พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสด ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้สินจริง
คำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องที่ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดเป็นพยานเอกสารที่ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ จึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิด ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติภายหลังจากจำเลยออกเช็คพิพาท จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสด ไม่ถือเป็นการชำระหนี้จริง จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นั้นจะต้องปรากฏในเบื้องต้นว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระแล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยนำเช็คมาแลกเงินสดจากโจทก์แสดงว่าก่อนออกเช็คจำเลยหาได้มีหนี้ต่อโจทก์ไม่ การออกเช็ค ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังจำเลยจึงพ้นจาก การเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ไม่ใช่ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ จึงไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตำแหน่งพนักงานสงเคราะห์ยางจังหวัดสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ได้ยักยอกปุ๋ยของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งอยู่ในอำนาจจัดการดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลย ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้หมายถึง บุคคลต่าง ๆตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายจึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2798/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีสำนักงานหรือป้ายโฆษณา ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
จำเลยตกลงหางานให้บุตรของป. ม. และ ห. แล้ว เรียก เอา ค่าบริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และจำเลยได้ได้ ดำเนินการ ที่จะให้บุตรของบุคคลทั้งสามได้เข้าทำงานโดยพาไปสมัครสอบ ถือได้ว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่บุคคลทั้งสามแล้วการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อทำงานในประเทศ โดยเรียกเก็บค่าบริการตอบแทนในการจัดหางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 จนกว่าจะมี ร.ก. ออกมา
คู่ความท้ากันว่า ถ้าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยยอมแพ้ ข้อต่อสู้อื่น ๆ จำเลยสละทั้งหมด ถ้าจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโจทก์ยอมแพ้ สำหรับค่าเสียหายหากโจทก์ชนะคดี จำเลยยอมให้เป็นไปตามฟ้อง ปรากฏว่ามาตรา63 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใด นอกจากการเช่านาเป็นช่องทางให้เกิดการเอาเปรียบเกษตรกรผู้เช่าโดยไม่เป็นธรรมจนเกิดความเดือดร้อนและเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทนั้นมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่ปรากฏว่าตั้งแต่ได้ตราพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนบัดนี้ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาใช้บังคับให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทใด แสดงว่ากฎหมายดังกล่าวยังไม่ประสงค์ให้มีการควบคุมคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา) เหมือนกับการเช่านาเพื่อทำนาปลูกข้าวหรือพืชไร่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 22 และมาตรา 26 จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยต้องแพ้คดีตามคำท้า และแม้โจทก์ได้โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยกับบุตรแล้วในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยังต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นับแต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทจนถึงวันที่โจทก์โอนที่พิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินกระทบต่อการเพิ่มโทษในคดีซ้ำ
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ให้ล้างมนทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆการล้างมลทินตามพระราชบัญญัตินี้มิได้จำกัดความผิดของผู้ต้องโทษไว้ผู้ต้องโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษจึงอยู่ในข่ายได้รับผลด้วยจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองไปก่อนวันที่5 ธันวาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจึงถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนี้มาก่อน เพิ่มโทษจำเลยในคดีหลังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินและการเพิ่มโทษ: ผลของ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษในความผิดซ้ำ
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษาพ.ศ. 2530 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ การล้างมลทินตามพระราชบัญญัติ นี้มิได้จำกัดความผิดของผู้ต้องโทษไว้ ผู้ต้องโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษจึงอยู่ในข่ายได้รับผลด้วยจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองไปก่อนวันที่ 5ธันวาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจึงถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนี้มาก่อน เพิ่มโทษจำเลยในคดีหลังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้างมลทินจาก พ.ร.บ.ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ส่งผลต่อการเพิ่มโทษจำเลย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2526มาตรา 4ประกาศใช้บังคับ มีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยที่1 ซึ่งได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้แม้จำเลยที่ 1มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา การแจ้งหนังสือบอกเลิกต้องส่งถึงคณะกรรมการควบคุมการเช่านา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่นาพิพาทที่จำเลยเช่าโดยอ้างว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำเป็นร้านค้าอย่างถาวร อันเป็นการใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากการทำนา โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จะบอกเลิกการเช่านาตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา มาตรา 32 (3) จะต้องปฏิบัติตาม มาตรา 35 กล่าวคือโจทก์ผู้ให้เช่านาต้องแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกไปยังจำเลยและส่งสำเนาหนังสือนั้นต่อประธานคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลเพื่อพิจารณาก่อนว่ามีเหตุสมควรหรือไม่อย่างไร โดยให้ผู้เช่ามีโอกาสคัดค้านด้วย
การที่คณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลและประจำจังหวัดมีคำวินิจฉัยและมีมติให้จำเลยออกจากที่นาพิพาท อันเป็นการวินิจฉัยในเหตุอื่นซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่มีผลทำให้การบอกเลิกการเช่านาพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยชอบ
การที่คณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำตำบลและประจำจังหวัดมีคำวินิจฉัยและมีมติให้จำเลยออกจากที่นาพิพาท อันเป็นการวินิจฉัยในเหตุอื่นซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่มีผลทำให้การบอกเลิกการเช่านาพิพาทของโจทก์เป็นไปโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีความผิดซ้ำ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2526 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2525 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้น ๆ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนก่อนที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 ใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัตินี้ ต้องถือว่ามิได้เคยถูกลงโทษมาก่อน จึงเพิ่มโทษจำเลยตามคำขอของโจทก์ไม่ได้