คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ถือหุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดคดี: ผู้ถือหุ้นจำเลยที่ไม่ใช่คู่ความโดยตรง ไม่มีสิทธิร้องสอด
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ร้อง สิทธิของผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทของจำเลยที่ 1 เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อีกทั้งผู้ร้องก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ซึ่งถือว่าเป็นคู่ความในคดีอันจะใช้สิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดี: ผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 3 ไม่ใช่บุคคลภายนอก สิทธิอยู่ในบริษัท, มีฐานะคู่ความ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ร้อง สิทธิของผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทของจำเลยที่ 1 เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) อีกทั้งผู้ร้องก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ซึ่งถือว่าเป็นคู่ความในคดีอันจะใช้สิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องสอดและการเป็นคู่ความในคดี: ผู้ถือหุ้นจำเลย ไม่ใช่บุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับบริษัทจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน อันเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ร้องที่เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 สิทธิของผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 1 เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) อีกทั้งผู้ร้องก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ซึ่งถือว่าเป็นคู่ความในคดีอันจะใช้สิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: ฟ้องแทนบริษัทต้องมีฐานะทางกฎหมายที่ชัดเจน
โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 2 มีสิทธิเพียงควบคุมการดำเนินงานของบริษัทจำเลยทั้งสองเพียงบางประการ ไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเอง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดระบุว่ากรณีมีการละเมิดและผิดสัญญาต่อบริษัท แม้บริษัทจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องบุคคลภายนอก โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ที่ 1 ก็หามีสิทธินำคดีมาฟ้องเองได้ไม่ ส่วนคำฟ้องที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 2 ก็เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากปัญหาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะถูกโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องร้องได้หรือไม่เสียก่อน แม้คำฟ้องที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจะอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่บังคับตามสัญญา ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย แต่ตามคำขอของโจทก์ก็มิได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ในส่วนนี้โดยตรง กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องแทนบริษัทเพื่อบังคับบุคคลภายนอก เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติ
การที่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 2 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ขายส่งรถยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยี่ห้อนิสสันให้จำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวตลอดไป รวมทั้งให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายกับสัญญาจัดจำหน่ายและเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้น เป็นการที่ผู้ถือหุ้นก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ที่ 1 มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด จะมีสิทธิก็แต่เพียงควบคุมการดำเนินงานของจำเลยทั้งสองบางประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หาอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเองได้ไม่ แม้บริษัทที่โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ที่ 1 ถือหุ้นอยู่จะไม่ดำเนินการฟ้องร้องบุคคลภายนอกก็ตามโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ที่ 1 ก็หามีสิทธินำคดีมาฟ้องเองได้ไม่ ส่วนคำฟ้องที่โจทก์ทั้งเจ็ดเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 2 ก็เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะถูกโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องร้องได้หรือไม่เสียก่อนมิใช่เรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 โดยตรง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวในข้อหานี้ได้ และแม้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องคดีในฐานะเป็นคู่สัญญาในข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทและโจทก์ที่ 1 กับที่ 7 ในฐานะคู่สัญญาในสัญญาร่วมทุนก็ตามแต่เมื่อข้อตกลงมีสาระสำคัญว่า ผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 และของบริษัทในเครือของจำเลยทั้งสองจะเพิ่มทุนและยอมสละสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุน การเข้าเป็นคู่สัญญาของโจทก์ในสัญญาร่วมลงทุนจึงหาได้เกี่ยวข้องกับข้อตกลงในทางการค้าระหว่างฝ่ายจำเลยไม่ ถือว่าเป็นเพียงรายละเอียดและเป็นเรื่องสืบเนื่องรองลงมาจากคำขอในส่วนที่โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งสิ้น คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดจึงเป็นการอาศัยสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทมาก้าวล่วงฟ้องร้องคดีเพื่อบังคับบุคคลนอกบริษัทเป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 เมื่อฟังว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องแล้ว กรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุต้องนำคดีนี้ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อนหรือไม่อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดกับสิทธิในทรัพย์สินของบริษัท: ไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน/หนี้สินส่วนตัว
