คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ทำละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19
เจตนารมณ์ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เพื่อมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 เป็นเครื่องมือยุยงส่งเสริมให้เกิดการร้าวฉานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างทำลายความเห็นใจและการประนีประนอมระหว่างกัน จึงกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนที่ลูกจ้างได้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างหรือเจ็บป่วยด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แม้มีผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างของโจทก์และโจทก์ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ผู้ทำละเมิดนั้นก็มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง และไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องผู้ละเมิดให้ชดใช้เงินค่าทดแทนที่โจทก์จ่ายไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินประเภทนี้เอาจากผู้ทำละเมิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ และการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
คำฟ้องซึ่งบรรยายฐานะของโจทก์ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ (ระบุยี่ห้อและเลขหมายทะเบียน) แต่กรรมสิทธิ์ยังไม่สมบูรณ์ เพราะอยู่ในระหว่างผ่อนชำระเงินตามสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อ เป็นคำฟ้องซึ่งแจ้งชัดแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเป็นผู้จัดการซ่อมแซมรถให้คืนสู่สภาพเดิมโดยทุนทรัพย์ของโจทก์เองและผู้ให้เช่าซื้อยินยอมให้โจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายในนามของโจทก์ได้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีผู้ทำละเมิดทำให้รถที่โจทก์เช่าซื้อเสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปลงศพตามประเพณี ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดตามฐานานุรูปของผู้ตาย ไม่ใช่จำนวนเงินที่ใช้จ่ายทั้งหมด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ อีกด้วย นั้น จะต้องพิเคราะห์ตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ว่าถ้ามีการใช้จ่ายเงินทำศพตามประเพณีเป็นจำนวนเท่าใดแล้ว ผู้ทำละเมิดจะต้องรับผิดทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยบริษัทประกันภัยและการรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากผู้ทำละเมิด
เจ้าของรถยนต์ที่ถูกรถจำเลยชน ได้เอารถประกันภัยไว้กับบริษัทโจทก์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับประกันวินาศภัย บริษัทโจทก์ได้เอารถยนต์ที่ถูกรถจำเลยชนเสียหายไปให้อู่ซ่อมเสร็จ และมอบรถให้เจ้าของรับไปเรียบร้อยแล้ว บริษัทโจทก์ก็ต้องมีความผูกพันที่จะต้องใช้ราคาค่าซ่อมให้แก่อู่ผู้ทำการซ่อมตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ เช่นนี้ นับว่าบริษัท โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนเงินราคาค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ผู้ทำการซ่อม บริษัทโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าของรถที่ถูกชนซึ่งมีต่อจำเลย บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 วรรค 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8467/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล แม้ใช้สิทธิบัตรทอง ไม่กระทบความรับผิดของผู้ทำละเมิด
ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจำนวน 758,467 บาท เพราะเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ในการรักษาพยาบาล โดยไม่ได้จ่ายจริง หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่ได้ให้การไว้ ก็ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้ ในปัญหานี้ศาลฎีกาเห็นว่า แม้โจทก์จะไม่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามใบแจ้งค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล อันเนื่องจากการใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งบุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อันเป็นสิทธิของโจทก์ตามที่กฎหมายกำหนดให้ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลมประกันภัยรถยนต์: การพิจารณาความรับผิดของผู้ทำละเมิดและผู้รับประกันภัย
คำบรรยายฟ้องใดจะชัดเจนหรือไม่ เพียงใด จำต้องพิจารณาเหตุแห่งข้ออ้างทั้งหลายประกอบเอกสารที่แนบไว้ท้ายคำฟ้องว่าเพียงพอให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาหรือไม่ ทั้งต้องไม่มีผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย
