พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ามีผลผูกพันตามระยะเวลาที่ตกลง แม้มีข้อตกลงบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า ผู้รับโอนสิทธิย่อมผูกพันตามสัญญาเดิม
ผู้ให้เช่าเดิมทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวห้องพิพาทและจดทะเบียนการเช่าไว้มีกำหนดเวลา 10 ปี โดยจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างห้องพิพาทให้เป็นเงิน 27,000 บาท เป็นสัญญาซึ่งแสดงเจตนาแท้จริงของคู่กรณีว่าให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันบังคับต่อกันตามกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทนี้จึงต้องรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย
เมื่อคู่สัญญามีเจตนาแท้จริงให้สัญญามีผลผูกพันต่อกันตามกำหนดเวลาดังกล่าวนี้ แม้ในสัญญาเช่าข้อ 10 จะมีข้อตกลงว่า "ในระหว่างสัญญาเช่า เมื่อผู้ให้เช่าจะต้องการบ้านหรือผู้เช่าจะต้องการคืนบ้าน จะต้องบอกให้รู้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนโดยมีกำหนด 60 วัน" ก็ต้องตีความตามเจตนาแท้จริงของคู่กรณีซึ่งมุ่งให้สัญญามีผลผูกพันต่อกันมีกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จะอาศัยสัญญาข้อนี้เพื่อบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ได้
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายที่และตึกแถวพิพาทให้โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาข้อ 13 ซึ่งมีข้อตกลงว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญานี้ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายแก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าราคาสมควร" แต่จำเลยไม่ยอมซื้อนั้น สัญญาข้อนี้ก็มิใช่ข้อตกลงให้ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญา โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญา โดยอาศัยสัญญาข้อนี้ไม่ได้ด้วยเช่นกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2514 เฉพาะวรรคแรกและวรรคสอง)
เมื่อคู่สัญญามีเจตนาแท้จริงให้สัญญามีผลผูกพันต่อกันตามกำหนดเวลาดังกล่าวนี้ แม้ในสัญญาเช่าข้อ 10 จะมีข้อตกลงว่า "ในระหว่างสัญญาเช่า เมื่อผู้ให้เช่าจะต้องการบ้านหรือผู้เช่าจะต้องการคืนบ้าน จะต้องบอกให้รู้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนโดยมีกำหนด 60 วัน" ก็ต้องตีความตามเจตนาแท้จริงของคู่กรณีซึ่งมุ่งให้สัญญามีผลผูกพันต่อกันมีกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จะอาศัยสัญญาข้อนี้เพื่อบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ได้
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายที่และตึกแถวพิพาทให้โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาข้อ 13 ซึ่งมีข้อตกลงว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญานี้ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายแก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าราคาสมควร" แต่จำเลยไม่ยอมซื้อนั้น สัญญาข้อนี้ก็มิใช่ข้อตกลงให้ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญา โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญา โดยอาศัยสัญญาข้อนี้ไม่ได้ด้วยเช่นกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2514 เฉพาะวรรคแรกและวรรคสอง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ละเมิดจากสิ่งปลูกสร้างกีดขวางการใช้ประโยชน์ที่ดินและสาธารณสมบัติ ผู้รับโอนสิทธิไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3308 อยู่ริมแม่น้ำ โดยซื้อจาก บ. ซึ่ง บ. รับซื้อจาก อ. อีกต่อหนึ่งที่ดินแปลงนี้อยู่ติดกับบ้านของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ชายตลิ่งแม่น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตัวเรือนของจำเลยบังหน้าที่ดินของโจทก์ ขัดต่อความสะดวกในการที่โจทก์จะใช้สอยหรือรับประโยชน์จากแม่น้ำลำคลองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังนี้ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายพิเศษ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่เสียหาย เพราะที่ดินโจทก์ใช้เป็นทางเดินจำเป็นแล้ว ย่อมไม่ได้ (อ้างฎีกาที่1095/2500)
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 89 หาได้ตัดอำนาจโจทก์ที่จะฟ้องร้องจำเลยทางแพ่งเพื่อบังคับตามสิทธิของโจทก์อันมีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