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ต. ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องสอดที่ 1และเป็นบิดาของผู้ร้องสอดที่ 2 แม้ว่า ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโจทก์ และ ต. เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการบริหารบริษัทโจทก์มาก่อน ก็หาก่อให้ต. เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใดในทรัพย์สินหรือหนี้สินของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ หาก ต. นำสินสมรสระหว่าง ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 ไปลงทุนซื้อหุ้นโจทก์ ต. คงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามสัญญาซื้อขายและฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าจากจำเลย หากโจทก์ชนะคดีเงินค่าสินค้าที่จำเลยชำระย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์หามีสิทธิใด ๆ ในเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่ เงินค่าสินค้าจึงไม่ใช่สินสมรสหรือเป็นมรดกของ ต. ผู้ร้องสอดทั้งสองมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเงินค่าสินค้า จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะขอให้ศาลให้ความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าสินค้าที่โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดทั้งสองไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น: สิทธิในทรัพย์สินของบริษัทไม่ใช่สินสมรสหรือมรดก
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ต. ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องสอดที่ 1 และบิดาของผู้ร้องสอดที่ 2 การที่ ต. และผู้ร้องสอดที่ 1เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโจทก์และ ต. เคยเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทโจทก์รวมทั้งเคยเป็นกรรมการบริหารบริษัทโจทก์มาก่อน ก็หาก่อให้ ต. เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆในทรัพย์สินหรือหนี้สินของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ หาก ต. นำสินสมรสระหว่าง ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 ไปลงทุนซื้อหุ้นของโจทก์ ต. คงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งเท่านั้นการที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามสัญญาซื้อขายและฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าจากจำเลยหากโจทก์ชนะคดี เงินค่าสินค้าที่จำเลยต้องชำระย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต. หาได้มีสิทธิใด ๆ ในเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่ จึงไม่ใช่เป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์มรดกของ ต. จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเงินค่าสินค้าที่โจทก์ฟ้อง ที่จะขอให้ศาลให้ความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าสินค้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ไม่มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9754/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการให้กู้ยืมเงินผู้ถือหุ้น และการเพิกถอนนิติกรรมยกหนี้ที่ไม่สามารถทำได้ในคดีนี้
จำเลยที่ 1 ให้ อ. และ ป. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 กู้ยืมเพียงครั้งเดียว มิได้ให้บุคคลอื่นกู้ยืมอีก กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (5) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
นิติกรรมยกหนี้เงินกู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. และ ป. เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหาใช่นิติกรรมฝ่ายเดียว การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิของ อ.และ ป. ซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องเป็นจำเลยในคดีด้วยจึงไม่อาจเพิกถอนในคดีนี้ได้
อนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า หากจำเลยที่ 2 ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องกระทำโดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง มิใช่เพียงยื่นคำแก้อุทธรณ์เช่นนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9709/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้น, กรรมเดียวกับการลงทุน, การแสดงรายการในงบดุล, และการฟ้องซ้ำ
ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นระบุว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง และสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นนั้นกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งในบริษัท โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2)
ตามสัญญาสนับสนุนการลงทุนระบุว่าคู่สัญญาฝ่ายที่ 1 (บริษัทเอ็ม.พีปิโตรเลียม จำกัด) ตกลงให้เงินลงทุนแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ 2 (จำเลยและบริษัทตะวันอีสาน จำกัด) จำนวน 15,000,000 บาท โดยจะมอบให้เมื่อคู่สัญญาฝ่ายที่ 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 3.1 แม้จำเลยจะรับเงินจำนวนดังกล่าวต่างวันกันแบ่งเป็นสองจำนวน แต่เจตนาที่จำเลยกระทำเป็นเจตนาที่กระทำต่อเงินจำนวน 15,000,000 บาท ทั้งจำนวน จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันเพื่อเงินจำนวนดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่แสดงเกี่ยวกับรายการดังกล่าวให้ปรากฏเป็นยอดรวมในงบดุลเพียงครั้งเดียว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2535 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินจากการขายสินค้าก่อนจดทะเบียนบริษัท ผู้ถือหุ้นมีสิทธิร้องทุกข์
ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัท อ. ร่วมกันนั้น จำเลย โจทก์ร่วม กับพวก ได้ตกลงกันให้ดำเนินการในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. (ซึ่งเป็นห้างเดิมของจำเลย) และ บริษัท ศ. ไปพลางก่อน โดยให้จำเลยเปิดบัญชีในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมเบิกถอนเงินได้แต่เพียงผู้เดียว ขณะอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัท ได้มีการจำหน่ายสินค้าในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไป แต่เช็คถึงกำหนดชำระหลังจากจดทะเบียนบริษัท เรียบร้อยแล้ว จำเลยนำเช็คเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. โดยที่โจทก์ร่วมและผู้ถือหุ้นคนอื่นไม่ยินยอมโดยอ้างว่าเพื่อ ชดใช้ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานและเครื่องมือแพทย์ของจำเลยที่นำมาลงทุนไว้ในบริษัท เมื่อพิจารณาตามข้อตกลง ที่ว่าจำเลยเป็นเพียงผู้ลงหุ้นด้วยแรงงานเท่านั้น ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีเหตุผลที่จะรับฟัง เมื่อเงินส่วนนี้เป็นเงินที่ได้จากการขายสินค้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนบริษัท จึงเป็นของโจทก์ร่วม การที่จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปเสียโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย
of 26