พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการเงินสะสมและเงินตอบแทนกรณีลาออก: เจตนาของระเบียบข้อบังคับคือการให้สิทธิพนักงาน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุงานครบ 10 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นไปจำเลยจะสมทบให้อีกร้อยละร้อยของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออก และพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปี ขึ้นไปเมื่อลาออก จำเลยจะ พิจารณามอบเงินให้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ของรายได้ ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ของจำเลยว่าด้วยสวัสดิการพนักงานมีข้อความว่า บริษัทจำเลยได้ตระหนักถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ทุกคนที่ทำงานอยู่กับบริษัท บริษัทจึงได้จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ขึ้น ให้แก่พนักงานเพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ ตลอดจน ให้พนักงานมีความรู้สึกที่มั่นคงในการทำงานกับบริษัท ซึ่งบริษัท ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการ ของพนักงานขึ้น และในระเบียบว่าด้วยเงินสะสมพนักงาน ก็มีข้อความว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่าจะได้รับเงิน จำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากการกระทำความผิด บริษัทได้ตระหนักถึงความมั่นคงในอนาคตของพนักงานจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมของพนักงานไว้จึงเห็นเจตนาของจำเลยที่ได้วางระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไว้เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นสวัสดิการคือเงินสะสมซึ่งเป็นของพนักงานที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลย จะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งหากพนักงานที่มีอายุงาน เกิน 15 ปีขึ้นไป ลาออกก็จะได้รับเงินจากจำเลยอีกไม่ต่ำกว่า 180 วันของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ ฉะนั้น จำเลยจะหยิบยกคำว่า"จะสมทบให้" หรือคำว่า "จะพิจารณามอบเงินให้" มาแปลความหมายว่า เป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงาน & ความรับผิดทางละเมิดแยกจากคดีอาญา
มูลละเมิดที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดเกิดจากการกระทำประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อเป็นเช็คห้ามเปลี่ยนมือและขีดฆ่าคำว่า "ผู้ถือ" ออก แต่เช็คฉบับดังกล่าวถูกนำไปเรียกเก็บยังธนาคารจำเลยที่ 1 ในบัญชีจำเลยร่วมซึ่งมิใช่ผู้รับเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่าย โดยผิดขั้นตอนไม่เป็นไปตามระเบียบ แล้วจำเลยร่วมเป็นผู้รับเงินและเบิกจ่ายเงินตามเช็คไป ส่วนการที่จำเลยร่วมและ น.ได้ร่วมกันนำเช็คของโจทก์หลายฉบับรวมทั้งเช็คที่เป็นมูลละเมิดในคดีนี้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร โจทก์จึงได้ดำเนินคดีกับจำเลยร่วมและ น.ฐานฉ้อโกง แล้วต่อมาโจทก์ จำเลยร่วม และน.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อให้จำเลยร่วมและ น.ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญาต่อไปนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของฝ่ายจำเลยร่วมและ น. หาได้มีผลถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการละเมิดไม่ เพราะเป็นคนละเรื่องกันโดยแท้ ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่พ้นความรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการมอบหมายให้พนักงานขับรถแทน
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารชนรถจักรยานยนต์โจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย แม้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถจะระบุชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งผู้โดยสาร โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างในขณะเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 4 พนักงานขับรถ ใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารขับรถยนต์โดยสารไปส่งผู้โดยสารแทนนั้น เป็นการแสดงออกชัดว่าจำเลยที่ 4 ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนตนในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 , 425 , 427 , 797 และ 820 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376-3377/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาพนักงานทำงานกะกลางวันบนเรือขุดเจาะ: ไม่ถือเป็นงานล่วงเวลาหากไม่มีการสั่งงาน
โจทก์เป็นพนักงานฝ่ายผลิต ทำงานกะกลางวันประจำแท่นผลิตเอราวัณ เมื่อเลิกงานแล้วจะพักอยู่ที่แท่นพักอาศัย จำเลยให้โจทก์ไปทำงานที่แท่นผลิตจูเลียสเป็นการชั่วคราว เมื่อเลิกงานแล้วจำเลยให้โจทก์นอนพักอยู่บนเรือเจาะก๊าซซึ่งจำเลยจัดให้มีที่พักอาศัย และในระหว่าง 18 นาฬิกา ถึง 6 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนนั้นจำเลยอาจสั่งให้โจทก์ขึ้นมาปฏิบัติงานปิดเปิดวาล์วโดยจ่ายค่าล่วงเวลาให้ตามความเป็นจริง การที่จำเลยให้โจทก์นอนพักบนเรือเจาะก๊าซก็เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานกะกลางวันในวันรุ่งขึ้นและสภาพไม่ต่างไปจากแท่นพักอาศัยเดิม มิใช่จำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยมิได้ปลุกโจทก์ขึ้นมาปฏิบัติงานปิดเปิดวาล์วจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสพนักงาน: เหตุผลการไม่จ่ายต้องอ้างอิงช่วงเวลาประเมินผล
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสกำหนดให้การประเมินผลพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยคิดจากผลงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน2536 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2537 ซึ่งระหว่างวันเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย หรือมีเหตุอื่นอันสมควรที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับเงินโบนัส จำเลยจะนำเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดโดยเล่นการพนันเมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากการคิดประเมินผลพนักงานดังกล่าวแล้วมาอ้างเป็นเหตุว่าโจทก์ไม่ควรมีสิทธิได้รับเงินโบนัสไม่ได้
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปี ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องที่ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดต่อปี ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้อง: การวินิจฉัยความประมาทเลินเล่อของพนักงานภายในองค์กรยังคงอยู่ในกรอบคำฟ้องเดิม
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม. จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการเบิกจ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อของพนักงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่1เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่1เช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม.จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่1ตามคำฟ้องนั่นเองหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเอกสารทางไปรษณีย์โดยชอบต่อบริษัท ที่มีบริษัทแม่มอบหมายให้บริษัทอื่นดูแลและใช้พนักงานร่วมกัน
โจทก์ประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย โดยมีสำนักงานอยู่ที่อาคารเลขที่ 2160 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และใช้อาคารเลขที่ดังกล่าวเป็นสำนักงานประกอบพาณิชยกิจตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของโจทก์ตามอาคารเลขที่ดังที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ.เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ.มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค.พนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทน จึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ.เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ.มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค.พนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทน จึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับเงื่อนไขการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และผลกระทบต่อการคำนวณเงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860 บาท คูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำเหน็จที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต พนักงานขับรถเบิกน้ำมันผิดวัตถุประสงค์ ความผิดตาม พ.ร.บ.พนักงานในหน่วยงานของรัฐ
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถขององค์การสวนยาง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับใบรับ-จ่ายน้ำมันมาแล้วมอบให้ ว.ไปเบิกน้ำมันใส่รถยนต์ส่วนตัวของว.ทั้ง ๆ ที่จำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำใบรับ-จ่ายน้ำมันไปเบิกน้ำมันใส่รถของผู้เสียหายเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในกิจการของผู้เสียหาย ย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 แต่หามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 4 ไม่ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในมาตรา 147 และจำเลยเป็นพนักงานขับรถเพียงแต่มอบใบรับ-จ่ายน้ำมันที่จำเลยได้รับมามอบให้ ว. ไปเบิกน้ำมันใช้เป็นส่วนตัวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11เท่านั้น พนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย เพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43