พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยมีอำนาจฟ้องเรียกร้องได้ แม้ไม่ใช่ผู้รับประโยชน์โดยตรง
แม้โจทก์ที่2จะมิใช่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่โจทก์ที่2เป็นผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรงและเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา374เมื่อมีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิกันขึ้นตามสัญญาประกันภัยโจทก์ที่2ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับโจทก์ที่2โดยมีโจทก์ที่1เป็นผู้รับประโยชน์จริงเช่นนี้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยจึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเมื่อรถยนต์ที่โจทก์ที่2เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยสูญหายไปเพราะถูก ท. ยักยอกเอาไปจำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามสัญญาประกันภัยนั้นโจทก์ที่2จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ที่1ผู้รับประโยชน์ได้แม้โจทก์ที่2จะไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่1ก็ตาม จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ที่2ผู้เอาประกันภัยมิได้ฟ้องร้องหรือติดตามเอาคืนจาก ท. กลับมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นการกระทำไม่สุจริตเท่านั้นคำให้การของจำเลยดังกล่าวยังไม่ชัดเจนถึงขนาดว่าวินาศภัยซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตของโจทก์ที่1ผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา879วรรคแรกและศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านปัญหาเรื่องความไม่สุจริตของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี ความเสียหายหรือความสูญหายตามคำฟ้องโจทก์เกิดจากการยักยอกทรัพย์ของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ยืมรถยนต์นั้นจากโจทก์ที่2ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ที่1 ท. มิใช่เป็นผู้เช่าซื้อผู้เช่าผู้รับจำนำหรือผู้ซื้อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ทั้งมิใช่ผู้ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่าเช่าซื้อซื้อขายหรือสัญญาจำนำการที่รถยนต์ซึ่งจำเลยรับประกันไว้ถูก ท. ยักยอกเอาไปจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยหากจะตีความเจตนาของคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าโจทก์ที่2เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยตามความประสงค์ของโจทก์ที่1ก็เพื่อคุ้มครองรถยนต์ที่โจทก์ที่2เช่าซื้อมาจากโจทก์ที่1ซึ่งหากเกิดความเสียหายใดแก่รถยนต์ที่โจทก์ที่2เช่าซื้อมาโจทก์ทั้งสองย่อมประสงค์จะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินและสิทธิในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม เมื่อไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างลูกหนี้กับผู้รับประโยชน์
ต.ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท และทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่ต่อมา ต.ให้จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่า ต.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ก็ตาม แต่จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ใช่ลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 2 ฉะนั้นการที่จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 วรรคแรกได้
ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่ 1 ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ได้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ได้
ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่ 1 ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ได้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัย: ผู้รับประโยชน์มีอำนาจฟ้องแม้ผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสีย
ปัญหาที่ว่าขณะเอาประกันภัย ส.ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์จึงเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญานั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่ง ส.ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัยนั้น ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ อันเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374 เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยคว่ำได้รับความเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหาย แต่จำเลยไม่ยอมชำระจนโจทก์ต้องฟ้องร้องเป็นคดีนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์ดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย: อำนาจฟ้องเมื่อเกิดความเสียหาย
กรมธรรม์ประกันภัยซึ่ง ส. ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัย ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ อันเป็นสัญญาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยคว่ำได้รับความเสียหายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแต่จำเลยไม่ยอมชำระ ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับประโยชน์ในสัญญาประกันภัย: อำนาจฟ้องเมื่อเกิดความเสียหาย
กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งส.ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัยระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์อันเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา374เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยคว่ำได้รับความเสียหายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายแต่จำเลยไม่ยอมชำระถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยและการใช้สิทธิโดยชอบธรรมของผู้ให้เช่าซื้อ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2ถึงที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกัน ซึ่งสัญญาเช่าซื้อระบุว่าจำเลยที่ 1ต้องประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และเสียเบี้ยประกันภัยโดยโจทก์เป็นผู้รับผลประโยชน์ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้กับบริษัท ร. ก็เป็นการตกลงเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก คือโจทก์ให้ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการสูญหายของรถยนต์ที่เช่าซื้อได้จากบริษัท ร.อีกทางหนึ่งด้วย อันมีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 ซึ่งสิทธิของโจทก์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อแสดงเจตนาต่อบริษัทร.ว่าจะถือประโยชน์จากสัญญานั้นแล้วแต่บริษัทร. ก็อาจจะยกข้อต่อสู้อันเกิดแก่สัญญาประกันภัยที่มีอยู่ต่อจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคู่สัญญาขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้รับประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 การที่โจทก์จะเรียกร้องให้บริษัท ร. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการสูญหายของรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ จึงมีขั้นตอนเสี่ยงต่อการที่จะไม่ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนยิ่งกว่าที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ต้องรับผิดต่อการสูญหายของรถยนต์เช่าซื้อโดยตรง การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต่อบริษัท ร. แต่ได้เรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 โดยตรงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตชอบที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลชั้นต้นหลังรับฎีกา, การเข้าร่วมดำเนินคดีของผู้รับประโยชน์, และดุลพินิจการทำแผนที่พิพาท
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องแล้ว คดีย่อมอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ ส. เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้านได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นแต่เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ส.เป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้านและผู้คัดค้านถึงแก่กรรมจริง ทั้ง ส. ก็ยินยอมเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้าน ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้านผู้มรณะ การจะจัดทำแผนที่พิพาทประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีใดหรือไม่นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ทำตามที่คู่ความร้องขอ ดังนั้นศาลจะสั่งให้ทำหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งเป็นเรื่อง ๆ ไปหากศาลเห็นว่าคดีเรื่องใดการจัดทำแผนที่พิพาทจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษา ศาลก็จะสั่งให้ทำ ในทางกลับกันหากเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ก็จะไม่สั่งให้ทำทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ทำแผนที่พิพาทในคดีนี้เนื่องจากเห็นว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเต็มทั้งแปลงจึงชอบแล้ว และคดีนี้ศาลฎีกาก็สามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยอาศัยพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วในสำนวน การสั่งให้จัดทำแผนที่พิพาทจึงไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อในการเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัย แม้ระบุผู้รับประโยชน์อื่น และความยินยอมการซ่อม
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อและดูแลรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เมื่อรถยนต์เสียหายโจทก์ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบ โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต่อจำเลยที่ 2 แม้จะตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับได้ หากไม่ใช่พินัยกรรมและศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
เดิม ฝ. ฟ้อง ป. ขอถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณต่อมาได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว โดย ป.ยอมคืนที่พิพาทให้ ฝ.และฝ. ยอมให้ ป. ทำกินในที่พิพาทโดย ป. ยอมให้ข้าวเปลือกแก่ ฝ.ปีละ120กิโลกรัมห้ามฝ.จำหน่ายจ่ายโอนที่พิพาท เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. ตามเดิม สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแต่เป็นสัญญาที่ ฝ. กับ ป. ทำขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วสัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ และการที่ตกลงกันว่า เมื่อ ฝ.ถึงแก่กรรม ให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมที่พิพาทจึงตกเป็นของ ป. ตามคำพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นมรดกของ ฝ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การปฏิเสธการเป็นผู้จัดการมรดก และสิทธิของผู้รับผลประโยชน์
ข้อกำหนดพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านเป็นส่วนใหญ่และตั้งพันโทหญิงม. และนางม. บุตรผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านให้ทนายความแจ้งไปยังพันโทหญิงม.และนางม.ว่าจะรับเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ คนทั้งสองได้รับหนังสือแล้วไม่ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายใน 1 เดือน นับแต่วันรับแจ้งความ ถือได้ว่าคนทั้งสองปฏิเสธที่จะรับเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1717 ไม่สมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการ....มรดกของผู้ตาย