พบผลลัพธ์ทั้งหมด 310 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8362/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิรับทราบคำร้องเพิกถอนการขาย เพื่อปกป้องประโยชน์ส่วนได้เสีย
ป.วิ.พ. มาตรา 280 เป็นเพียงบทสันนิษฐานเพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติในภาค 4 ว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ให้ถือว่าบุคคลตามที่ระบุไว้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีเท่านั้น มิได้หมายความว่าบุคคลอื่นนอกจากที่ระบุไว้จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ย่อมกระทบกระเทือนต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ซื้อทรัพย์ได้โดยตรง จึงต้องให้โอกาสผู้ซื้อทรัพย์ได้โต้แย้งคัดค้านด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำเนาคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เสียก่อนไต่สวนคำร้อง เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ย่อมกระทบกระเทือนต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ซื้อทรัพย์ได้โดยตรง จึงต้องให้โอกาสผู้ซื้อทรัพย์ได้โต้แย้งคัดค้านด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำเนาคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เสียก่อนไต่สวนคำร้อง เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ผู้ขาย-นายหน้า: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบเอกสารจากนายหน้าได้
โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์วางเงินมัดจำแล้วจำเลยที่ 2 จึงสั่งรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้ โจทก์จึงร้องเรียนไปยังบริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้ประกอบรถยนต์คันที่โจทก์ซื้อ บริษัท ส. มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจำเลยที่ 1(ดิลเลอร์) ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับจำเลยที่ 2(โบรคเกอร์) เพื่อเจรจาใช้หนี้ให้โจทก์ หากโจทก์ประสงค์ซื้อรถยนต์ในครั้งต่อไปขอให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 โดยตรงเพราะจำเลยที่ 1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จำหน่ายจากบริษัท ส. แล้ว พอแปลคำว่าดิลเลอร์ได้ว่าหมายถึงผู้จำหน่าย ประกอบกับจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ดังนั้น จำเลยที่ 1จึงเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ส่วนคำว่าโบรคเกอร์ หมายถึงนายหน้าประกอบกับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์เป็นนายหน้า ความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ในลักษณะจำเลยที่ 1 เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าในการขายรถยนต์ให้
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7058/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในราคาประมูล: ความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อทำให้ใช้ข้อสำคัญผิดไม่ได้
ผู้ซื้อทรัพย์มีความประสงค์จะประมูลซื้อทรัพย์จำนองจริง และเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์จำนองรายนี้ได้ในราคาสูงสุด แต่มีการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลายรายการทำให้ผู้ซื้อทรัพย์สับสนโดยนำราคาที่จะต้องเข้าประมูลในคดีอื่นมาประมูลซื้อในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในราคาอันเป็นคุณสมบัติของทรัพย์ แต่ความสำคัญผิดของผู้ซื้อทรัพย์เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการแสดงเจตนาเข้าประมูลซื้อทรัพย์โดยไม่ตรวจสอบราคาให้ถูกต้อง ผู้ซื้อทรัพย์จะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 158 จึงไม่มีเหตุที่จะยกเลิกการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ขายไม่ผิดสัญญาหากยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อต้องชำระเงินและนัดโอนกรรมสิทธิ์ก่อน
แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทข้อ 3 จะระบุไว้ว่า ผู้จะขายทุกคนจะเริ่มดำเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยตลอดจนบริวารของผู้เช่าหรือผู้อาศัยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินทันทีนับแต่วันทำสัญญานี้และผู้จะขายสัญญาว่าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญา แต่เจตนารมณ์ของคู่สัญญามิได้ถือเอาตามสัญญาข้อ 3 เป็นข้อสาระสำคัญอันถือว่าผู้จะขายเป็นผู้ผิดสัญญา เพราะตามสัญญาข้อ 6 ยังระบุว่า แม้ผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาข้อ 3 ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญาแต่ผู้จะซื้อยังมีหน้าที่จะต้องแจ้งเป็นหนังสือถึงผู้จะขายให้ทราบถึงกำหนดระยะเวลานัดชำระเงินจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เหลือ โดยกำหนดไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันครบกำหนดสัญญาตามข้อ 3 ทั้งเมื่อผู้จะซื้อชำระเงินส่วนที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ให้ผู้จะขายตามสัญญาข้อ 6 แล้ว ตามสัญญาข้อ 7 ยังกำหนดให้ผู้จะซื้อแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้จะขาย ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายในไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันที่ผู้จะซื้อได้ชำระเงินตามข้อ 6 แล้ว ผู้จะขายทุกคนตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ผู้จะซื้อทันทีและผู้จะซื้อจะชำระเงินส่วนที่เหลือให้ผู้จะขายในวันดังกล่าว โดยผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อยึดเงินไว้จำนวน 500,000 บาท เพื่อให้ผู้จะซื้อใช้จ่ายดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เช่าหรือ ผู้อาศัยตลอดจนบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทเรียบร้อยแล้ว ผู้จะซื้อจึงจะคืนเงินส่วนที่เหลือตามความเป็นจริงให้ผู้จะขายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นนี้ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าแม้ผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยตลอดจนบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท ก็ยังไม่ถือว่า ผู้จะขายผิดสัญญาอันเป็นเหตุให้ผู้จะซื้อบอกเลิกสัญญาได้ ผู้จะซื้อยังมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 และข้อ 7 ต่อไป
กรณีที่ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกปฏิบัติว่าจะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไปหรือจะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทได้ต้องเป็นไปตามสัญญาข้อ 11 คือ เป็นกรณีที่ผู้จะขายทุกคนไม่สามารถทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ว่าแปลงหนึ่งแปลงใดให้ผู้จะซื้อได้ และตามสัญญาข้อ 8 ระบุว่า ผู้จะขายไม่นำที่ดินพิพาท ไปก่อภาระผูกพัน หากนำไปก่อภาระผูกพันก็ต้องปลดภาระผูกพันให้เสร็จสิ้นก่อนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้จะซื้อ เห็นได้ว่า กรณีที่ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกที่จะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไปหรือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามข้อ 11 และข้อ 8 จะต้องเป็นกรณีที่มีการกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันแล้ว ผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ว่าแปลงใดแปลงหนึ่งให้ผู้จะซื้อได้ หรือในวันดังกล่าวผู้จะขายยังไม่สามารถปลดภาระผูกพันให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันในวันนั้น หากเพียงผู้จะขายผิดสัญญาตามข้อ 3 ยังไม่ทำให้ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกว่าจะดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือจะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้จะขายไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาข้อ 3 ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ผู้จะซื้อได้บอกเลิกหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายต่อผู้จะขาย โดยผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 และข้อ 7 ที่จะชำระเงินที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ และผู้จะซื้อไปดำเนินการกำหนดนัดเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกับผู้จะขาย ถือได้ว่าโจทก์ผู้จะซื้อเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท
กรณีที่ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกปฏิบัติว่าจะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไปหรือจะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทได้ต้องเป็นไปตามสัญญาข้อ 11 คือ เป็นกรณีที่ผู้จะขายทุกคนไม่สามารถทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ว่าแปลงหนึ่งแปลงใดให้ผู้จะซื้อได้ และตามสัญญาข้อ 8 ระบุว่า ผู้จะขายไม่นำที่ดินพิพาท ไปก่อภาระผูกพัน หากนำไปก่อภาระผูกพันก็ต้องปลดภาระผูกพันให้เสร็จสิ้นก่อนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้จะซื้อ เห็นได้ว่า กรณีที่ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกที่จะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไปหรือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามข้อ 11 และข้อ 8 จะต้องเป็นกรณีที่มีการกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันแล้ว ผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ว่าแปลงใดแปลงหนึ่งให้ผู้จะซื้อได้ หรือในวันดังกล่าวผู้จะขายยังไม่สามารถปลดภาระผูกพันให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันในวันนั้น หากเพียงผู้จะขายผิดสัญญาตามข้อ 3 ยังไม่ทำให้ผู้จะซื้อมีสิทธิเลือกว่าจะดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือจะดำเนินการซื้อขายที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้จะขายไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาข้อ 3 ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ผู้จะซื้อได้บอกเลิกหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายต่อผู้จะขาย โดยผู้จะซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 6 และข้อ 7 ที่จะชำระเงินที่เหลืออีก 20 เปอร์เซ็นต์ และผู้จะซื้อไปดำเนินการกำหนดนัดเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกับผู้จะขาย ถือได้ว่าโจทก์ผู้จะซื้อเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายปุ๋ยโดยใบสั่งจ่ายสินค้าไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องโดยตรงต่อผู้ขาย โจทก์มีสิทธิเพียงทำการแทนผู้ซื้อ
++ เรื่อง ซื้อขาย หนี้ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่โต้แย้งกันว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายสินค้าประเภทปุ๋ยเกษตรกรรม จำเลยที่ 2ใช้นามแฝงในทางการค้าว่า นายกิจจา บุญนำ ประกอบอาชีพรับซื้อปุ๋ยจากบริษัทผู้ค้าปุ๋ยรายอื่นเพื่อนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง โจทก์ประกอบอาชีพค้าขายปุ๋ยเกษตรกรรม โดยซื้อปุ๋ยจากจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอีกทอดหนึ่ง
++ เมื่อปี 2536 จำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยให้แก่จำเลยที่ 2 คิดเป็นเงินจำนวน 20,359,400 บาท โดยจำเลยที่ 1 ออกใบสั่งจ่ายสินค้าระบุประเภทจำนวน น้ำหนัก และชื่อที่จำเลยที่ 2 ใช้ในทางการค้า ให้แก่จำเลยที่ 2เพื่อนำไปเบิกปุ๋ยจากโกดังของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2ชำระราคาปุ๋ยด้วยการสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ขายปุ๋ยด้วยการส่งมอบใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์ ตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวโดยอ้างว่าเช็คชำระค่าปุ๋ยของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อปุ๋ยดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า การซื้อขายปุ๋ยในคดีนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเพราะมีการชำระราคาตั้งแต่แรก และเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งคือปุ๋ยตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 กำหนดจำนวนน้ำหนักและขนาดบรรจุแน่นอน ไม่จำเป็นต้องนับ ชั่ง ตวงใหม่ และไม่จำต้องมากำหนดราคาที่แน่นอนใหม่
++ เห็นว่า ปุ๋ยที่จำเลยที่ 2 ตกลงซื้อจากจำเลยที่ 1เก็บอยู่ที่โกดังเก็บสินค้าของจำเลยที่ 1 ยังมิได้มีการคัดเลือกออกมาว่าปุ๋ยถุงใดจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นที่แน่นอนแล้วแต่อย่างใด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
++ ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้น
++ เห็นว่าตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยให้แก่จำเลยที่ 2 หาได้อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ไม่ ทั้งข้ออ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนนั้นก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 เป็นทรัพยสิทธิ ไม่ใช่บุคคลสิทธิ จึงสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ การซื้อปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นการโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่โจทก์ผู้ถือใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 313 ประกอบมาตรา 312 จำเลยที่ 1 จะยกข้อต่อสู้อันมีต่อจำเลยที่ 2 ขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตหาได้ไม่นั้น
++ ในข้อนี้ปรากฏข้อความในใบจ่ายสินค้าด้านหน้าทุกฉบับเอกสารหมาย จ.1 ว่า "บริษัทเวิลด์เฟอท จำกัด...ใบสั่งจ่ายสินค้าเลขที่...วันที่...ใบส่งของเลขที่...เรียนหัวหน้าคลังสินค้าบริษัทเวิลด์เฟอท จำกัด (บางยอ) โปรดจ่ายสินค้าให้คุณกิจจา บุญนำ สินค้าปุ๋ยสูตร ... ขนาด... กกง จำนวน...กระสอบน้ำหนัก...ตัน ได้รับสินค้าตามรายการข้างบนนี้ไว้ถูกต้องเรียบร้อยแล้วผู้รับสินค้า...ผู้ซื้อ... ผู้ตรวจสอบ...ผู้อนุมัติ..." ส่วนที่ด้านหลังใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวระบุข้อความเป็นคำเตือนของบริษัทจำเลยที่ 1และมีข้อความว่า "ลงชื่อ...ผู้โอน"
++ เมื่อได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่าการซื้อขายปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยที่ขายยังไม่โอนมาเป็นของจำเลยที่ 2 ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าปุ๋ยอันเป็นทรัพยสิทธิจำเลยที่ 2 มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ส่งมอบปุ๋ยชนิด ขนาดบรรจุ จำนวน และน้ำหนักตามที่ระบุในใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวอันเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2เท่านั้น
++ ทั้งใบสั่งจ่ายสินค้าตามเอกสารหมาย จ.1 ก็เป็นเอกสารที่จำเลยที่ 1ได้ระบุไว้ชัดเจนให้หัวหน้าคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 จ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่บุคคลผู้มีชื่อคือจำเลยที่ 2 ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารอันพึงต้องชำระแก่ผู้ถือ ตามนัยของมาตรา 313 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
++ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้โอนสิทธิเรียกร้องตามใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่โจทก์ไว้ที่ด้านหลังใบสั่งจ่ายสินค้าทุกฉบับตามเอกสารหมาย จ.1 หรือได้ทำเป็นหนังสือโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่โจทก์เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด การที่โจทก์นำใบสั่งจ่ายสินค้าตามเอกสารหมาย จ.1 ไปขอรับสินค้าจากจำเลยที่ 1ย่อมเป็นได้เพียงการทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้น โจทก์และจำเลยที่ 1จึงมิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 นั้น โจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิและมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ส่งมอบสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 ได้
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่โต้แย้งกันว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายสินค้าประเภทปุ๋ยเกษตรกรรม จำเลยที่ 2ใช้นามแฝงในทางการค้าว่า นายกิจจา บุญนำ ประกอบอาชีพรับซื้อปุ๋ยจากบริษัทผู้ค้าปุ๋ยรายอื่นเพื่อนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง โจทก์ประกอบอาชีพค้าขายปุ๋ยเกษตรกรรม โดยซื้อปุ๋ยจากจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอีกทอดหนึ่ง
