พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท และข้อยกเว้นการใช้เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1(ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่6) พ.ศ.2518 มาตรา 6ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1(ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่6) พ.ศ.2518 มาตรา 6ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทประกันภัยต้องพึ่งการกระทำละเมิดของจำเลยต่อผู้เอาประกัน หากจำเลยไม่มีความผิด ผู้รับประกันภัยไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 2โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด ทำให้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้นั้นเสียหายโดยโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 มาฟ้องและโจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกร้องค่าที่สินค้าซึ่งบรรทุกมาในรถคันดังกล่าวเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์เช่นนี้แม้คดีสำหรับโจทก์ที่ 1 จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคแรกแต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยไปแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับช่วงสิทธิใด ๆ ไปจากโจทก์ที่ 2 เลยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนสมควรยกขึ้นวินิจฉัยไปถึงคดีในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ตาม มาตรา 142(5) ด้วย จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากผู้รับผิดคือบุคคลอื่น
ตามสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกข้อเท็จจริงได้ความว่าห้างๆ พ. เป็นผู้เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อไปโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยแทนห้างฯ พ. ในระหว่างระยะเวลาประกัน ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปชนกับรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 โดยประมาท ดังนี้ แม้ห้างฯ พ. จะเป็นเจ้าของใบอนุญาตประกอบการขนส่งก็หามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุที่รถเกิดชนกันอันจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่ ผู้ที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คือจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 มิใช่ผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน หาทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยไปด้วยไม่จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3054/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันผู้ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่เอาประกันภัย
ห้างโจทก์มิใช่เป็นเจ้าของรถยนต์คันที่โจทก์ได้เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยและห้างโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ใช้รถหรือรับประโยชน์จากการใช้รถคันนี้เลย รถยนต์ดังกล่าว ส.เป็นผู้เช่าซื้อและได้นำมาเข้าร่วมกับห้างโจทก์เพื่อขอจดทะเบียนวิ่งในนามของห้างโจทก์ ส่วนรายได้ในการบรรทุกก็ดีหรือเมื่อรถเกิดเสียหายก็ดี ส.เป็นผู้รับผิดชอบ เหตุที่โจทก์เอาประกันภัยก็เพียงเพื่อช่วยให้ ส. ได้ใช้รถในนามของโจทก์ซึ่งทำการขอส่งอยู่แล้ว เพื่อส่งเสริมให้บริษัทขายรถบรรทุกแห่งหนึ่งขายรถได้ดีขึ้นเท่านั้น โจทก์จึงมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยสัญญาประกันภัยย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความหมาย 'ไม่ได้ล็อคกุญแจรถยนต์' ในสัญญาประกันภัย: พิจารณาความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกัน
คำว่า "ไม่ได้ล็อคกุญแจรถยนต์" ที่เจ้าพนักงานตำรวจบันทึกไว้ หมายความถึงไม่ได้ล็อคกุญแจประตูรถยนต์ ไม่หมายความถึงไม่ได้ดึงกุญแจติดเครื่องยนต์ออก และการที่จอดรถยนต์ไว้ที่ริมถนนลาดพร้าว โดยไม่ได้ล็อคกุญแจประตูรถยนต์ แต่ได้ดึงกุญแจติดเครื่องยนต์ออก และทิ้งรถยนต์ไว้เพียงประมาณ 10 นาที เพื่อไปซื้อของที่ร้านริมถนนลาดพร้าวห่างจากที่จอดราวประมาณ 30 เมตร โดยที่ยังมีผู้คนอยู่ในบริเวณนั้น แล้วรถยนต์ที่เอาประกันไว้ได้หายไป มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: ผู้เอาประกันภัยที่แท้จริง แม้ชื่อในกรมธรรม์ไม่ตรงกับผู้รับประโยชน์
