พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจที่เป็นบุตรของจำเลย ไม่เป็นเหตุต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562
แม้ช. จะเป็นบุตรของจำเลยที่1แต่ช. มิได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะส่วนตัวช. เพียงแต่ดำเนินคดีในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ช. ย่อมมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาการขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังศาลยกฟ้อง การจดวันนัดผิดของผู้รับมอบอำนาจไม่เป็นเหตุยกเว้น
คำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166ประกอบมาตรา181นั้นโจทก์จะต้องร้องขอภายใน15วันนับแต่วันศาลยกฟ้องมิใช่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเมื่อวันที่30สิงหาคม2537โจทก์มายื่นคำร้องขอเมื่อวันที่12ตุลาคม2537จึงเป็นการเกินกำหนดเวลาแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์อ้างในคำร้องว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จดวันนัดผิดและแจ้งให้ทนายโจทก์ทราบก็ไม่ใช่เหตุที่โจทก์จะไม่ต้องยื่นคำร้องภายใน15วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7510/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ การลงลายมือชื่อในฐานะผู้มอบ/รับมอบอำนาจไม่ขัดกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความพิมพ์ไว้ชัด จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบพิสูจน์หักล้างว่าหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้เพิ่งทำภายหลังที่มีการทำสัญญาซื้อขายแล้วลงวันที่ย้อนหลังไป แม้โจทก์ไม่ได้นำเอกสารดังกล่าวไปแสดงต่อจำเลยในวันที่ทำสัญญาซื้อขายก็ไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์หรือมีกฎหมายกำหนดว่าให้โจทก์ต้องแสดงต่อจำเลยในวันทำสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ บ.ดำเนินการแทนโจทก์ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจนั้น การที่ บ.ลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายในสัญญาซื้อขายซึ่งมีตราของโจทก์ประทับก็เท่ากับ บ.เป็นตัวแทนของโจทก์ ส่วนที่ บ.ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้มอบอำนาจกับในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจโดยมี ท.กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจก็หาใช่ว่ากรรมการของโจทก์ไม่ครบ 2 คนตามที่จดทะเบียนไว้ไม่ ส่วนการที่โจทก์มีกรรมการถึง 6 คน แล้วให้ บ.ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในฐานะเป็นผู้มอบอำนาจกับเป็นผู้รับมอบอำนาจรวม 2 ตำแหน่ง ก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่ประการใด และพฤติการณ์ดังนี้ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายละเมิด, การทิ้งฟ้อง, และอำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยกล่าวในฟ้องแย้งว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีเป็นการกลั่นแกล้งจำเลยอันเป็นละเมิดทำให้จำเลยเสียหายในทางการค้าและชื่อเสียงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ5,000บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปนั้นเป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดโดยตรงมิใช่เพียงต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ น. ไม่ได้อาศัยสิทธิโจทก์เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยคำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์โดยกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติจึงชอบแล้วเมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการทิ้งฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยไม่คำนวณตั้งทุนทรัพย์และชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องแย้งนั้นจึงชอบแล้วไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใดศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่และไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลอีก หนังสือมอบอำนาจมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปผู้มอบอำนาจอาจมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการหลายสิ่งหลายอย่างแทนตนได้และในหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่าให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งคดีล้มละลายเพื่อป้องกันและรักษาทรัพย์สินผลประโยชน์หรือสิทธิต่างๆของธนาคารโจทก์ได้เมื่อการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเป็นการฟ้องคดีแพ่งจึงถือได้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ เดิมศาลพิพากษาขับไล่ ว. และ ศ. คดีถึงที่สุดชั้นบังคับคดีจำเลยได้ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวว่าไม่ใช่บริวารของ ว. และ ศ. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นบริวารให้ขับไล่จำเลยคดียังไม่ถึงที่สุดในคดีดังกล่าวจำเลยมิได้เป็นคู่ความดังนั้นคู่ความในคดีนี้กับคดีดังกล่าวจึงไม่ใช่คู่ความรายเดียวกันอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148และ144ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว จำเลยให้การเพียงว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้บุคคลภายนอกแล้วก็ไม่ลบล้างสิทธิต่างๆของโจทก์ที่มีอยู่เดิมที่ได้ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายไว้ก่อนแล้วโจทก์อาจเสียสิทธิไปเฉพาะเรื่องค่าเสียหายหลังจากการขายที่ดินและตึกแถวพิพาทไปแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่กรุงเทพมหานครแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยแต่จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่างๆแทนจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่2และจำเลยที่2เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาดหากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่2โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยจึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ: การแก้ไขข้อบกพร่องของผู้รับมอบอำนาจ ไม่ถือเป็นการรื้อฟ้องประเด็นเดิม
การจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ว่า ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นใด โดยอาศัยเหตุอย่างใดแล้ว คู่ความจะรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นนั้น โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันนั้นอีกไม่ได้
ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจกท์เนื่องจากจำนวนบุคคลที่มาดำเนินคดีแทนโจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์มอบอำนาจขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 804ซึ่งถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย ส่วนในคดีหลังโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับผู้รับมอบอำนาจแล้วและดำเนินการฟ้องใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยดังนี้การฟ้องคดีหลังจึงไม่มีลักษณะเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจกท์เนื่องจากจำนวนบุคคลที่มาดำเนินคดีแทนโจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์มอบอำนาจขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 804ซึ่งถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย ส่วนในคดีหลังโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับผู้รับมอบอำนาจแล้วและดำเนินการฟ้องใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยดังนี้การฟ้องคดีหลังจึงไม่มีลักษณะเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้รับมอบอำนาจได้รับประกาศแทนเจ้าหนี้
ตามหนังสือมอบอำนาจนอกจากผู้ร้องมอบอำนาจให้ ม. เข้าสู้ราคาเกี่ยวกับการขายทอดตลาดและดำเนินการอื่น ๆ จนเสร็จการแล้ว ยังมีข้อความระบุว่าให้ ม. มีอำนาจรับเอกสารแทนผู้ร้องด้วย ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้ ม. ณ ภูมิลำเนาของ ม. โดยมีผู้รับไว้แทน จึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งวันขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนซื้อของ เมื่อโจทก์มีสิทธิฟ้องเฉพาะเจาะจงกับผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น
จำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อไม้มา จากโจทก์และจำเลยที่ 4 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามที่ได้ รับ มอบหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 4 รับผิด ตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดี - ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง
ตามหนังสือมอบอำนาจไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ร้องมอบอำนาจให้ ช.ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อขอรถยนต์ของกลางคืน ช.จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้ยืมที่ไม่ติดอากรแสตมป์ & อำนาจแต่งตั้งทนายความของผู้รับมอบอำนาจ
ปัญหาว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้ยืมมิได้ปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าตามประมวลรัษฎากร ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ ใบยืมของชั่วคราวมีข้อความเพียงว่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม2528 จำเลยยืมเงินไป 40,000 บาท และมีลายมือชื่อจำเลยในช่องผู้รับของ เป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ มิใช่สัญญากู้ยืม จึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์มอบอำนาจให้ ด.เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องคดีด.จึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความว่าความแทนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง