คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฝ่าฝืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาคารผิดกฎหมายและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก่อนใช้จะต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างก่อน การที่จำเลยเปิดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่มีใบรับรองการก่อสร้าง และเมื่อเจ้าพนักงานงานท้องถิ่นมีคำสั่งโดยชอบให้จำเลยระงับการใช้ จำเลยยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไปจึงมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หากใช้ความระมัดระวังได้
เครื่องหมายจราจรเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้ขับรถได้ระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรไม่ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทจากการฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร ไม่ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
เครื่องหมายจราจรเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้ขับรถได้ระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น การที่ผู้เอาประกันภัยค้ำจุนขับรถยนต์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรทำให้เกิดเหตุขึ้นไม่ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีเหลืองอำพันมีความผิดเช่นเดียวกับสีแดง ศาลวินิจฉัยได้แม้ฟ้องระบุเป็นสีแดง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยประมาทด้วยความเร็วสูงและฝ่าฝืนสัญญาณไฟสีแดง แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันไปโดยไม่หยุดที่หลังเส้นให้รถหยุด ศาลย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยลงโทษจำเลยได้ทั้งนี้เพราะการขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรดังกล่าว เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในมาตราเดียวกันคือมาตรา 22,152 เมื่อฝ่าฝืนก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สี่แยกทางเอก: ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่มาถึงก่อนผ่านก่อน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ม.71(1) หากฝ่าฝืนถือเป็นฝ่ายผิด
รถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับแล่นมาถึงบริเวณสี่แยกที่เกิดเหตุก่อนรถยนต์คันที่ พ.ขับซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้พ.ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 71(1) โดยต้องให้รถคันที่จำเลยที่ 1 ขับ ผ่านไปเสียก่อนแต่ พ. กลับฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดชนกันขึ้น พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71(1)เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่น ๆ พ.ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายเช่นว่านั้นย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องและคำพิพากษาปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ที่ศาลสั่งปรับตลอดระยะเวลาฝ่าฝืน
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม2530 จนถึง วันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้ สั่งปรับจำเลยตลอด ระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งด้วย เช่นนี้ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วย กฎหมาย พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 6570 บัญญัติว่าให้ปรับได้ ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน โจทก์ขอให้ศาลสั่งปรับจำเลยตลอด ระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่ง การที่ศาลปรับจำเลยเป็นรายวันจนกว่าจะรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงจึงไม่ เกินคำขอและชอบด้วย กฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระเบียบเงินทุนเลี้ยงชีพที่ไม่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศใช้บังคับขึ้นเองไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง แม้โจทก์จำเลยจะเคยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกำหนดให้ข้อบังคับ ระเบียบการและคำสั่งของจำเลยเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518ก็ไม่ทำให้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ซึ่งมิได้เกิดจากการข้อเรียกร้องกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องไปได้ การที่จำเลยประกาศใช้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 202 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 9) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม2527 โดยเพิ่มเงื่อนไขที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพมากกว่าระเบียบฉบับที่ 67 อีกสองข้อ แล้วใช้บังคับแก่พนักงานใหม่ที่เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2527 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำฝ่าฝืนคำสั่งนายกรัฐมนตรีและฐานลักทรัพย์ กรณีสูบถ่ายน้ำมันผิดสถานที่
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ข้อ 15(1)(3) ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลส่งแก่ผู้จำหน่ายน้ำมันหรือผู้ซื้อน้ำมัน ทำการสูบถ่ายน้ำมันเบนซินหรือดีเซลระหว่างทางนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว ต้องถือว่าประชาชนรวมทั้งจำเลยได้ทราบคำสั่งฉบับดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นความผิดตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ. 2516 มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคืนเงินยืมทดรองกรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบการจ้าง
แม้ระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ จะระบุว่า ถ้าการจ้างรายใดจำเป็นจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างก็จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อนโดยต้องจัดให้มีธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่รับไปล่วงหน้านั้น โดยมิได้ระบุถึงกรณีออกตั๋วแลกเงินไว้ก็ตาม แต่ตั๋วแลกเงินเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือกันได้ ใช้ชำระหนี้ในวงการค้าและวงการธุรกิจเป็นปกติแพร่หลายอยู่โดยทั่วไป ผู้ใดได้ตราสารเช่นนี้ไว้เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ระบุไว้ก็สามารถรับเงินได้ ตราสารเช่นว่านี้จึงมี "คุณค่า"เป็นเงิน ต้องด้วยเจตนารมณ์ ของ ระเบียบดังกล่าว
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งผู้จัดการโรงพิมพ์ของจำเลยได้ร่วมกับพวกดำเนินการยืมเงินทดรองจ่ายจากจำเลยเบิกจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ทั้งๆ ที่มิได้ทำสัญญาจ้างต่อกันโดยไม่มีธนาคารค้ำประกัน และไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องจ่ายล่วงหน้าประการใดหรือไม่ ทำให้จำเลยต้องสูญเสียเงิน ถึง 4,223,856 บาท เป็นการผิดระเบียบว่าด้วยการจ้างฯ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าเสื่อมชื่อเสียง การกระทำของโจทก์ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แล้ว จำเลยชอบที่จะไล่ออกเสียได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและให้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กับเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างด้วยการถูกไล่ออกนอกจากนี้โจทก์ยังต้องรับผิดคืนเงินยืมทดรองจำนวน4,223,856บาทให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายไม้แปรรูปที่ยังไม่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ฝ่าฝืนข้อกำหนดควบคุมการแปรรูปไม้
ไม้ของกลางของ ท. ซึ่งเป็นไม้ที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายถูกส่งไปที่โรงงานของจำเลยซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปไม้เพื่อทำเป็นเครื่องเรือนสำเร็จรูปตามคำสั่งของท. จำเลยทำไม้แล้วส่งต่อไปยังบริษัท ม. จำกัดเพื่อบรรจุหีบห่อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าไม้ของกลางยังเป็นไม้แปรรูปไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ จำเลยส่งไม้ออกไปที่อื่นจึงเป็นการจำหน่ายหรือโอนออกไปเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดฉบับที่ 6(พ.ศ. 2520) ข้อ 15 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 มาตรา 58,73 ทวิ และความผิดดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และเขตควบคุมสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามมาตรา 47 และ53 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
of 6