โจทก์ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ครบถ้วนแล้ว ได้เอารถยนต์ไปประกันภัยกับบริษัทจำเลย โดยผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้แนะนำและได้รับค่าคอมมิชชั่นจากบริษัทจำเลย และเป็นผู้รับฝากเงินเบี้ยประกันภัยจากโจทก์เพื่อชำระให้แก่บริษัทจำเลย การที่มีชื่อผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้เอาประกันในกรมธรรม์ แต่ในวงเล็บมีชื่อโจทก์และที่อยู่ของผู้เอาประกันก็ลงที่อยู่ของโจทก์ ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าซื้อมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยนั้นหลังจากโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนก็เพื่อเป็นการสะดวกแก่การที่จำเลยจะมาเก็บเงิน และเพื่อผู้ให้เช่าซื้อจะได้ค่าคอมมิชชั่นด้วยเท่านั้น โจทก์ ผู้เช่าซื้อจึงเป็นผู้เอาประกันภัย มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยผู้รับประกันภัย เกี่ยวกับความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัย: การที่ผู้เอาประกันมีส่วนรู้เห็นในการก่อให้เกิดความเสียหาย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหม
แม้ในคดีอาญา ว. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์ถูกฟ้อง ศาลฟังว่า ว.ไม่ใช่คนร้ายวางเพลิงทรัพย์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย แต่เมื่อมูลคดีเป็นคนละอย่างไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่ง (คดีนี้) ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัย ทั้งคู่ความในคดีแพ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญา จึงถือข้อเท็จจริงในคดีอาญามาพิพากษาคดีแพ่งไม่ได้
บริษัทโจทก์มีส่วนรู้เห็นให้มีการวางเพลิงเผาทรัพย์ของตนเพื่อหวังเงินประกัน จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด เพราะวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะความทุจริตของบริษัทโจทก์ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879
บริษัทโจทก์มีส่วนรู้เห็นให้มีการวางเพลิงเผาทรัพย์ของตนเพื่อหวังเงินประกัน จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด เพราะวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะความทุจริตของบริษัทโจทก์ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยรถยนต์และการมีอำนาจฟ้อง: ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในรถยนต์
ส. เจ้าของรถยนต์ได้โอนขายรถยนต์ให้แก่บุคคลอื่นไปก่อนที่จะนำรถยนต์ดังกล่าวมาประกันวินาศภัยไว้กับโจทก์ แม้การประกันทำในนามของ ส. เอง ส. ก็ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันวินาศภัยไว้ กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับ ส. จึงไม่ผูกพันคู่กรณี เมื่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ชนกับรถของจำเลย แม้โจทก์ได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์แทน ส. ไปแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้รับช่วงสิทธิตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมรถจากจำเลย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยค้ำจุนและการแบ่งแยกความรับผิดในหนี้ที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดความรับผิดของผู้รับประกันและผู้เอาประกัน
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแทนในนามจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลฎีกากำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยที่ 2 รับผิดน้อยลง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาก็ตาม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 245(1),247 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรก็ให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกันภัย สัญญาประกันชีวิตไม่เป็นโมฆียะหากข้อมูลที่ไม่เปิดเผยไม่กระทบต่อการรับประกัน
การละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 จะต้องพิจารณาถึงความสำคัญของข้อความที่ละเว้นไม่เปิดเผยด้วยมิใช่ว่าถ้ามีการปกปิดความจริงแล้วจะทำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะไปเสียทั้งหมด
โรคไส้เลื่อนมิใช่เป็นโรคอันตรายร้ายแรง เมื่อผ่าตัดแล้วอาจหายไปได้การที่ผู้เอาประกันมิได้แจ้งเรื่องเคยเป็นโรคนี้ และได้รับการผ่าตัดมาก่อนให้ทราบ ยังไม่ถึงขนาดที่จะอนุมานเอาได้ว่าถ้าได้แจ้งเช่นนั้นผู้รับประกันภัยจะบอกปัดไม่รับประกัน หรือเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้น จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
โรคไส้เลื่อนมิใช่เป็นโรคอันตรายร้ายแรง เมื่อผ่าตัดแล้วอาจหายไปได้การที่ผู้เอาประกันมิได้แจ้งเรื่องเคยเป็นโรคนี้ และได้รับการผ่าตัดมาก่อนให้ทราบ ยังไม่ถึงขนาดที่จะอนุมานเอาได้ว่าถ้าได้แจ้งเช่นนั้นผู้รับประกันภัยจะบอกปัดไม่รับประกัน หรือเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้น จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