คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฝากทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6297/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ที่นำไปฝากไว้กับผู้อื่น: สิทธิในการฟ้องคดีและการใช้สิทธิโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยนำยึดทรัพย์สินของโจทก์อ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ขอให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าทรัพย์สินที่นำยึดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เช่นนี้ ข้อที่ว่าทรัพย์สินที่นำยึดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่ของโจทก์ และลูกหนี้ตามคำพิพากษานำไปฝากโจทก์ไว้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โต้เถียงกันอยู่ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อนแล้วจึงจะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ไม่ควรงดสืบพยานโจทก์จำเลย
เมื่อโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะเข้าใจว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิก็ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีได้ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อความเสียหายของรถยนต์ที่จอดในลานจอดรถ: ลักษณะการฝากทรัพย์ตามมาตรา 674-675
โจทก์เข้าพักในโรงแรมของจำเลยและนำรถยนต์ไปจอดในบริเวณลานจอดรถของโรงแรม รถยนต์โจทก์หายไป ต่อมาโจทก์ได้รับรถยนต์คืนในสภาพชำรุดเสียหาย จึงฟ้องในข้อหาฝากทรัพย์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายโดยบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นเจ้าสำนัก โรงแรมหรือโฮเต็ล เช่นนี้เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นเจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 674, 675 ซึ่งเป็นบทกฎหมายในลักษณะฝากทรัพย์นั่นเอง มิใช่การฝากทรัพย์ตามมาตรา 657 แต่อย่างเดียวดังที่จำเลยให้การปฏิเสธไว้ ศาลจึงวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดตามฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานที่มิได้ทำให้ทรัพย์สินของราชการสูญหาย แม้จะนำไปฝากไว้กับผู้อื่นและถูกลัก
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้รับมอบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของทางราชการไว้ใช้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมาได้นำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไปฝากไว้กับบุคคลอื่นและถูกคนร้ายลักเอาไปจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำให้ทรัพย์นั้นสูญหายจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา158.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถในที่ดินของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการฝากทรัพย์ หากเจ้าของรถยังคงครอบครองและควบคุมรถเอง
จำเลยที่2เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณสยามสมควรมอบให้จำเลยที่1ดูแลความเรียบร้อยและจัดการจราจรภายในที่ดินดังกล่าวเมื่อมีรถยนต์เข้ามาในบริเวณสถานที่ดังกล่าวพนักงานของจำเลยที่1จะออกบัตรให้และเจ้าของรถจะต้องคืนบัตรเมื่อนำรถออกไปหากจอดรถจะต้องเสียค่าบริการแต่เจ้าของรถเป็นผู้เลือกสถานที่จอดรถเปิดปิดประตูและเก็บกุญแจรถไว้เองหากเจ้าของรถจะเคลื่อนย้ายรถหรือนำรถออกจากที่จอดหรือนำไปจอดที่ใดในบริเวณนั้นก็ทำได้เองโดยไม่ต้องแจ้งให้พนักงานของจำเลยที่1ทราบเช่นนี้รถยนต์ที่นำมาจอดยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถกรณีจึงไม่ใช่การฝากทรัพย์เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่จำเลยทั้งสองหรือพนักงานของจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้ตกลงจะรักษารถยนต์คันดังกล่าวไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วจะคืนให้จำเลยจึงไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องรับผิดในการที่รถยนต์ซึ่งนำมาจอดในที่ดินบริเวณนั้นสูญหายไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การฝากทรัพย์และการคืนทรัพย์ จำเลยต้องนำสืบให้ได้ความจริง
พนักงานสอบสวนไม่มีส่วนได้เสียหรือสนิทสนมกับฝ่ายใดถ้อยคำมีน้ำหนัก การที่จำเลยตอบคำถามพนักงานสอบสวนว่าจำเลยได้รับฝากทรัพย์ 7 รายการจากโจทก์ เป็นการกล่าวขึ้นโดยสมัครใจไม่มีผู้ใดแนะนำ คำพนักงานสอบสวนจึงรับฟังได้โจทก์ฟ้องว่าฝากทรัพย์ 3 รายการไว้แก่จำเลยและจำเลยยังไม่คืนให้ จำเลยให้การรับว่าโจทก์ฝากไว้จริงแต่โจทก์มาขอคืนและจำเลยได้คืนให้โจทก์ไปหมดแล้ว ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่าได้คืนทรัพย์แก่โจทก์ตามที่อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์: ความรับผิดของผู้รับฝากในการคืนทรัพย์สิน หรือชดใช้ค่าเสียหายกรณีทรัพย์สินสูญหาย