คำฟ้องของโจทก์แม้เป็นกรณีที่ขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยรับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่หมายเลขทะเบียน จ - 9529 กรุงเทพมหานคร ไว้ในขณะเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ค. ขับรถยนต์แท็กซี่คันดังกล่าวโดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ ค. ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นฝ่ายประมาท ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีท้ายคำฟ้อง โดยเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ค. ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รถยนต์ของ ส. โดยมอบให้จำเลยเป็นผู้ใช้แทนทั้งหมด เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวแล้ว เพียงพอให้เข้าใจว่าสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่ไว้จาก ค. ผู้เอาประกันภัย ส่วนปัญหาว่า ค. เป็นผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณา นอกจากนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยจึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากฟ้องโจทก์อีก ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใด จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและเป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ส่วนในเรื่องนิติสัมพันธ์นั้น เมื่อฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจได้ว่าขอให้จำเลยรับผิดในการทำละเมิดของ ค. ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ทำละเมิดอีก ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดและการประกันภัย: สัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้รับประกันภัยไม่กระทบความรับผิดของผู้ทำละเมิด
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายทำละเมิดโดยขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 เฉี่ยวชนกับรถยนต์ของโจทก์โดยประมาท จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จนเต็มจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีการเอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับไว้หรือไม่ การที่จำเลยที่ 2 เอาประกันภัยรถยนต์เกิดเหตุไว้กับบริษัท ส. ในลักษณะประกันภัยค้ำจุนก็เพื่อให้บริษัท ส. ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแทนจำเลยที่ 2 ภายในวงเงินประกันภัย ซึ่งโจทก์ผู้ได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง การที่โจทก์เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการกรมการประกันภัย ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยและที่โจทก์ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวนดังกล่าวก็เนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับวงเงินที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัย ไม่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด แม้ในบันทึกข้อความเรื่องจ่ายค่าสินไหมทดแทน มีข้อความเพิ่มเติมว่า "เมื่อผู้เสนอข้อพิพาทได้รับค่าสินไหมทดแทนแล้วจะไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ จากบริษัทหรือผู้อื่นใดอีกต่อไป" คำว่า "ผู้อื่น" ในที่นี้ก็ไม่ชัดแจ้งว่าหมายถึงจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจตีความว่าหมายถึงจำเลยทั้งสองซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตกลงประนีประนอมยอมความได้ ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัยดังกล่าวจึงไม่มีผลทำให้มูลละเมิดตามฟ้องระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ประกันภัยค้ำจุน ต้องระบุความสัมพันธ์ผู้เอาประกันภัย-ผู้ทำละเมิด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นความวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้ และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิด จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้คือใครและจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันนั้นในฐานะอะไร หรือมีความสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ หากทำกับผู้ไม่มีอำนาจ และผู้ทำละเมิดต้องรับผิดมากกว่าผู้มีส่วนประมาท
การชำระหนี้แก่ผู้ครองทรัพย์ในขณะเกิดเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 441 จะถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้โดยชอบก็ต่อเมื่อผู้ชำระหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นไม่รู้ว่าผู้ที่รับชำระหนี้นั้นไม่ใช่เจ้าของทรัพย์และความไม่รู้นั้นมิใช่เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน เมื่อฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และ ส. พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของจำเลยที่ 2 รู้หรือควรรู้ได้แล้วว่า น. ผู้ขับขี่ควบคุมรถของโจทก์อันถือว่าเป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะเกิดเหตุ ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์กระบะนั้น ซึ่งแม้จะอ้างว่าไม่รู้ แต่การไม่รู้นั้นก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของคนทั้งสองเอง การชำระหนี้รวมตลอดถึงการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ น. จึงถือว่าเป็นการชำระหนี้หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบุคคลที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้หรือไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยทั้งกรณีก็ฟังไม่ได้ว่า น. เป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ดังนี้ สัญญายอมรับในความประมาทของผู้ขับรถทั้งสองฝ่ายจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะมีผลผูกพันโจทก์ได้
แม้ น. จะขับรถไปถึงทางสี่แยกก่อน แต่ก่อนที่จะขับรถผ่านทางแยกนั้นไปก็ควรจะดูให้เห็นถึงความปลอดภัยก่อน การที่รถยนต์กระบะที่ น. ขับไปถูกรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 1 ขับชนทางด้านท้ายขณะกำลังจะผ่านสี่แยกไป เหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ถูกชนก็เพราะ น. ได้ขับรถผ่านสี่แยกไปโดยไม่ดูให้เห็นถึงความปลอดภัยอย่างชัดเจนก่อน จึงมีส่วนประมาทด้วย
of 3