คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้มีอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของสหกรณ์: คณะกรรมการดำเนินการต้องมอบหมายให้ผู้มีอำนาจดำเนินการแทน
โจทก์มีคณะกรรมการดำเนินการ 15 คน โดยมี ช. เป็นประธานกรรมการ ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการในเรื่องอำนาจฟ้องคดีเป็นอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการโดยเฉพาะ เว้นแต่จะได้มอบหมายให้กรรมการหรือผู้จัดการทำแทนตาม มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 แต่ในการฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการได้มอบหมายให้ ช. ประธานกรรมการและ ก. ผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ช. เป็นกรรมการผู้หนึ่งของโจทก์ แต่ลำพังเพียง ช. คนเดียวมิใช่เสียงข้างมากของคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 เดิมจึงไม่อาจดำเนินกิจการของโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ช. และก.ลงลายมือชื่อและประทับตราของโจทก์ในใบแต่งทนายความ จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท การแจ้งไปยังผู้ไม่มีอำนาจทำให้หนี้ภาษีไม่แน่นอน และไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2517-2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบและแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชีซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการโดยผู้มีอำนาจชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยเป็นรองปลัดกระทรวงได้รับมอบอำนาจจากปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาในกองแบบแผนที่โจทก์สังกัดอยู่เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ดังนั้นการที่จำเลยสั่งลงโทษโจทก์ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขึ้นอยู่กับการพิสูจน์สถานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดี
จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การแล้วว่า ว.ไม่ใช่อธิบดีโจทก์ในขณะฟ้องคดี และมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งศาลได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ มิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดของนิติบุคคล: การรู้เห็นของเจ้าหน้าที่ระดับล่าง vs. ผู้มีอำนาจทำการแทน
โจทก์เป็นนิติบุคคล มีอธิบดีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่ เพียงผู้เดียว การที่เจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทนจะถือ ว่าโจทก์ทราบด้วย ไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ ผู้มีอำนาจแทนโจทก์ ดังนั้น เมื่ออธิบดีรู้ถึง การละเมิดและรู้ตัว ผู้จะพึงต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2527 ดังนี้ ฟ้องโจทก์ ไม่ ขาดอายุความ1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 448.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี: การรู้ถึงการละเมิดของนิติบุคคล ต้องพิจารณาที่ผู้มีอำนาจทำการแทน
โจทก์เป็นนิติบุคคล ระหว่างเกิดเหตุมี ม.เป็นอธิบดี ม.จึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การที่เจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือว่าโจทก์ทราบไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เมื่อ ม. อธิบดีกรมทางหลวงรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2527ฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีละเมิดของนิติบุคคล: การทราบการละเมิดต้องผ่านผู้มีอำนาจทำการแทน
โจทก์เป็นนิติบุคคล ระหว่างเกิดเหตุมี ม. เป็นอธิบดี ม.จึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การที่เจ้าหน้าที่ระดับล่างของโจทก์รู้ถึง การละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือ ว่าโจทก์ทราบไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เมื่ออธิบดีกรมทางหลวงรู้ถึง การละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 กันยายน2527 ฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยหลายกรรม และการรับสารภาพของนิติบุคคลผ่านผู้มีอำนาจ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับเมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตาม ป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น.
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็คอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯจำเลยที่ 1 โดย ธ.และร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้ว นับตั้งแต่วันที่ตั้งทนายความ เมื่อจำเลย ที่ 3 ในนามของจำเลยที่ 1และในฐานะส่วนตัวให้การ รับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจ ณ ขณะเกิดเหตุ แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง แต่ผู้ดำรงตำแหน่งเปลี่ยนไปแล้ว ถือไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้าในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว การฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งออกโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลต่อไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: ผู้มีอำนาจชี้ขาดไม่ชี้ขาดภายในเวลาอันสมควร มิได้ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขึ้นมา
กรณีที่ผู้มีอำนาจชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 31 ไม่ให้คำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ภายในเวลาอันสมควร ผู้รับประเมินมีความชอบธรรมที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกเงินค่าภาษีซึ่งผู้รับประเมินถือว่าไม่ควรต้องเสียคืนได้ โดยไม่จำต้องรอให้มีคำชี้ขาดก่อน
โจทก์นำคดีมาฟ้องภายหลังที่ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เพื่อขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่เป็นเวลาเพียง 3 เดือนเศษนับแต่วันยื่นคำร้อง ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ให้คำชี้ขาดภายในเวลาอันสมควรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
of 7