พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมออกเช็ค – แม้เป็นผู้สลักหลังก็มีความผิดได้ตาม พ.ร.บ. เช็ค
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายในส่วนอาญาซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น คำว่า"ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 3 จึงมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรแม้จำเลยที่ 4 จะเป็นผู้สลักหลังเช็คมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเช็คของบริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้นั้น เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังอาวัลเช็คเพื่อชำระหนี้กู้ยืม เจตนาผู้สลักหลังสำคัญ แม้ไม่ใช่คู่สัญญากู้ยืมโดยตรง
ตามบันทึกการกู้ยืมเงินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้เงินโจทก์ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อเป็นประกันเงินกู้แต่เมื่อบันทึกดังกล่าวจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังอาวัลเช็คพิพาทมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจเอาข้อตกลงตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มาเป็นเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกกู้ยืมให้โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า โจทก์เติมวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอง มิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินกำหนด 1 เดือน: สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังเป็นอันสิ้นสุด
เช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินเกินกำหนด 1 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตามมาตรา 990 แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้ โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินกำหนด: สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังสิ้นสุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990
เช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คระบุวันออกเช็คลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2529 แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินวันที่ 11 กรกฎาคม 2529 จึงเกินกำหนด 1 เดือนนับแต่วันออกเช็คนั้น ตามที่มาตรา 990 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับไว้ โจทก์จึงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ออกเช็คและผู้สลักหลังเช็ค แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุจำนวนจำเลยไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ออกเช็คและจำเลยที่ 2 ที่ 3 สลักหลังเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่เป็นผู้สั่งจ่าย และสลักหลังเช็ค โดยให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงเป็นการกล่าวถึงสภาพแห่งข้อหาและคำขอให้บังคับแก่จำเลยทั้งสามตลอดมาแม้คำขอท้ายฟ้อง จะกล่าวว่าให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คก็เป็นเรื่องพิมพ์ผิดพลาด ซึ่งเมื่อรวมใจความย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินแก่โจทก์นั่นเองศาลบังคับจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & เช็ค: การมอบอำนาจฟ้องคดีและผลผูกพันของผู้สลักหลังเช็ค
แม้หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ระบุโดยตรงว่าห้างโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีแทน แต่ในตอนต้นของหนังสือมอบอำนาจระบุว่า ข้าพเจ้านาย ป. และมีข้อความต่อมาว่า ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันห้างโจทก์-------------------------------------และในช่องผู้มอบอำนาจ นอกจากนาย ป. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์จะได้ลงลายมือชื่อแล้วยังได้ประทับตราของห้างโจทก์อีกด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเป็นหนี้โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่ 1เข้าสลักหลังเช็คพิพาทย่อมก่อให้เกิดมูลหนี้ในเช็คอยู่ในตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คขีดคร่อมเฉพาะ: การโอนเช็คและการรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 4 สั่งจ่ายระบุชื่อจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และขีดคร่อมระบุไว้กลางเส้นขนานที่ขีดคร่อมว่า "เฉพาะ" ดังนี้ จำเลยที่ 4 อาจประสงค์ให้เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะและให้ใช้เงินแก่ธนาคารตามเช็คก็ได้ ทั้งจำเลยที่ 4 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าในทางปฏิบัติหรือประเพณีของธนาคารเป็นที่ยอมรับกันว่าเช็คที่ใช้ถ้อยคำเช่นนี้ห้ามมิให้ เปลี่ยนมือ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำอื่นอันได้ความทำนองเดียวกับคำว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ข้อความดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน จึงหามีผลต่อเช็คพิพาทไม่ตามมาตรา 899 เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คนั้นมาขายลดให้โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สลักหลัง ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 989จึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียม แต่ความรับผิดของจำเลยที่ 4 จำกัดอยู่เพียงไม่เกินจำนวนเงินในเช็คพิพาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเท่านั้น ซึ่งโจทก์ทราบดีตั้งแต่ตอนต้น ฉะนั้น การที่จะให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเกินไปกว่านี้ย่อมเป็นการไม่ยุติธรรมต่อจำเลยที่ 4แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นในฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงศาลล่างได้ด้วย.
จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สลักหลัง ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 989จึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียม แต่ความรับผิดของจำเลยที่ 4 จำกัดอยู่เพียงไม่เกินจำนวนเงินในเช็คพิพาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเท่านั้น ซึ่งโจทก์ทราบดีตั้งแต่ตอนต้น ฉะนั้น การที่จะให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเกินไปกว่านี้ย่อมเป็นการไม่ยุติธรรมต่อจำเลยที่ 4แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นในฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงศาลล่างได้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมออกเช็ค – ผู้สลักหลังมีส่วนร่วมผิดได้ – พ.ร.บ.เช็ค มาตรา 3
คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นมิได้มีความหมายเฉพาะ ผู้ออกเช็คในฐานะ ผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดย เป็น ตัวการร่วมกันตาม ป. อาญามาตรา 83 ได้ ดังนั้นผู้สลักหลังเช็ค จึงอาจเป็น ตัวการร่วมกระทำผิดกับผู้ออกเช็คได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในเช็คพิพาท: ผลของการชำระหนี้บางส่วนและการขาดมูลหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระต้นเงิน30,000 บาทแก่โจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สลักหลังซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็คนั้น แต่เมื่อโจทก์แถลงรับในคำแก้ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินให้โจทก์บ้างแล้ว จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นเงิน3,500 บาท จำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 3,500 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้รับโอนเช็ค: แม้ผู้สลักหลังชำระหนี้แล้ว สิทธิฟ้องไม่ระงับ
โจทก์ร่วมได้รับโอนเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ออกเช็คมาจาก ป. ผู้ทรงคนก่อน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 การที่ ป. ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เป็นกรณีที่ ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมตามความผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งตนจะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39.