คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้สืบสันดาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดก: ภรรยาไม่ใช่ผู้สืบสันดานจึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่สามี
ภรรยาไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่สามีซึ่งถึงแก่ความตายเพราะมิใช่ผู้สืบสันดาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของผู้สืบสันดานลำดับแรกย่อมตัดสิทธิทายาทลำดับหลัง
เมื่อปรากฎมีทายาทอันดับแรกตามมาตรา 1629 แล้วทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไป ก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับทายาท: ทายาทอันดับแรกย่อมมีสิทธิในมรดกก่อนทายาทลำดับถัดไป
เมื่อปรากฏมีทายาทอันดับแรกตามมาตรา 1629 แล้วทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไป ก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371-1372/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องรับรองบุตรหลังเสียชีวิต: เฉพาะผู้สืบสันดานเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้อง
การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วย ก.ม. นั้น ถ้าเด็กนั้นตายแล้ว ก.ม.ยอมให้ผู้สืบสันดานของเด็กโดยเฉพาะที่จะฟ้องของให้รับเด็กเป็นบุตรได้เท่านั้น มารดาของเด็กไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371-1372/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย: เฉพาะผู้สืบสันดานฟ้องได้เมื่อบุตรเสียชีวิต
การฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ถ้าเด็กนั้นตายแล้วกฎหมายยอมให้ผู้สืบสันดานของเด็กโดยเฉพาะที่จะฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้เท่านั้น มารดาของเด็กไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาจำกัดเฉพาะผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน สามี/ภริยาเท่านั้น
สิทธิฟ้องคดีอาญามีบทบัญญัติไว้แล้วใน ป.วิธีพิจารณาความอาญา จะยก ป.วิธีพิจารณาความแพ่งอนุโลมมาใช้ไม่ได้
คดีที่บุคคลถูกทำร้ายตายจะฟ้องได้แต่ฉะเพาะบุคคลตามวิธีพิจารณาความอาญา ม.5(2) เท่านั้น
พี่ชายของผู้ตายไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องผู้ฆ่าน้องชาย แม้จะไม่มีบิดามารดาและอยู่ในความปกครองของพี่ชายก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแทนผู้เสียหาย: ผู้สืบสันดานและผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบโดยชัดแจ้งว่า บ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ว. ผู้ตายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน คือ ค. ผู้เยาว์ ดังนั้น ค. บุตรของ ว. ผู้ที่ถูกทำร้ายถึงตายถือเป็นผู้สืบสันดาน เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ ไม่ว่าบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม และเห็นว่า คดีนี้ ค. ผู้เยาว์ เป็นผู้มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย บ. มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจจัดการแทน ค. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น บ. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ค. ผู้เยาว์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9377/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีอาญา: การอนุญาตให้ผู้สืบสันดานดำเนินคดีแทนผู้ตาย การห้ามฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้นาย ช. และนาย ธ. ผู้ร้องทั้งสองเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดาน: ศาลพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนผู้เสียหายซึ่งน่าเชื่อถือกว่าคำเบิกความในชั้นศาล
ผู้เสียหายเบิกความเป็นพยานว่า ขณะจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ได้ขัดขืนเพราะเห็นว่าจำเลยเป็นบิดา แต่ให้การตามบันทึกคำให้การต่อหน้าบุคคลที่ผู้เสียหายร้องขอ พนักงานอัยการ และนักสังคมสงเคราะห์ว่า ขณะจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ร้องขอไม่ให้จำเลยทำ จำเลยไม่ฟังและผู้เสียหายก็มีร่างกายไม่สมประกอบ ไม่มีแรงที่จะขัดขืน ผู้เสียหายเป็นบุตรจำเลยและเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ผู้เสียหายยังรักจำเลยและไม่ประสงค์จะเอาเรื่องจำเลย เชื่อว่าผู้เสียหายเบิกความในชั้นพิจารณาเพื่อช่วยเหลือจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงน่าเชื่อกว่าคำเบิกความ แม้คำให้การในชั้นสอบสวนจะเป็นพยานบอกเล่าแต่เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่าน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ ประกอบกับเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่บุตรจะยินยอมให้บิดากระทำชำเรา คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจึงมีเหตุผลหนักแน่นรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดาน: ศาลฎีกาพิพากษาแก้บางส่วน ยกฟ้องบางข้อหา และแก้ไขคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง
สำหรับความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาเป็นทำนองว่าไม่มีเจตนาทำร้ายผู้ร้อง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อนี้มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยศาลตั้งให้ ธ. เป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อจำเลยเป็นบุพการีของผู้ร้องและมาตรา 44/1 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ดังนั้น การยื่นคำร้องของผู้ร้องในคดีนี้จึงเป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องของผู้ร้อง และศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีส่วนแพ่งให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไว้ในคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมคดีส่วนแพ่งในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 3