คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฝ่าฝืนคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การพิจารณาความร้ายแรงของการฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าวเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามปะมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี-พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไปเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาความร้ายแรงของคำสั่งและเหตุผลในการฝ่าฝืน
การที่ศาลแรงงานกลางฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะสืบ พยานจำเลยปากต่อไปและสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจ ที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้บัญญัติ ไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มาก่อนทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลในเวลาใกล้จะเลิกงานของโจทก์ โดยไม่ได้บอกโจทก์ว่าให้ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใดและหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของ นายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าชดเชย: กรณีฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาจากเหตุผลและความร้ายแรง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากที่ฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็น อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไร เมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ อาคารควบคุมก่อนรับรอง และฝ่าฝืนคำสั่งระงับการใช้ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก่อนใช้จะต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างก่อน การที่จำเลยเปิดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ จึงมีความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่มีใบรับรองการก่อสร้าง และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการใช้จำเลยยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไปจึงมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการก่อสร้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาคารควบคุมก่อนรับรองและฝ่าฝืนคำสั่งระงับการใช้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก่อนใช้จะต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างก่อน การที่จำเลยเปิดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่มีใบรับรองการก่อสร้าง และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งโดยชอบให้จำเลยระงับการใช้ จำเลยยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไป จึงมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างอาวุโส กรณีฝ่าฝืนคำสั่งและประพฤติมิชอบ
โจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงสองประการ กล่าวคือ เข้าอยู่อาศัยในสำนักงานของจำเลยที่ 1 กับผู้หญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดย มิชอบ และเมื่อจำเลยที่ 1 สั่งให้ย้ายออกก็มิได้ย้ายออกไปในทันที กับไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้ลงชื่อในเช็คสองคน ถือว่าเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบในฐานะพนักงานอาวุโสและ หัวหน้าสำนักงาน ดังนี้ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิต้อง บอกกล่าวก่อนหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 583 กรณี เช่นนี้ไม่อาจนำ มาตรา 387 ซึ่งอยู่ในบรรพ 2 ลักษณะ 2 หมวดที่ 4 เรื่องการเลิกสัญญามาใช้บังคับเพราะการจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญา ในบรรพ 3 ที่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 583 อยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่เป็นไปตามรูปแบบ และแก้ไขโทษปรับฐานฝ่าฝืนคำสั่งระงับการก่อสร้าง
ฎีกาทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับจำเลยจะขอถือเอาคำแถลงการณ์ปิดคดีในศาลชั้นต้นเป็น ส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลยไม่ได้ จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2ที่วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร การรื้อถอน และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้ออาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงรับฟังไม่ได้ว่ามีกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด ปัญหาว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารขอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของประชาชนและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การกระทำความผิดตามกฎหมาย ซึ่งผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อจำเลยต้องโทษถึงจำคุก แม้จะมีโทษปรับด้วย ศาลก็มีอำนาจพิจารณาลงโทษจำคุกจำเลยแต่เพียงสถานเดียวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรื้อถอนอาคารและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้คำสั่งไม่เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ยังถือว่ามีความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529นายกเทศมนตรีตำบลนาสาร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคาร ทั้งหมด แล้วให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยได้บังอาจฝ่าฝืน" ซึ่งหมายความว่า วันที่ 2 กันยายน 2529 เป็นวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ ดัดแปลงต่อเติมนั้น และเป็นวันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้ว อีกด้วย จึงมิใช่ฟ้องที่ไม่ได้แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งในวันใดดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องของโจทก์ จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) บทบัญญัติมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดว่า คำสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นจะต้องเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เมื่อคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีใจความว่า จำเลยได้ต่อเติมอาคาร ด้านหลังโดยไม่มีใบอนุญาต อันเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษ ตามกฎหมาย และให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มีลักษณะเป็นคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ถึงแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้ใช้แบบตามที่กำหนดไว้ ท้ายกฎกระทรวงก็ไม่เหตุให้ผู้ฝ่าฝืนไม่มีความผิด แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้กำหนดระยะเวลาให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมน้อยกว่า 30 วัน ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคแรก บัญญัติไว้ก็ตาม ก็เป็นเพียงเหตุให้ไม่ต้องรื้อถอนอาคารก่อนครบกำหนด 30 วันเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่รื้อถอน และระยะเวลาที่กฎหมาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดไว้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยยังเพิกเฉยเสีย จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง จำเลย ย่อมมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรง การฝ่าฝืนคำสั่งที่ไม่กระทบความเสียหายร้ายแรงไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
แม้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นประการใดและอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรือไม่เพียงใด จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายโดยตรง นายจ้างจึงไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง อ้างว่ากระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการกระทำยังไม่เป็นความผิดร้ายแรงจึงไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าแม้มิใช่กรณีร้ายแรง ศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือไปจากข้ออ้างที่ยกขึ้นเป็นเหตุตามคำร้องเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
of 8