คดีแดงที่ 3425/2504 นั้น ศาลวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยปลูกเรือนอยู่ได้เพราะบิดาของ อ. โจทก์ในคดีนั้นให้จำเลยเช่า และโจทก์ได้รับรองการเช่าแล้ว โจทก์ในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลย เพราะจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าฯ อันเป็นประเด็นโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องเช่าทรัพย์ ไม่ใช่เรื่องละเมิด ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าได้รับซื้อที่ดินโฉนดที่ 3308 จาก บ. โดย บ. ซื้อจาก อ. เป็นโฉนดแบ่งแยกจากโฉนดเลขที่ 2389 คือ ที่ดินที่พิพาทในคดีแดงที่3425/2504 แต่โจทก์คดีนี้มิได้เป็นคู่ความกับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3425/2504 จะถือว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจากโจทก์ในคดีก่อนก็ไม่ได้ เพราะสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับโจทก์ในคดีก่อนเป็นสัญญาเช่าที่ในแม่น้ำนอกที่ดินที่โจทก์ในคดีนี้ซื้อมา จึงไม่ได้โอนมายังโจทก์พร้อมกับที่ดินที่โจทก์ซื้อ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องเช่าทรัพย์ดังในคดีก่อน ประเด็นในคดีนี้คือ โจทก์ให้จำเลยออกไปจากหน้าที่ดิน จำเลยไม่ยอมออก อันเป็นเรื่องละเมิด ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแดงที่ 3425/2504
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 89 หาได้ตัดอำนาจโจทก์ที่จะฟ้องร้องจำเลยทางแพ่งเพื่อบังคับตามสิทธิของโจทก์อันมีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
คดีแดงที่ 3425/2504 นั้น ศาลวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยปลูกเรือนอยู่ได้เพราะบิดาของ อ. โจทก์ในคดีนั้นให้จำเลยเช่า และโจทก์ได้รับรองการเช่าแล้ว โจทก์ในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลย เพราะจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าฯ อันเป็นประเด็นโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องเช่าทรัพย์ ไม่ใช่เรื่องละเมิด ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าได้รับซื้อที่ดินโฉนดที่ 3308 จาก บ. โดย บ. ซื้อจาก อ. เป็นโฉนดแบ่งแยกจากโฉนดเลขที่ 2389 คือ ที่ดินที่พิพาทในคดีแดงที่3425/2504 แต่โจทก์คดีนี้มิได้เป็นคู่ความกับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3425/2504 จะถือว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจากโจทก์ในคดีก่อนก็ไม่ได้ เพราะสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับโจทก์ในคดีก่อนเป็นสัญญาเช่าที่ในแม่น้ำนอกที่ดินที่โจทก์ในคดีนี้ซื้อมา จึงไม่ได้โอนมายังโจทก์พร้อมกับที่ดินที่โจทก์ซื้อ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องเช่าทรัพย์ดังในคดีก่อน ประเด็นในคดีนี้คือ โจทก์ให้จำเลยออกไปจากหน้าที่ดิน จำเลยไม่ยอมออก อันเป็นเรื่องละเมิด ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแดงที่ 3425/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องขับไล่ของผู้รับโอนสิทธิหน้าที่จากสัญญาเช่าเดิม แม้ยังไม่ทำสัญญาเช่าใหม่
แม้สัญญาเช่าที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับกระทรวงศึกษาธิการจะระงับโดยเหตุที่มารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ซึ่งตกทอดมาจากมารดาโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่พิพาทและต่อมาโจทก์ก็ได้ทำสัญญาเช่าที่พิพาทกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไปอีกเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งขออาศัยมารดาโจทก์ปลูกบ้านในที่ดินบางส่วนของที่พิพาทได้ กระทรวงศึกษาธิการไม่จำต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์อีก (ประชุมใหญ่ ครั้งที่17/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่ของผู้รับโอนสิทธิในสัญญาเช่าที่ดินเมื่อผู้เช่าเดิมเสียชีวิต โดยผู้เช่าเดิมอนุญาตให้จำเลยปลูกบ้าน
แม้สัญญาเช่าที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับกระทรวงศึกษาธิการจะระงับโดยเหตุที่มารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ซึ่งตกทอดมาจากมารดาโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่พิพาทและต่อมาโจทก์ก็ได้ทำสัญญาเช่าที่พิพาทกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไปอีกเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งขออาศัยมารดาโจทก์ปลูกบ้านในที่ดินบางส่วนของที่พิพาทได้ กระทรวงศึกษาธิการไม่จำต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์อีก (ประชุมใหญ่ ครั้งที่17/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหน้าที่ของผู้รับโอนสิทธิในสัญญาเช่า และอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
แม้สัญญาเช่าที่ดินระหว่างมารดาโจทก์กับกระทรวงศึกษาธิการจะระงับโดยเหตุที่มารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก็ตาม. แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ซึ่งตกทอดมาจากมารดาโจทก์. ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองที่พิพาทและต่อมาโจทก์ก็ได้ทำสัญญาเช่าที่พิพาทกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไปอีกเช่นนี้. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งขออาศัยมารดาโจทก์ปลูกบ้านในที่ดินบางส่วนของที่พิพาทได้. กระทรวงศึกษาธิการไม่จำต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์อีก.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่17/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทางกฎหมายและการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า ผู้รับโอนสิทธิมีอำนาจฟ้องร้องได้
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61, 63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้องก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2508)
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนขายฝาก & ลำดับสิทธิระหว่างผู้ซื้อฝาก ผู้รับโอนสิทธิ & ผู้ทำสัญญาจะซื้อขาย
ทำสัญญาขายฝากที่ดินกันโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาได้ตกลงกันขายที่ดินแปลงนั้นแก่ผู้รับซื้อฝาก โดยทำสัญญากันเองดังนี้สัญญาขายขาดฉะบับหลังนี้ไม่เกิดผลเป็นสัญญาซื้อขายที่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากรายนี้ ได้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนตามสัญญาขายฝากอยู่ และผู้ที่รับโอนสิทธิจากผู้ขายฝาก ก็ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากรายนี้ได้เช่นเดียวกัน
คู่ความอ้างเอกสารในสำนวนของศาลเป็นพยาน ไม่ต้องเรียกเอกสารมาจากที่อื่น เมื่อปรากฎว่าผู้อ้างยังไม่ได้เสียค่าอ้าง ศาลก็ชอบที่จะเรียกให้ผู้อ้างชำระค่าธรรมเนียมการอ้างเอกสารนั้นเสียก่อนที่จะพิพากษาคดี ต่อผู้อ้างขัดขืนไม่ชำระตามคำสั่ง ศาลจึงควรไม่รับฟังเป็นพยาน
ในคดีที่มีผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 สู้คดีกับโจทก์จำเลยนั้น แม้ในศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้ผู้ร้องสอดโจทก์แพ้คดีจำเลย โจทก์ไม่อุทธรณ์คงอุทธรณ์เฉพาะผู้ร้องสอดเท่านั้น ก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับเฉพาะที่เกี่ยวถึงสิทธิของผู้ร้องสอดด้วย ยังหายุติไม่
คู่ความอ้างเอกสารในสำนวนของศาลเป็นพยาน ไม่ต้องเรียกเอกสารมาจากที่อื่น เมื่อปรากฎว่าผู้อ้างยังไม่ได้เสียค่าอ้าง ศาลก็ชอบที่จะเรียกให้ผู้อ้างชำระค่าธรรมเนียมการอ้างเอกสารนั้นเสียก่อนที่จะพิพากษาคดี ต่อผู้อ้างขัดขืนไม่ชำระตามคำสั่ง ศาลจึงควรไม่รับฟังเป็นพยาน
ในคดีที่มีผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 สู้คดีกับโจทก์จำเลยนั้น แม้ในศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้ผู้ร้องสอดโจทก์แพ้คดีจำเลย โจทก์ไม่อุทธรณ์คงอุทธรณ์เฉพาะผู้ร้องสอดเท่านั้น ก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับเฉพาะที่เกี่ยวถึงสิทธิของผู้ร้องสอดด้วย ยังหายุติไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับโอนสิทธิเช่ามีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ - ผู้ให้เช่าเดิมรวมถึงผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
ผู้ให้เช่าเดิมนั้นหมายความถึงผู้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากเจ้าของผู้ให้เช่าเดิมด้วย (อ้างฎีกาที่ 845/2490)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าจากการผิดนัดชำระค่าเช่า
ผู้รับโอนสิทธิการเช่าผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ชำระเงินผู้โอนมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการรับผิดชำระหนี้ของผู้รับโอนสิทธิ
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 ในค่าก่อสร้างอาคารให้แก่โจทก์ ซึ่งขณะทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารให้แก่จำเลยที่ 2 และยังไม่ทราบจำนวนค่าวัสดุก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 ซื้อจากโจทก์ จึงทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องไว้จำนวน 10,250,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากจำเลยที่ 2 ทั้งหมดตามสัญญาจ้างเผื่อไว้ โดยสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ข้อ 2 ระบุว่าหากเงินที่ได้รับโอนตามสิทธิเรียกร้องเกินกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ ให้โจทก์คืนส่วนที่เกินแก่จำเลยที่ 1 ในวันที่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงโอนสิทธิเรียกร้องตามจำนวนค่าวัสดุก่อสร้างที่ซื้อไปจากโจทก์เท่านั้น แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ข้อ 3 จะมีข้อตกลงว่า หากเกิดความเสียหายใดๆ แก่ผู้รับโอนอันเนื่องมาจากการรับโอนสิทธิในการรับเงินรายนี้ ผู้โอนยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับโอนทั้งสิ้นก็ตาม ก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยินยอมผูกพันยอมชำระหนี้แก่โจทก์แม้จะได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงผิดแผกแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมายและไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีหรือเป็นข้อตกลงที่ต้องห้ามตามกฎหมายจึงย่อมมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องก็สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยจำเลยที่ 2 ไม่อาจโต้แย้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์