พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดชิงทรัพย์ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนต้องรับโทษตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกอีก 1 คน ทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 กับ ห. ทำร้ายจนสลบแล้วบุคคลทั้งสองเอาเงินไป อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้จ้างจำเลยที่ 1กับ ห. และช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิดโดยการเรียกผู้เสียหายให้กลับบ้านแต่โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ความผิดดังกล่าวอยู่ในส่วนลักษณะคดี จึงมีผลปรับบทลงโทษถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบเอกสารปลอมไม่ถือเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานใช้เอกสารปลอม
จำเลยปลอมเอกสารมอบให้ ส.ส. นำเอกสารปลอมที่ได้รับจากจำเลยไปแสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยลำพังตนเอง จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เพียงแต่จำเลยมอบเอกสารปลอมให้ ส. เท่านั้นยังถือไม่ได้ว่า จำเลยเป็นผู้ก่อให้ส. กระทำผิดฐานใช้เอกสารปลอม อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้ครอบครองยานพาหนะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 ผู้ครอบครองคือผู้ใช้ยานพาหนะขณะเกิดเหตุ
ผู้ครอบครองตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา437 หมายถึงผู้ที่ใช้ยานพาหนะนั้นในฐานะเป็นผู้ยึดถือในขณะเกิดความเสียหายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งหมายถึงผู้ที่ได้ครอบครองยานพาหนะนั้นอยู่ในขณะเกิดเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ป้ายเลขทะเบียนปลอมเป็นความผิดทางอาญา
ป้ายเลขทะเบียนรถยนต์มิใช่ป้ายของเจ้าพนักงานที่จัดให้ไว้กับตัวรถ แต่เป็นป้ายเลขทะเบียนรถปลอมผู้ใช้ติดกับรถยนต์มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานบุกรุกป่าไม้ การจำกัดบทลงโทษตามคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตัดฟันไม้ แผ้วถางป่า ฯลฯ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ไม่ได้ คงลงโทษได้เพียงเป็นผู้สนับสนุน
เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11 ก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11 ก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิดบุกรุกป่า และการจำกัดขอบเขตการลงโทษตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตัดฟันไม้ แผ้วถางป่า ฯลฯ แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ไม่ได้คงลงโทษได้เพียงเป็นผู้สนับสนุน
เมื่อโจทก์ไม่ด้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11 ก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
เมื่อโจทก์ไม่ด้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11 ก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นทำไม้หวงห้าม ผู้ใช้ไม่ต้องรับผิดฐานมีไม้หวงห้าม แต่ผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยใช้ให้บุตรนำช้างไปชักลากไม้ท่อนของ ข. ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม โดยจำเลยไม่ได้ไปร่วมทำการชักลากไม้ด้วยถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีไม้ดังกล่าวไว้ในความครอบครองอันจะต้องได้รับอนุญาต จำเลยไม่มีความผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในความครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯแต่ จำเลยรู้ว่าไม้ดังกล่าวเป็นไม้หวงห้าม จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ชักลากไม้(ทำไม้)หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมทำการชักลากไม้ (ทำไม้) จึงลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิดไม่ได้คงลงโทษได้เพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111-112/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ผู้ใช้ให้กระทำผิดต้องรับโทษเสมือนตัวการ การฎีกาเรื่องลดโทษเป็นดุลยพินิจ
จำเลยที่ 2 กับพวกรับจ้างจำเลยที่ 1 ไปฆ่าผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 กับพวกได้เตรียมอาวุธปืนไปดักยิงผู้เสียหาย แล้วยิงผู้เสียหายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดนี้ต้องรับโทษเสมือนหนึ่งเป็นตัวการด้วย
การที่จำเลยฎีกาว่าควรลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยตามประมวลผลกฎหมายอาญามาตรา 76 นั้น เป็นการฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ ถือเสมือนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยฎีกาว่าควรลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยตามประมวลผลกฎหมายอาญามาตรา 76 นั้น เป็นการฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ ถือเสมือนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา แม้ผู้อื่นไม่ลงมือทำ ผู้ใช้ก็มีความผิดตามกฎหมาย
ขณะที่ตำรวจเข้าจับกุมและแย่งปืนกับจำเลยที่ 1 อยู่นั้น จำเลยที่ 2 เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจ เมื่อตำรวจจับจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจ ดังนี้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกระทงหนึ่ง และใช้ให้ฆ่าเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม) ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 (1) มาใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม) ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 (1) มาใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบต่อความเสียหายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติม: ผู้ใช้ต้องระมัดระวังควบคุมอุปกรณ์เอง
โจทก์ซื้อกระแสไฟฟ้า 220 โวลท์จากจำเลย จำเลยส่งกระแสไฟฟ้าตกลงมากรับโทรทัศน์ไม่ได้ โจทก์จึงต้องเพิ่มไฟโดยหม้อเพิ่มไฟเพื่อให้ได้รับภาพได้ตามปกติ แล้วไฟฟ้าดับลง ต่อมาไฟจึงติดขึ้นใหม่ แรงขึ้นสูงในทันทีทันใด ทำให้เครื่องปรับอัตโนมัติโทรทัศน์ของโจทก์เสีย ระหว่างที่ไฟฟ้าดับนั้น โจทก์ไม่ได้ลดหรือปลดหม้อเพิ่มไฟและไม่ได้ปิดเครื่องรับโทรทัศน์ ดังนี้ เห็นว่าโจทก์เป็นผู้นำเอาหม้อเพิ่มไฟมาใช้เองเป็นพิเศษ โจทก์ต้องมีหน้าที่ระมัดระวังควบคุมหม้อเพิ่มไฟนั้น จะถือว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่หรือขาดความระมัดระวังเป็นการประมาทเลินเล่อไม่ได้.