พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
แม้ตามคำร้องของโจทก์จะเป็นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่คำร้องก็ได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่การพิจารณาผิดระเบียบว่าเกิดจากการส่งหมายนัดของเจ้าพนักงานศาลไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าโจทก์ได้ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จึงขอให้ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่ ซึ่งแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควร จึงมาศาลไม่ได้ และขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181และการที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยโจทก์ไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับที่มิชอบและการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ที่ล่าช้า ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 เดิม เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่เมื่อได้มีการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้แก่จำเลย หรือภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ซึ่งในการส่งคำบังคับนั้น ต้องเป็นการส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) หากการส่งคำบังคบให้แก่จำเลยไม่ใช่เป็นการส่งไปยังสถานที่ดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยมิชอบ เมื่อยังไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบ กำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง(เดิม)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงยังไม่เริ่มนับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากที่ผิดพลาด และการขอพิจารณาคดีใหม่ที่ไม่อ้างเหตุผลชัดเจน
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเป็นเพียงการบรรยายเหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และระบุเพียงว่าหากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลง เพราะโจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร ที่จะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่ในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และกระบวนการพิจารณาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยบรรยายแต่เหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และมีเฉพาะข้อความในช่วงท้ายเท่านั้นที่ระบุว่า หากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลงอย่างแน่นอน เพราะหากตรวจสอบอย่างดีแล้วจะพบดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไรที่จะแสดงให้เห็นว่าศาลได้พิจารณาคดีใหม่จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง(3) ได้บัญญัติไว้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น จึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยอาศัยมาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง(3) ได้บัญญัติไว้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น จึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยอาศัยมาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้จำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง หมายถึงการนำคู่ความหรือเอกสารไปติดไว้ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ซึ่งต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไปโดยง่าย ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลยซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย จึงไม่อาจถือว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต้องยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยก็ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันยึดทรัพย์
จำเลยไม่อาจยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตาม คำพิพากษา เพราะจำเลยไปประกอบอาชีพที่จังหวัดลำปาง โดยจำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวัน นับจากจำเลยทราบประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์ ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ก็ตาม แต่การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวได้ล่วงพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ ของจำเลยแล้ว ซึ่งกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหาใช่หกเดือนนับแต่ทราบว่าถูกฟ้องดังที่จำเลยฎีกาไม่ เมื่อจำเลยมิได้ ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9662/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มิฉะนั้นอุทธรณ์ไม่ชอบ
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ มีผลเท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้โจทก์จำเลยนำพยานเข้าสืบต่อไป จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 , 247 และถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายและการทราบนัด การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีล้มละลายได้ ก็ต่อเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย มิได้บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะและนำมาใช้โดยอนุโลมตามสภาพลักษณะของคดีล้มละลายที่ให้พิจารณาเป็นการด่วน
การทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำ ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) มาใช้บังคับ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/11 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ศาลล้มละลายดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว" ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลล้มละลายสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา แม้ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายดังกล่าวแล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
คำสั่งศาลล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลยจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
การทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำ ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) มาใช้บังคับ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/11 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ศาลล้มละลายดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว" ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลล้มละลายสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา แม้ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายดังกล่าวแล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
คำสั่งศาลล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลยจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9452/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ล่าช้า ต้องระบุวันที่ทราบคำบังคับชัดเจน จึงจะถือว่าแจ้งเหตุอย่างละเอียด
ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งแล้วว่า แม้จำเลยจะอ้างในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า จำเลยไปประกอบธุรกิจต่างจังหวัดเป็นเวลาปีเศษ ไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่วันที่เท่าใด เพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อใดอันไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด 15 วันได้ถือได้ว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการล่าช้านั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด และคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ที่ถูกห้ามตามกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ที่โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง และมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) มิได้กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ หรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายใด คงอ้างแต่เพียงว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์ไม่มีเจตนาที่จะละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งของศาล ขอให้ไต่สวนและกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ต่อไป เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา จึงถือได้ว่าคำร้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียได้ โดยไม่ต้องทำการไต่สวน