พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีครอบครัว: ไม่จำต้องมีหากบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 24 วรรคท้ายและมาตรา 109 มุ่งประสงค์ที่จะให้การพิจารณาคดีครอบครัวที่ต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วย ก็แต่เฉพาะคดีครอบครัวที่มีผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีเท่านั้น เมื่อขณะฟ้องบุตรทุกคนบรรลุนิติภาวะแล้วจึงเป็นคดีครอบครัวที่ไม่มีเป็นผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่จำต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความก่อนการพิจารณาคดีว่าประสงค์จะให้มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะด้วยหรือไม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8005/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาและการวินิจฉัยความผิดของศาลอุทธรณ์ต้องครบถ้วนก่อนตัดสินโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต คำพิพากษาศาลชั้นต้นเช่นว่านี้ยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษายืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ลงโทษเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่า จำเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่ได้พิจารณาและวินิจฉัยดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดพิจารณาคดี การเลื่อนคดี และผลกระทบต่อการดำเนินคดีแพ่ง
การปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาลจะมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน นับตั้งแต่ปิดประกาศได้ล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสอง คดีนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 โดยปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งการปิดประกาศนี้จะมีผลเป็นการแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยชอบนับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 ดังนั้น ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 เมื่อจำเลยไม่มาศาล หากโจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้
ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยชอบเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลและให้ยกฟ้องของโจทก์เพราะโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคห้า จึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยชอบเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลและให้ยกฟ้องของโจทก์เพราะโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคห้า จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายยาเสพติดให้โทษระหว่างการพิจารณาคดี และผลกระทบต่อการลงโทษปรับและจำคุก
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2545 มาตรา 26 ยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างจากมาตรา 91 เดิมซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพับบาทถึงหนึ่งแสนบาทโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าเดิม จึงต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า ส่วนโทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่สูงกว่าโทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายเดิม โทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า แต่โทษปรับขั้นสูงตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า ดังนั้น กรณีโทษปรับจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด โทษปรับที่จะลงแก่จำเลยอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดหรือใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดก็ได้ ศาลฎีกาจึงใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและผลของกฎหมายที่ใช้บังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการพิจารณาคดี
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 แม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2543ยกเลิกพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพ.ศ. 2543 เป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม แต่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีจะถึงที่สุด"คดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญา: ความชอบด้วยกฎหมายและขอบเขตของข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางพิจารณา
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดที่โจทก์กล่าวหาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80,335,336 ทวิ พอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดข้อหาใดได้แล้ว แม้ตามคำฟ้องของโจทก์ในตอนต่อมาบรรยายว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดของกลางที่จำเลยกับพวกได้ใช้หรือมีไว้ใช้เพื่อกระทำความผิดก็ไม่ ทำให้คำฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้อยู่แล้ว และหากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกระทำผิดกับพวกอีกหลายคน จำเลยก็คงได้รับโทษตามความผิดที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องเท่านั้น คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์ การที่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณารับฟังได้เพิ่มเติมจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยได้ร่วมกับพวกอีกหลายคนกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายนั้น ก็ไม่เป็นข้อสาระสำคัญที่จะให้ถือว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องอันจะทำให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์ การที่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณารับฟังได้เพิ่มเติมจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยได้ร่วมกับพวกอีกหลายคนกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายนั้น ก็ไม่เป็นข้อสาระสำคัญที่จะให้ถือว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องอันจะทำให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดอำนาจอุทธรณ์ของผู้เสียหายที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานที่ถูกพิจารณา และความชอบธรรมในการพิจารณาคดี
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายที่ 1 เฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุกมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยมิได้ระบุว่าให้เข้าร่วมในความผิดใดก็ต้องถือว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุกเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองข้อหาและโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดดังกล่าว และพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่ง: การมาศาลหลังเวลาที่กำหนดถือว่าขาดนัดและไม่อาจยื่นคำร้องใหม่ได้
การที่โจทก์ต้องมาศาลในวันนัดสืบพยาน โจทก์ต้องมาตรงตามเวลานัดด้วยมิใช่ว่าโจทก์จะมาศาลในเวลาใดก็ได้ก่อนสิ้นเวลาทำการของศาล เมื่อศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาในวันนัดสืบพยานโจทก์เวลา 10.30 นาฬิกา เกินเวลานัดไปถึง 1 ชั่วโมง 30 นาทีฝ่ายโจทก์ก็ยังไม่มา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องจึงต้องถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความอันเป็นคำสั่งตามบทบัญญัติมาตรา 132(2) ประกอบมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) จึงชอบแล้ว หลังจากนั้นโจทก์มาศาลและยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีขึ้นมาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปย่อมมีผลเท่ากับการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายตามกฎหมายเดิม แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง ศาลต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง
การจะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองสมควรล้มละลายหรือไม่ ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่มีการยื่นฟ้องและคดีนั้นยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 ที่บัญญัติว่า "บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาล? ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" เมื่อคดีนี้ยื่นฟ้องก่อนที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับและได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท จึงเข้าองค์ประกอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (เดิม) ประกอบกับในการพิจารณาคดีล้มละลายต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 (เดิม) หรือมาตรา 10 (เดิม) ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ยกฟ้อง ฉะนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และจำเลยทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ลำพังเหตุที่มีการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยเพิ่มจำนวนหนี้ที่จะฟ้องล้มละลายให้สูงขึ้น ยังไม่พอฟังว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งรังวัดที่ดินระหว่างพิจารณาคดี, แผนที่วิวาท, การรับฟังพยานเพิ่มเติม, และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดที่ดินและทำแผนที่วิวาทตามคำขอของโจทก์ แม้จะมีคำสั่งภายหลังโจทก์และจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทำแผนที่วิวาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอหรือจะสั่งตามที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็ได้ เมื่อศาลอนุญาตแล้วแม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็สามารถรับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตามมาตรา 87(2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทำแผนที่วิวาทเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอหรือจะสั่งตามที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็ได้ เมื่อศาลอนุญาตแล้วแม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติมศาลก็สามารถรับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตามมาตรา 87(2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน