใด ธ.จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะส่วนตัว เมื่อ ธ. มิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาล และไม่ปรากฏว่าศาลได้อนุญาตให้ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ ก. ผู้ไม่อยู่ได้ ธ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะดังกล่าว จะถือว่าการที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องเท่ากับเป็นการอนุญาตให้โจทก์ฟ้องในฐานะดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการทรัพย์สินและบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนฟ้องคดี
ธ. ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ไม่ปรากฏว่าเป็นหุ้นส่วนลงทุนในการก่อสร้างห้องแถว จำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิของ ธ. แต่อย่างใด ธ.จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะส่วนตัว เมื่อ ธ. มิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาล และไม่ปรากฏว่าศาลได้อนุญาตให้ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ ก.ผู้ไม่อยู่ได้ ธ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะดังกล่าว จะถือว่าการที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องเท่ากับเป็นการอนุญาตให้โจทก์ฟ้องในฐานะดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดยักยอกทรัพย์: ลูกจ้างกลุ่มเกษตรกรไม่ใช่ผู้จัดการทรัพย์สินหรือผู้มีอาชีพที่ประชาชนไว้วางใจ
สมุห์บัญชีและพนักงานบัญชีของกลุ่มเกษตรกรไม่ใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สิน หรือมีอาชีพธุรกิจที่ประชาชนไว้วางใจการยักยอกไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา353,354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีปล่อยทรัพย์: สิทธิของคู่สมรสและความเป็นผู้จัดการทรัพย์สิน
สามีร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดซึ่งเป็นสินสมรสหรือสินบริคณห์ ศาลได้ยกคำร้องของสามี คดีถึงที่สุดแล้ว ภรรยาจะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์นั้นอีกหาได้ไม่ กรณีเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการทรัพย์สินโดยไม่จำกัดสิทธิ และการตัดทายาทโดยธรรมต้องชัดเจน
ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 3 กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ข้อเดียวกันนั้นว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้ว ให้จำเลยทั้งสี่เป็นผู้จัดการศพ ปกครองทรัพย์และจัดการในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตาย แม้จะมีคำว่าข้าพเจ้าเต็มใจยกให้จำเลยทั้งสี่ แต่ก็มีข้อความติดต่อเกี่ยวเนื่องกันต่อไปว่า เป็นผู้ปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้า ข้อความต่อไปที่ว่า นอกจากจำเลยทั้งสี่ที่ระบุนามในหนังสือนี้แล้ว ผู้อื่นไม่มีสิทธิจะปกครองทรัพย์ของข้าพเจ้าเป็นอันขาด ก็มีความหมายเป็นในเรื่องการปกครองทรัพย์เช่นเดียวกับข้อความในตอนแรก ต่างกับข้อความที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และ 2 แห่งพินัยกรรมฉบับเดียวกันซึ่งมีข้อความกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า ได้ยกทรัพย์สิ่งใดให้แก่บุคคลใด โดยระบุชื่อไว้อย่างชัดแจ้งไม่มีข้อความต่อไปว่า ยกให้ปกครองและจัดการดังที่กล่าวไว้ในข้อ 3 ส่วนข้อความต่อไปที่ว่าทรัพย์สินที่ข้าพเจ้าได้ระบุไว้และมิได้ระบุให้เป็นอำนาจของจำเลยทั้งสี่จัดการโดยเด็ดขาดหากเห็นว่าควรจะยกให้แก่ผู้ใด ก็ให้ดำเนินการได้ตามความประสงค์ถ้าไม่เห็นสมควรประการใด ก็แล้วแต่จำเลยทั้งสี่จะจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์ทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่จะยกทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลใด มากน้อยก็สุดแล้วแต่ใจของจำเลยทั้งสี่ กล่าวคือ ให้เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสี่ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจจะทราบตัวแน่นอนได้ เป็นผู้รับพินัยกรรม และเป็นข้อกำหนดที่ให้บุคคลใดยกทรัพย์สินมากน้อยเท่าใดก็ได้ตามแต่ใจของบุคคลนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของช้าพเจ้าเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตัดนาง ย. หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนาง ย. มิให้รับมรดก ฉะนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นที่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนางบ.
ข้อความในพินัยกรรมกล่าวแต่เพียงว่า บุคคลอื่นแม้จะเกี่ยวเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของข้าพเจ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์หรือปกครองทรัพย์ของช้าพเจ้าเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดหรือในที่ใดระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตัดนาง ย. หรือโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนาง ย. มิให้รับมรดก ฉะนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ของนาง ย. ซึ่งเป็นที่ของนาง บ. จึงมีสิทธิรับมรดกของนางบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเช่า: ผู้จัดการทรัพย์สินมีอำนาจฟ้องได้แม้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หากผู้เช่ายินยอมทำสัญญา
การเช่านั้น ผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่านั้นไม่เมื่อจำเลยยินยอมทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่านั้นเมื่อโจทก์เห็นว่า จำเลยทำผิดสัญญาเช่า โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยผู้เช่าได้ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับจำเลย จำเลยจะโต้แย้งอำนาจของผู้ให้เช่าที่ตนยินยอมทำสัญญาด้วยนั้นหาได้ไม่
ที่ธรณีสงฆ์วัดจันทรสโมสรได้มอบให้กรมการศาสนาโจทก์เป็นผู้จัดการดูแลหาผลประโยชน์ให้แก่วัดมานานแล้ว และกรมการศาสนาโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าที่นั้นตลอดมาดังนี้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาเช่ากับกรมการศาสนาโจทก์โดยตรง จะเถียงสิทธิของกรมการศาสนาโจทก์ในเรื่องอำนาจฟ้องหาได้ไม่
ที่ธรณีสงฆ์วัดจันทรสโมสรได้มอบให้กรมการศาสนาโจทก์เป็นผู้จัดการดูแลหาผลประโยชน์ให้แก่วัดมานานแล้ว และกรมการศาสนาโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าที่นั้นตลอดมาดังนี้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาเช่ากับกรมการศาสนาโจทก์โดยตรง จะเถียงสิทธิของกรมการศาสนาโจทก์ในเรื่องอำนาจฟ้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์และการมีนิติสัมพันธ์กับคู่กรณี
ฟ้องขับไล่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์โดยบรรยายฟ้องว่า หม่อมเจ้าหญิงอัจฉราฉวี เทวกุล ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ฯ โจทก์ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้ตามกฎหมายในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และการสิ้นสุดนิติสัมพันธ์สัญญาเช่า
ฟ้องขับไล่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์โดยบรรยายฟ้องว่าหม่อมเจ้าหญิงอัจฉราฉวีเทวกุล ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ฯ
โจทก์ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้ตามกฎหมายในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์แล้ว
โจทก์ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้ตามกฎหมายในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เยาว์ไม่สามารถเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นได้ แม้ผู้ถูกจัดการจะหายสาบสูญ
บุตรผู้เยาว์ของบุคคลซึ่งไปเสียจากภูมิลำเนาโดยมิได้ตั้งตัวแทนไว้ และไม่มีใครรู้ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรนั้น ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบุคคลนั้นโดยมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมไม่ได้ เพราะกรณีเช่นนี้ไม่เข้าข้อยกเว้นที่ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ได้