คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยานเพิ่มเติม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีมรดก: ศาลอนุญาตได้หากจำเป็นต่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่สำคัญ
ศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่บุตรของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้คัดค้านถึงแก่กรรมผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดี ศาลฎีกาอนุญาตให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านเสียจากสารบบความ แต่ยังคงวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ต่อไป
คดีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2535 เป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันโดยศาลชั้นต้นนัดไต่สวนไว้วันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 และเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่ 17 ธันวาคม 2535 แล้วเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่ 18 มกราคม 2536ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2535 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันอันเป็นการชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสองและวรรคสาม ต่อมาศาลชั้นต้นนัดและไต่สวนพยานผู้คัดค้านในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2536 ในวันเดียวกันนี้ แต่ก่อนไต่สวนผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 หนึ่งอันดับ คือทะเบียนบ้านซึ่งแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย ผู้ร้องมิได้แถลงคัดค้าน แต่กลับยอมรับด้วยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย จึงไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบประกอบกับคดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ด้วยมิใช่มีแต่เพียงประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่และมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติมนี้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลชั้นต้นใช้คำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตรและการจัดการมรดก: ศาลอนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อความเที่ยงธรรม
ศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าผู้ร้องมิใช่บุตรของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ร้องฎีการะหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้คัดค้านถึงแก่กรรมผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีศาลฎีกาอนุญาตให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านเสียจากสารบบความแต่ยังคงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ต่อไป คดีที่ไม่มีการชี้สองสถานผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกเมื่อวันที่7ตุลาคม2535เป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันโดยศาลชั้นต้นไต่สวนไว้วันที่12พฤศจิกายน2535และเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่17ธันวาคม2535แล้วเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่18มกราคม2536ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่1เมื่อวันที่18ธันวาคม2535ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันอันเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองและวรรคสามต่อมาศาลชั้นต้นนัดและไต่สวนพยานผู้คัดค้านในวันที่24กุมภาพันธ์2536ในวันเดียวกันนี้แต่ก่อนไต่สวนผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่2หนึ่งอันดับคือทะเบียนบ้านซึ่งแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายผู้ร้องมิได้แถลงคัดค้านแต่กลับยอมรับด้วยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายจึงไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบประกอบกับคดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ด้วยมิใช่มีแต่เพียงประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่และมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่จึงถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติมนี้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลชั้นต้นใช้คำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่2ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพิ่มเติม การเลิกสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินที่ชำระแล้ว
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้จำเลยนำสืบก่อนแล้วให้โจทก์สืบแก้ ก่อนสืบพยานจำเลยก็อ้างเหตุว่าเนื่องจากจำเลยได้นำส่งหมายเรียกพยานเอกสารให้แก่ธนาคารที่จำเลยอ้างในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาสืบพยานต่อศาลโดยเข้าใจว่าเอกสารดังกล่าวได้ถูกธนาคารทำลายและจำเลยได้ปิดบัญชีแล้วซึ่งขัดต่อความเป็นจริง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าจะต้องนำหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตน หรือไม่สามารถทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ และไม่ใช่เป็นประเด็นโดยตรงในคดี ซึ่งแม้จะอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมและนำสืบฟังได้ ก็หาได้มีผลให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมแต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องสืบพยานดังกล่าวนั้น
จำเลยผิดสัญญาและค้างชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวนแก่โจทก์ตามฟ้อง จำเลยจึงต้องชำระเงินส่วนนี้ให้โจทก์ ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าถ้าจำเลยไม่ชำระให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทคืนโจทก์ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ นั้น พอแปลได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญา เมื่อกรณีเป็นสัญญาต่างตอบแทนและตามสัญญาซื้อขายก็ไม่ได้กำหนดว่าเงินที่จำเลยชำระแล้วให้ริบดังนั้น คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมโจทก์จึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมและการวินิจฉัยรายจ่ายพิเศษที่ไม่เข้าข่ายรายจ่ายต้องห้าม
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานพร้อมทั้งแนบบัญชีพยานมาท้ายคำร้องด้วย ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่ว่า ค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่ถูกประเมินเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว คำสั่งที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่ แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงาน รายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการระบุพยานเพิ่มเติมหลังศาลไม่อนุญาต เหตุจำเลยไม่แจ้งเหตุผลในการไม่นำสืบพยานเดิม