++ เมื่อปี 2536 จำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยให้แก่จำเลยที่ 2 คิดเป็นเงินจำนวน 20,359,400 บาท โดยจำเลยที่ 1 ออกใบสั่งจ่ายสินค้าระบุประเภทจำนวน น้ำหนัก และชื่อที่จำเลยที่ 2 ใช้ในทางการค้า ให้แก่จำเลยที่ 2เพื่อนำไปเบิกปุ๋ยจากโกดังของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2ชำระราคาปุ๋ยด้วยการสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ขายปุ๋ยด้วยการส่งมอบใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์ ตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวโดยอ้างว่าเช็คชำระค่าปุ๋ยของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อปุ๋ยดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า การซื้อขายปุ๋ยในคดีนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเพราะมีการชำระราคาตั้งแต่แรก และเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งคือปุ๋ยตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 กำหนดจำนวนน้ำหนักและขนาดบรรจุแน่นอน ไม่จำเป็นต้องนับ ชั่ง ตวงใหม่ และไม่จำต้องมากำหนดราคาที่แน่นอนใหม่
++ เห็นว่า ปุ๋ยที่จำเลยที่ 2 ตกลงซื้อจากจำเลยที่ 1เก็บอยู่ที่โกดังเก็บสินค้าของจำเลยที่ 1 ยังมิได้มีการคัดเลือกออกมาว่าปุ๋ยถุงใดจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นที่แน่นอนแล้วแต่อย่างใด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
++ ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้น
++ เห็นว่าตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยให้แก่จำเลยที่ 2 หาได้อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ไม่ ทั้งข้ออ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนนั้นก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 เป็นทรัพยสิทธิ ไม่ใช่บุคคลสิทธิ จึงสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ การซื้อปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นการโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่โจทก์ผู้ถือใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 313 ประกอบมาตรา 312 จำเลยที่ 1 จะยกข้อต่อสู้อันมีต่อจำเลยที่ 2 ขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตหาได้ไม่นั้น
++ ในข้อนี้ปรากฏข้อความในใบจ่ายสินค้าด้านหน้าทุกฉบับเอกสารหมาย จ.1 ว่า "บริษัทเวิลด์เฟอท จำกัด...ใบสั่งจ่ายสินค้าเลขที่...วันที่...ใบส่งของเลขที่...เรียนหัวหน้าคลังสินค้าบริษัทเวิลด์เฟอท จำกัด (บางยอ) โปรดจ่ายสินค้าให้คุณกิจจา บุญนำ สินค้าปุ๋ยสูตร ... ขนาด... กกง จำนวน...กระสอบน้ำหนัก...ตัน ได้รับสินค้าตามรายการข้างบนนี้ไว้ถูกต้องเรียบร้อยแล้วผู้รับสินค้า...ผู้ซื้อ... ผู้ตรวจสอบ...ผู้อนุมัติ..." ส่วนที่ด้านหลังใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวระบุข้อความเป็นคำเตือนของบริษัทจำเลยที่ 1และมีข้อความว่า "ลงชื่อ...ผู้โอน"
++ เมื่อได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่าการซื้อขายปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยที่ขายยังไม่โอนมาเป็นของจำเลยที่ 2 ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าปุ๋ยอันเป็นทรัพยสิทธิจำเลยที่ 2 มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ส่งมอบปุ๋ยชนิด ขนาดบรรจุ จำนวน และน้ำหนักตามที่ระบุในใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวอันเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2เท่านั้น
++ ทั้งใบสั่งจ่ายสินค้าตามเอกสารหมาย จ.1 ก็เป็นเอกสารที่จำเลยที่ 1ได้ระบุไว้ชัดเจนให้หัวหน้าคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 จ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่บุคคลผู้มีชื่อคือจำเลยที่ 2 ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารอันพึงต้องชำระแก่ผู้ถือ ตามนัยของมาตรา 313 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
++ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้โอนสิทธิเรียกร้องตามใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่โจทก์ไว้ที่ด้านหลังใบสั่งจ่ายสินค้าทุกฉบับตามเอกสารหมาย จ.1 หรือได้ทำเป็นหนังสือโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่โจทก์เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด การที่โจทก์นำใบสั่งจ่ายสินค้าตามเอกสารหมาย จ.1 ไปขอรับสินค้าจากจำเลยที่ 1ย่อมเป็นได้เพียงการทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้น โจทก์และจำเลยที่ 1จึงมิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 นั้น โจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิและมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ส่งมอบสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1780/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อซื้อขายเสร็จ การยึดใบคู่มือทะเบียนโดยผู้ไม่ใช่เจ้าของเป็นสิทธิที่ไม่มี
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายริบเงินมัดจำและคืนรถทันทีในสภาพเรียบร้อยทุกประการ" เป็นเพียงการกำหนดวิธีการบังคับเมื่อเกิดกรณีผิดสัญญาขึ้นเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ ถือว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง พ. กับ ป. เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมตกเป็นของ ป. ตั้งแต่ขณะที่การซื้อขายสำเร็จแล้ว
