คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฝ่าฝืนข้อบังคับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดวินัยร้ายแรงจากการฝ่าฝืนข้อบังคับการรับพนักงานเข้าทำงาน แม้พนักงานมีความสามารถ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่รับพนักงานเข้าทำงาน โจทก์รับพนักงานโดยไม่คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติผ่านคณะกรรมการสัมภาษณ์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน และข้อตกลงระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานข้อบังคับในเรื่องการรับพนักงานมีความสำคัญยิ่งต่อจำเลยการที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับในเรื่องนี้จึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรงจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย หากลูกจ้างเพียงไม่ขยันขันแข็ง ไม่ถือว่าจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้างฯลฯ ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2501 ข้อ 28(2) แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2507 ข้อ 12 ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ที่ระบุไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามข้อ 27 ถ้าเลิกจ้างลูกจ้างประจำด้วยเหตุลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายนั้น จะต้องได้ความว่าลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนและโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างานลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่า ลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204-9207/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ประท้วงรุนแรงและฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท ศาลอนุญาตเลิกจ้างได้
กรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แม้ผู้คัดค้านที่ 3 ถึงที่ 5 และที่ 10 จะมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้ แต่ก็หาได้หมายความว่าผู้คัดค้านที่ 3 ถึงที่ 5 และที่ 10 กับพวกจะมีสิทธิเรียกร้องด้วยวิธีรวมตัวกันชุมนุมประท้วงโดยเดินถือป้ายที่เขียนข้อความไม่สุภาพไปตามสถานที่ต่างๆ ในบริเวณโรงแรมผู้ร้องและโรงแรมอื่นในเครือ นำรถบัสรับส่งพนักงานมาจอดปิดกั้นถนน ใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวปราศรัยในลักษณะปลุกระดมและข่มขู่ว่าจะตัดน้ำตัดไฟหากไม่ได้สิ่งที่ต้องการ รวมทั้งมีการกางเต็นท์กลางถนนทำเป็นสถานที่ปรุงอาหารให้ผู้ร่วมชุมนุมรับประทาน ตบมือเสียงดังแสดงความพอใจต่อคำปราศรัยของฝ่ายผู้คัดค้าน มีลักษณะชักชวนให้ลูกจ้างออกมาชุมนุมประท้วงอันเป็นพฤติการณ์ที่มีลักษณะกดดันผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างไม่ การกระทำในลักษณะต่างๆ ดังกล่าวจึงมิใช่การเข้าร่วมเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างหรือนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงาน หรือเป็นการชุมนุมหรือเข้าร่วมโดยสงบในการนัดหยุดงาน ผู้คัดค้านดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 99 และเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องด้วย ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างย่อมมีสิทธิดำเนินการทางวินัยแก่ผู้คัดค้านที่ 3 ถึงที่ 5 และที่ 10 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9042/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง แม้ไม่มีระบุในข้อบังคับ นายจ้างก็เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่ ต้องคำนึงถึงลักษณะของการกระทำ พฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เป็นแต่ละกรณีไปว่าเป็นกรณีร้ายแรงในตัวเองหรือไม่ แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะไม่ได้ระบุให้การกระทำของลูกจ้างเป็นความผิดร้ายแรง ศาลแรงงานก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาหรือวินิจฉัยได้ว่าการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่
จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการขุดเจาะปิโตรเลียม โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำงานตำแหน่งวิศวกรตรวจวัดขณะขุดเจาะ ประจำแท่นขุดเจาะน้ำมัน อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร โจทก์ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขณะออกปฏิบัติงานภาคสนามเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 2 เป็นกรณีที่ร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยที่ 2 จึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20447/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีลูกจ้างดื่มสุราจนมึนเมา แม้ไม่ได้ทำงานแต่เข้าโรงงาน
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้องในตำแหน่งพนักงานปั๊มโลหะและเป็นกรรมการลูกจ้าง ผู้คัดค้านดื่มสุราในเวลาพักรับประทานอาหารนอกเขตโรงงานของผู้ร้องจนมึนเมา เวลา 12.50 นาฬิกา ผู้คัดค้านกลับเข้ามาตอกบัตรเลิกงานและออกจากโรงงานไปไม่ได้ทำงานในช่วงบ่าย
การที่ผู้คัดค้านดื่มสุราจนมึนเมาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 3.5.6 ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะไม่ให้ลูกจ้างมีอาการมึนเมาในขณะทำงานไม่ว่าในหรือนอกโรงงาน เนื่องจากงานส่วนใหญ่ของผู้ร้องคือปั๊มชิ้นโลหะด้วยเครื่องจักร หากพนักงานคุมเครื่องปั๊มโลหะขณะมีอาการมึนเมาจากการดื่มสุรา เสพยาเสพติด หรือเพราะเหตุอื่นอาจเกิดอันตรายจากเครื่องจักรแก่พนักงานคนนั้นหรือพนักงานอื่นได้ พฤติกรรมของผู้คัดค้านไม่เหมาะสมแก่การเป็นลูกจ้างที่ดีอย่างยิ่ง เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587-8591/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัทเรื่องการพนัน ถือเป็นการเลิกจ้างชอบธรรม ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ทั้งห้าร่วมกันเล่นการพนันไฮโลว์ในวันทำงานปกติช่วงเวลาพักเที่ยงภายในลานจอดรถยนต์ในบริเวณที่ทำการของจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโจทก์ทั้งห้าได้พร้อมอุปกรณ์เล่นการพนัน เมื่อโจทก์ทั้งห้าเล่นไฮโลว์อันเป็นการพนันตามบัญชี ก. ท้าย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 แม้จะเล่นนอกเวลาปฏิบัติงาน แต่เล่นภายในบริเวณบริษัทจำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามพนักงานเล่นการพนันภายในบริเวณบริษัทจำเลย และการพนันเป็นสาเหตุแห่งการวิวาทบาดหมาง ชักนำไปสู่การประกอบอาชญากรรมอื่นได้ และมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของจำเลย การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ทั้งห้าดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรง และการแข่งขันทางธุรกิจ
ท. มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการเขตภาคเหนือของบริษัท ฮ. มีหน้าที่บริหารงานของบริษัท ฮ. ให้สามารถผลิตสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยมีประสิทธิภาพ รับผิดชอบโรงงานของบริษัท ฮ. ถึง 4 แห่ง แต่กลับให้ บริษัท ช. ซึ่งประกอบกิจการอย่างเดียวกันกับบริษัท ฮ. จัดตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ในบริเวณโรงงานของบริษัท ฮ. โดย อ. ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของ ท. ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ช. พฤติการณ์ของ ท. จึงเป็นปรปักษ์ต่อทางการค้าและเป็นการดำเนินธุรกิจแข่งขันกับบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง บริษัท ฮ. จึงเลิกจ้าง ท. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49
of 3