พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าซื้อรถยนต์มอบให้ลูกจ้างใช้ แล้วเกิดอุบัติเหตุ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง
จำเลยที่2เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์มอบให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างเป็นผู้ใช้สอยรถยนต์คันดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่1ติดต่อการงานให้แก่จำเลยที่2จึงต้องถือว่าจำเลยที่2เป็นผู้ครอบครองใช้และได้รับประโยชน์ในรถยนต์ค้นดังกล่าวอยู่ในขณะเกิดเหตุดังนั้นจำเลยที่2จะอ้างว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่2เช่าซื้อมาให้จำเลยที่1ใช้จำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ พนักงานขายของจำเลยที่2สามารถใช้รถของจำเลยที่2จนกว่าจะปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้วจึงจะนำมาคืนโดยอาจจะปฏิบัติงานในในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้เมื่อปรากฎว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่1ได้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่2จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงานและจำเลยที่1มิได้หมายเหตุไว้ในบัตรตอกเวลาทำงานว่าจำเลยที่1ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเพื่อให้จำเลยที่2ทราบจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่เพราะเป็นเรื่องภายในระหว่างพนักงานของจำเลยที่2กับจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระภาษีการค้าจากการดัดแปลงก่อนทำสัญญา หากสัญญามิได้ระบุ
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้ผู้เช่าซื้อต้องชำระภาษีอากรใด ๆค่าภาษีรถยนต์ประจำปี และภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับรถยนต์คันที่เช่าซื้อทุกชนิด และถ้าผู้เช่าซื้อดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่าซื้อเป็นเหตุให้ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นผู้เช่าซื้อยอมชำระภาษีนั้นโดยตรงฝ่ายเดียว แต่ยังมิได้ระบุให้ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าภาษีในกรณีทำการดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่าซื้อมาก่อนทำสัญญา ดังนั้นจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องชำระภาษีการค้าและดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองรถยนต์เช่าซื้อ: ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนเนื่องจากกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ
รถยนต์ของกลางเป็นของบริษัท ต. ที่ผู้ร้องเช่าซื้อและชำระราคายังไม่ครบถ้วนตามสัญญา กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางยังเป็นของบริษัท ต.ผู้ร้องมิใช่เจ้าของรถยนต์ของกลาง จึงไม่มีสิทธิร้องขอคืน ตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อ, การประกันภัย, ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง แม้ตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อและดูแลรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เมื่อรถยนต์เสียหายโจทก์ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบ โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต่อจำเลยที่ 2 แม้จะตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนรถยนต์ของกลาง ผู้ให้เช่าซื้อไม่รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดของผู้เช่าซื้อ
แม้ ส. พยานผู้ร้องมิได้เบิกความว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย แต่จากคำเบิกความของส. ก็แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า ผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย นอกจากนั้นผู้ร้องยังได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังจำเลย ผู้เช่าซื้อหลังจากที่จำเลยทั้งสองได้นำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด จึงน่าเชื่อว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์ก็ไม่มีมานำสืบให้ฟังได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรถยนต์ของกลางคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อในการคัดค้านการยึดทรัพย์ - ทรัพย์สินยังไม่ตกเป็นของจำเลย
ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึด แม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบ แต่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้ร้องมีสิทธิยึดถือใช้ประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่ถูกยึด และเมื่อผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อครบย่อมได้ กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเมื่อทรัพย์ที่ผู้ร้องเช่าซื้อถูกยึด ถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขัดทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ผู้ร้องเช่าซื้อทรัพย์ที่ถูกยึดมาและยังใช้เงินไม่ครบ ทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลย ศาลต้องปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในรถยนต์เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด: ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง
ผู้เช่าซื้อรู้เห็นเป็นใจด้วยในการที่ลูกจ้างของตนนำรถยนต์ของกลางที่เช่าซื้อมาไปกระทำความผิด ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่ผู้ร้องมิได้บอกเลิกสัญญา สัญญาเช่าซื้อจึงมีผลอยู่โดยผู้เช่าซื้อมีสิทธิครอบครองใช้สอยรถยนต์ของกลางอันเป็นทรัพย์ที่เช่าซื้อได้ตามสัญญา หากศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ต้องมอบต่อให้ผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ การขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ จึงเป็นการร้องขอคืนแทนผู้เช่าซื้อซึ่งรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอคืนของกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4996/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ - ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ
ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดค่าเช่าซื้องวดแรกวันที่ 1 ตุลาคม 2531แต่จำเลยนำรถยนต์ไปกระทำความผิดและถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้ก่อนจะถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดแรก แม้ผู้ร้องมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและให้ผู้เช่าซื้อจัดการส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนหรือให้ชดใช้ราคาทรัพย์สินที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยหลังจากครบกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดแรกแล้ว 3 เดือนเศษก็ตาม แต่ยังไม่มีพฤติการณ์ใดส่อว่าผู้ร้องปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเพื่อช่วยเหลือผู้เช่าซื้อแต่อย่างใด เพราะผู้เช่าซื้ออยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนส่วนผู้ร้องอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ร้องย่อมไม่อาจทราบว่าจำเลยนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้เช่าซื้อ, ข้อต่อสู้ที่มิได้ยกขึ้นในชั้นต้น, การห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่ถูกรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ชนเสียหายและเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวในขณะที่ถูกชน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดได้.
จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุน ให้การว่า หากจะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็รับผิดชอบไม่เกินจำนวน 100,000 บาทของความเสียหายบุคคลภายนอกทั้งหมด มิได้ให้การถึงว่าได้จ่ายค่าทำรั้วที่เสียหายไปแล้ว 15,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้โจทก์และจำเลยที่ 2 จะแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่ารั้วไปแล้ว ก็เป็นเรื่องนอกประเด็น จำเลยที่ 2 จะฎีกาว่าความรับผิดของตนต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกยังคงเหลือเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 85,000 บาท ไม่ได้ เป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุน ให้การว่า หากจะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็รับผิดชอบไม่เกินจำนวน 100,000 บาทของความเสียหายบุคคลภายนอกทั้งหมด มิได้ให้การถึงว่าได้จ่ายค่าทำรั้วที่เสียหายไปแล้ว 15,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้โจทก์และจำเลยที่ 2 จะแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่ารั้วไปแล้ว ก็เป็นเรื่องนอกประเด็น จำเลยที่ 2 จะฎีกาว่าความรับผิดของตนต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกยังคงเหลือเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 85,000 บาท ไม่ได้ เป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ความรับผิดของผู้เช่าซื้อและผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากลูกจ้าง
ขณะรถยนต์คันที่เอาประกันภัยค้ำจุนชนรถยนต์ของโจทก์ รถยนต์คันที่เอาประกันภัยค้ำจุนอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อ มิได้อยู่ในความครอบครองของบริษัท ส. ผู้เอาประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ และเหตุละเมิดก็กระทำโดย ว.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 บริษัท ส. ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลละเมิดจึงไม่มีค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 2ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้แทนบริษัท ส. ผู้เอาประกันภัยดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)