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากหลักประกันที่ไม่ชอบ ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิคุ้มครอง ศาลเพิกถอนได้
การที่ผู้ประกันนำที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยนั้น เป็นการไม่ชอบ เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ชำระค่าปรับ พนักงานอัยการนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดไม่ได้ ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และ 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การขายทอดตลาดที่เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมายทำให้ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330ทั้งผู้ประกันก็มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์ จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมาคุ้มครองผู้ประกันได้
การขายทอดตลาดที่เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมายทำให้ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330ทั้งผู้ประกันก็มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์ จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมาคุ้มครองผู้ประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง 10 ปี แม้ยังมิได้จดทะเบียน ผู้ซื้อที่ดินต้องยอมรับสิทธิเดิม
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภาระจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดิน แม้ผู้ซื้อที่ดินใหม่โดยสุจริตก็ไม่อาจต่อสู้ให้ภาระจำยอมสิ้นสุดลงได้ หากภาระจำยอมยังมิได้ถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
คดีแดงที่ 2091-2092/2542
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางเดินพิพาทกว้างประมาณ 80 เซนติเมตรยาวตลอดแนวทางเดินในที่ดินของจำเลยที่ 1 ยาวประมาณ 91 เมตร และในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ยาวประมาณ 63 เมตร และ 72.50 เมตร ตามลำดับเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งเจ็ดจดทะเบียนภาระจำยอมแก่โจทก์ทั้งเจ็ด เพื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งเจ็ด ให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ได้กระทำลงบนทางพิพาทให้จำเลยทั้งเจ็ดทำสะพานไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งเจ็ด และให้ยกฟ้องจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่า ผู้ร้องรายที่1 และที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 นั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 ก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมหาได้ไม่
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภาระจำยอมตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์แล้วนั้น ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399 กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภาระจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งผู้ร้องไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้เพราะ
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางเดินพิพาทกว้างประมาณ 80 เซนติเมตรยาวตลอดแนวทางเดินในที่ดินของจำเลยที่ 1 ยาวประมาณ 91 เมตร และในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ยาวประมาณ 63 เมตร และ 72.50 เมตร ตามลำดับเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งเจ็ดจดทะเบียนภาระจำยอมแก่โจทก์ทั้งเจ็ด เพื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งเจ็ด ให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ได้กระทำลงบนทางพิพาทให้จำเลยทั้งเจ็ดทำสะพานไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งเจ็ด และให้ยกฟ้องจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่า ผู้ร้องรายที่1 และที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 นั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 ก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมหาได้ไม่
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภาระจำยอมตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์แล้วนั้น ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399 กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภาระจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งผู้ร้องไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้เพราะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมสิ้นสุดเมื่อภารยทรัพย์สลาย หรือไม่ได้ใช้ 10 ปี แม้ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตก็ไม่สามารถอ้างเป็นเหตุให้ภารจำยอมสิ้นสุดได้
ภารจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 หรือมาตรา 1399ดังนั้น แม้ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภารจำยอมหาได้ไม่ แม้ภารจำยอมตามแนวที่กำหนดไว้เดิมแปรสภาพไปตั้งแต่ ก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยจะต้องไปดำเนินการขอให้ย้ายภารจำยอม หรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภารจำยอมตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394 ไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดี ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างใด จึงไม่อาจขอให้ยกเลิก การบังคับคดีได้