โจทก์นำรถยนต์ไปจอดไว้ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 2 แล้วมอบกุญแจรถไว้แก่(จำเลยที่ 1)ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เสียค่าจอด เมื่อมีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์มาขอรับรถยนต์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการก็เป็นผู้พิจารณาว่าจะมอบรถยนต์ให้ไปหรือไม่ พฤติการณ์ที่คู่กรณีปฏิบัติต่อกันดังกล่าวเป็นเรื่องการฝากทรัพย์แม้ใบเสร็จรับเงินที่จำเลยที่ 2 ออกให้จะมีข้อความระบุว่าได้รับเงินค่าเช่าที่จอดรถ ก็หาใช่เช่าสถานที่จอดรถไม่ เมื่อเป็นสัญญาฝากทรัพย์จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็มีหน้าที่ต้องคืนรถให้โจทก์ ถ้าคืนไม่ได้ก็เป็นเรื่องผิดสัญญา คดีไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะของสัญญาและอายุความ สัญญาฝากทรัพย์ vs สัญญาต่างตอบแทน
สัญญารายพิพาทเรียกว่าสัญญารับฝากเก็บและสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ ซึ่งในสัญญาเรียกว่าผู้ฝากกับโรงสี ม. โดยจำเลยผู้เป็นเจ้าของและผู้จัดการ ซึ่งในสัญญาเรียกว่าผู้รับฝากเก็บและสีแปรสภาพข้าว โดยผู้รับฝากฯ ตกลงจะรับฝากเก็บและสีแปรสภาพข้าวเปลือกทุกชนิดของผู้ฝาก และผู้รับฝากจะส่งมอบข้าวกลับคืนให้แก่ผู้ฝากเป็นข้าวสารตามชนิด จำนวนและระยะเวลาที่คณะกรรมการสำรองข้าวสั่ง โดยผู้ฝากให้ประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้รับฝากเป็นต้นข้าวปลาย ข้าวและรำข้าวที่เหลือจากการส่งให้แก่ผู้ฝาก สัญญาเช่นนี้หาใช้สัญญาฝากทรัพย์ไม่ แต่เป็นสัญญาที่จำเลยตกลงรับฝากเก็บข้าวเปลือกไว้เพื่อสีแปรสภาพจนสำเร็จเป็นข้าวสารให้แก่โจทก์และโจทก์ตกลงให้ต้นข้าว ปลายข้าว และรำข้าวเป็นการตอบแทนที่จำเลยสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งซึ่ง ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องฝากทรัพย์เสียหาย & ฟ้องละเมิดขาดรายละเอียด: จำเลยไม่ร่วมรับผิด
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยที่ 1 โดยมีบำเหน็จค่าฝาก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถที่จำเลยที่ 1 รับฝากออกไปขับทำให้รถเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไปขับประมาท เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ที่ 2 เสียหาย ฟ้องของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องให้บังคับตามสัญญาฝากทรัพย์ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นเรื่องละเมิดฟ้องของโจทก์ที่ 1 ไม่เคลือบคลุม แต่สำหรับฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในการงานอะไร และการที่จำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ที่ 1 ออกไปขับเป็นการกระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 1 จ้าง จึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อความสำคัญที่จะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลอันเกิดแต่มูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้น ศาลจะอาศัยฟ้องเช่นนี้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มิได้
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝาก เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่ 1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17 - 18/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการฝากทรัพย์ และความรับผิดของผู้รับฝากต่อความเสียหายจากลูกจ้าง
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยที่ 1 โดยมีบำเหน็จค่าฝาก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถที่จำเลยที่ 1 รับฝากออกไปขับทำให้รถเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไปขับประมาท เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ที่ 2 เสียหาย ฟ้องของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องให้บังคับตามสัญญาฝากทรัพย์ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นเรื่องละเมิดฟ้องของโจทก์ที่ 1 ไม่เคลือบคลุม แต่สำหรับฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในการงานอะไร และการที่จำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ที่ 1 ออกไปขับเป็นการกระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 1 จ้างจึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อความสำคัญที่จะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลอันเกิดแต่มูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้น ศาลจะอาศัยฟ้องเช่นนี้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 425 มิได้
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝากเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17-18/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช่าสถานที่จอดรถ vs. ฝากทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากรถหายในสถานที่เช่า
โจทก์จอดรถยนต์ที่สถานบริการน้ำมันของจำเลย มอบกุญแจรถแก่คนของจำเลยโดยมีป้ายและใบเสร็จรับเงินข้อความว่าเช่าสถานที่ไม่รับผิดในทรัพย์สูญหาย เจตนาของคู่กรณีไม่ใช่เรื่องฝากทรัพย์กุญแจที่มอบเพื่อเคลื่อนย้ายรถไม่ใช่มอบให้ครอบครอง
of 5