คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ว่าราชการจังหวัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ว่าฯ ไม่สามารถฟ้องแทนหน่วยงานส่วนกลางที่เป็นผู้เสียหายได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้นหาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลาง คือ กรมอนามัย ผู้เสียหายไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ใช่ตัวแทนกรมอนามัยในการฟ้องคดีแทน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการ และกำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้น หาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลางที่เป็นผู้เสียหายไม่ เมื่อโจทก์มิได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความเสียหาย: ผู้ว่าราชการจังหวัดมิได้มีอำนาจฟ้องแทนหน่วยงานส่วนกลาง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน2515 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้นหาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลางคือกรมอนามัยผู้เสียหายไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดกรมอนามัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ใช่ตัวแทนหน่วยงานส่วนกลาง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนจังหวัดเท่านั้นหาได้ให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเป็นผู้ดำเนินการแทนหน่วยราชการในส่วนกลาง คือ กรมอนามัย ผู้เสียหายไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติคนต่างด้าว: ผู้ว่าฯ/ปลัดจังหวัด และการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
การอนุมัติให้คนต่างด้าวเข้ามาในเขตจังหวัดเป็นงานที่อยู่ในอำนาจเฉพาะตัว ของผู้ว่าราชการจังหวัด และการอนุมัติให้คนต่างด้าวออกนอกเขตจังหวัดเป็นอำนาจของ กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดในบางกรณีผู้ว่าราชการจังหวัดมิได้มอบหมายเป็นหนังสือให้จำเลยซึ่ง เป็นปลัดจังหวัดเป็นผู้ทำการแทน จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติให้คนต่างด้าวเข้ามาหรือออกนอกเขตจังหวัด การที่จำเลยสั่งการให้เจ้าหน้าที่จัดทำแบบหนังสืออนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาหรือออกนอกเขตจังหวัด ลงนามในตำแหน่ง ปลัดจังหวัดทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ประทับตราจังหวัด และแจกจ่ายหนังสืออนุญาตที่มีลายมือชื่อจำเลยนี้ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติราชการชายแดน ไทยพม่านำไปกรอกเติม ข้อความมอบให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะเดินทาง จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่จำเลยไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติคนต่างด้าว: ปลัดจังหวัดไม่มีอำนาจทำการแทนผู้ว่าฯ
การอนุมัติให้คนต่างด้าวเข้ามาในเขตจังหวัดเป็นงานที่อยู่ในอำนาจเฉพาะตัว ของผู้ว่าราชการจังหวัด และการอนุมัติให้คนต่างด้าวออกนอกเขตจังหวัดเป็นอำนาจของ กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดในบางกรณีผู้ว่าราชการจังหวัดมิได้มอบหมายเป็นหนังสือให้จำเลยซึ่ง เป็นปลัดจังหวัดเป็นผู้ทำการแทน จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติให้คนต่างด้าวเข้ามาหรือออกนอกเขตจังหวัด การที่จำเลยสั่งการให้เจ้าหน้าที่จัดทำแบบหนังสืออนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาหรือออกนอกเขตจังหวัด ลงนามในตำแหน่ง ปลัดจังหวัดทำการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ประทับตราจังหวัด และแจกจ่ายหนังสืออนุญาตที่มีลายมือชื่อจำเลยนี้ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติราชการชายแดน ไทยพม่านำไปกรอกเติม ข้อความมอบให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะเดินทาง จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่จำเลยไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของนายอำเภอในการส่งต่อเรื่องร้องเรียนไปยังผู้ว่าฯ ไม่ถือเป็นการละเว้นหน้าที่ตาม ม.157
โจทก์เป็นกำนัน ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้รับหนังสือร้องเรียนจากราษฎรกล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าราษฎรที่ร้องเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือร้องเรียนจริง เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้น โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวอย่างไร ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 157 อนึ่ง หน้าที่ในการดำเนินการตามหนังสือร้องเรียนนั้น ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาสั่งการต่อไป การที่จำเลยเสนอหนังสือร้องเรียนโดยมิได้สืบสวนเรื่องภูมิลำเนาของผู้ร้องเรียน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายอำเภอและการส่งเรื่องร้องเรียนต่อผู้ว่าฯ ไม่ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์เป็นกำนันปัญหาที่ว่าการที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้รับ หนังสือร้องเรียนจากราษฎรกล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ราษฎรที่ร้องเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือร้องเรียนจริงเป็นการละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้น โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวอย่างไร ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 157 อนึ่งหน้าที่ในการดำเนินการตามหนังสือร้องเรียนนั้นก็เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาสั่งการต่อไปการที่จำเลยเสนอ หนังสือร้องเรียนโดยมิได้สืบสวนเรื่องภูมิลำเนาของผู้ร้องเรียนจึงเป็น การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณที่สภาไม่รับหลักการ ผู้ว่าฯ มีอำนาจสั่งให้ร่างนั้นตกไปได้
เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ มาตรา 62 ทวิ ได้บัญญัติถึงกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมต้องปฏิบัติตามนั้น จะนำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ 49 ซึ่งใช้แก่ญัตติร่างเทศบัญญัติทั่ว ๆ ไปมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์ที่ 1 เป็นนายกเทศมนตรี โจทก์ที่ 2 เป็นเทศมนตรี ในการประชุมสภาเทศบาลสมัยที่ 1 ครั้งแรก สภาเทศบาลได้มีมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2526 แต่ประธานสภาเทศบาลมิได้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด กลับอนุญาตให้นำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อความเหมือนกับร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาลงมติไม่รับหลักการดังกล่าว (ยกเว้นข้อความในรายละเอียดบางประการที่ไม่เหมือนกัน) เข้าพิจารณาในการประชุมสมัยที่ 1 ครั้งที่ 2 เพื่อจะเอามติในการประชุมครั้งหลังนี้ไปลบล้างมติครั้งแรก อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ มาตรา 62 ทวิ ดังนั้นแม้สภาเทศบาลจะลงมติรับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 2 จำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายตาม มาตรา 71 ย่อมมีอำนาจเรียกรายงานการประชุมสภาเทศบาลและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการจากประธานสภาเทศบาลได้และเมื่อจำเลยได้พิจารณาร่างเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้น ร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไปตามที่ มาตรา 62 ทวิ บัญญัติไว้เทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่ง และจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวได้ ตาม มาตรา 45 การที่จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาเทศบาลไม่รับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณ ผู้ว่าฯ มีอำนาจพิจารณาและสั่งให้ร่างตกได้
เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาลฯมาตรา62ทวิได้บัญญัติถึงกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมต้องปฏิบัติตามนั้นจะนำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาลพ.ศ.2496ข้อ49ซึ่งใช้แก่ญัตติร่างเทศบัญญัติทั่วๆไปมาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ที่1เป็นนายกเทศมนตรีโจทก์ที่2เป็นเทศมนตรีในการประชุมสภาเทศบาลสมัยที่1ครั้งแรกสภาเทศบาลได้มีมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ.2526แต่ประธานสภาเทศบาลมิได้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกลับอนุญาตให้นำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมซึ่งมีข้อความเหมือนกับร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาลงมติไม่รับหลักการดังกล่าว(ยกเว้นข้อความในรายละเอียดบางประการที่ไม่เหมือนกัน)เข้าพิจารณาในการประชุมสมัยที่1ครั้งที่2เพื่อจะเอามติในการประชุมครั้งหลังนี้ไปลบล้างมติครั้งแรกอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาลฯมาตรา62ทวิดังนั้นแม้สภาเทศบาลจะลงมติรับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวในการประชุมครั้งที่2จำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา71ย่อมมีอำนาจเรียกรายงานการประชุมสภาเทศบาลและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการจากประธานสภาเทศบาลได้และเมื่อจำเลยได้พิจารณาร่างเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้นร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไปตามที่มาตรา62ทวิบัญญัติไว้เทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่งและจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวได้ตามมาตรา45การที่จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
of 7