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยมิได้ระบุเหตุที่ไม่สามารถทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสี่ ทั้ง ๆ ที่จำเลยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่พิพาทและจำเลยก็มีทนายความดำเนินคดีแล้วการที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเป็นประโยชน์ของตนและพยานหลักฐานบางอย่างก็มิเคยทราบว่ามีอยู่ ทั้งนี้เพราะทนายความคนเดิมมิได้ระบุอ้างไว้ เมื่อทนายความคนใหม่เข้ารับหน้าที่จำเลยเพิ่งทราบว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เป็นความจำเป็นนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานหลักฐานแล้ว และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินไม่สูง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยมิได้ระบุเหตุที่ไม่สามารถทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ทั้ง ๆ ที่จำเลยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่พิพาทและจำเลยก็มีทนายความดำเนินคดีแล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบประโยชน์ของตนและพยานหลักฐานบางอย่างก็มิเคยทราบว่ามีอยู่ ทั้งนี้เพราะทนายความคนเดิมมิได้ระบุอ้างว่าไว้ เมื่อทนายความคนใหม่เข้ารับหน้าที่จำเลยเพิ่งทราบว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เป็นความจำเป็นนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคแรก กรณีราคาทรัพย์สินไม่เกินสองแสนบาท และการไม่อนุญาตระบุพยานเพิ่มเติม
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเป็นประโยชน์ของตน และพยานหลักฐานบางอย่างก็มิเคยทราบว่ามีอยู่ ทั้งนี้เพราะทนายความคนเดิมมิได้ระบุอ้างไว้ เมื่อทนายความคนใหม่เข้ารับหน้าที่ จำเลยเพิ่งทราบว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เป็นความจำเป็นนั้น ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสี่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บังคับใช้ย้อนหลัง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.1 ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม อ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2ในส่วนนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์ และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 2 จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยต่อไปว่า แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้ว ก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90 นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม อย่างไร ไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมาย และแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม ไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังย้อนหลังในคดีแพ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าเอกสารหมายจ.1ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค2กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค2ในส่วนนี้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา3ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา2จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยต่อไปว่าแม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้วก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมอย่างไรไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมายและแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141(4)ประกอบด้วยมาตรา246ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค2เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณา, สิทธิในการระบุพยานเพิ่มเติม, และผลของการไม่นำสืบพยานของจำเลย
ในคดีที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนก่อน ผู้ร้องสอดสามารถปฏิบัติได้แต่ก็ไม่ปฏิบัติ และในการยื่นคำร้องสอดครั้งที่สองก่อนที่จะสืบพยานโจทก์นัดแรก ผู้ร้องสอดก็ไม่เสียค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องอีก แม้ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องครั้งที่สามเมื่อสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก เหลือพยานโจทก์ที่จะสืบต่อไปอีก 2 ปากอันเป็นเวลาที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่พฤติการณ์ของผู้ร้องสอดดังกล่าวก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ได้ หาจำต้องอนุญาตทุกกรณีไม่ และที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าทนายคนเดิมไม่เคยแจ้งให้ผู้ร้องสอดทราบว่าต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างใด ผู้ร้องสอดอาศัยทนายความดำเนินคดีให้ ทนายความดำเนินคดีบกพร่องไปในทางที่ไม่ชอบนั้นผู้ร้องสอดก็ไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวได้ เพราะทนายความเป็นตัวแทนของผู้ร้องสอดเอง ผู้ร้องสอดต้องรับผิดที่ตัวแทนได้กระทำการแทนไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งการสืบพยานโจทก์ในวันดังกล่าว 2 ปาก ทนายจำเลยก็มาซักค้านพยานโจทก์ด้วยโดยมิได้คัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่นำสืบและคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดนัดพิจารณาแต่อย่างใด จึงมีผลว่าจำเลยยอมรับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผ่านมาแล้ว จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบและกำหนดให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนไม่ชอบในวันหลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว การที่จำเลยคัดค้านดังกล่าวก็เพื่อจำเลยจะมีโอกาสนำพยานมาสืบใหม่นั่นเอง ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าการกำหนดหน้าที่นำสืบและหน้าที่การนำพยานเข้าสืบไม่ถูกต้องอย่างใด กรณีไม่มีเหตุที่จะกำหนดหน้าที่นำสืบและการนำพยานเข้าสืบใหม่ จำเลยโดยทนายจำเลยทราบวันนัดชี้สองสถานแล้วไม่มาศาลศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วนัดสืบพยานจำเลยแม้จะจำเลยไม่มาในวันนัดชี้สองสถานก็ถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง (เดิม)เมื่อศาลกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 14 กรกฎาคม 2531เวลา 9 นาฬิกา จึงต้องถือว่าจำเลยทราบวันเวลานัดสืบพยานจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณา ข้อที่จำเลยอ้างว่าทนายจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต จะนำมาเป็นข้ออ้างว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดหาได้ไม่เพราะทนายจำเลยเป็นตัวแทนของจำเลยเอง และศาลชั้นต้นก็ได้มีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอพิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสาม (3) สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาททำที่บ้านจำเลย การต่อรองราคาทำต่อหน้าพันตรีถ.สามีจำเลย เหตุที่ไม่ได้ให้สามีจำเลยให้ความยินยอมในการซื้อขายเนื่องจากจำเลยบอกว่าจำเลยและสามีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ประกอบกับสำเนา น.ส.3ก็มีชื่อจำเลยคือนางนิตยาสงวนจิตร เพียงผู้เดียวทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ก็ยังระบุชื่อ น.ส.นิตยาสงวนจิตรพฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีเหตุผลให้โจทก์เชื่อว่า จำเลยมิได้สมรสกับสามีจึงได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับจำเลย สัญญาดังกล่าวจึงผูกพันกันได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480และแม้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้โอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายโดยโจทก์ไม่ได้ขอชำระราคาที่ดินตอบแทนด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องไม่ชอบ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์โดยมีเงื่อนไขให้โจทก์ชำระราคาที่ระบุไว้ในสัญญาได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ การพิจารณาโดยขาดนัดอย่างเช่นคดีนี้เป็นการพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว ไม่มีการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อน กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88(เดิม) โจทก์จึงมีสิทธิระบุพยานเพิ่มเติมได้
of 10