คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการชำระหนี้โดยไม่ชอบ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมิสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2)
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(2) การที่ลูกจ้างและกรรมการของจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ อ. ม. และ ส. ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย โดยบุคคลทั้งสามไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไปและการรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลทั้งสาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะต้องใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้ดังกล่าวจากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้ยืมเงินจำนวนนั้นต่อไป ไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 เรียกร้องให้อ. ม. และ ส. ชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการยกเหตุไม่ควรให้ล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในชั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายจำเลยอุทธรณ์ 2 ประการ คือไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยทุจริตดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประการหนึ่ง และคดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายล้มละลายโดย พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กำหนดจำนวนหนี้ขั้นต่ำที่จะฟ้องคดีล้มละลายไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และในคดีมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 4 ราย ขอให้ศาลอุทธรณ์หยิบยกมาตรา 14 ขึ้นพิจารณาอีกประการหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาที่สองว่าจำเลยจะสามารถขอให้ศาลยกเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มลายตามมาตรา 14 มาพิจารณาในชั้นขอประนอมหนี้ได้หรือไม่ อย่างไร จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วสมดั่งเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียว
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับขั้นตอนการพิจารณาคดีล้มละลาย: เหตุไม่ควรล้มละลายต้องยกขึ้นก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เหตุไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 เป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงต้องพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามมาตรา 61

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องมีสถานะเป็นหุ้นส่วนขณะฟ้องและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงจะถูกขอให้ล้มละลายได้
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งได้จดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้นั้น ต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในขณะที่โจทก์ฟ้องและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนไว้เด็ดขาด ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในช่วงก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่อาจขอให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231
คดีล้มละลาย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ประกอบกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายจะต้องดำเนินเป็นการด่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และ 153 จำเลยจะมาขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังเช่นการขอทุเลาการบังคับคดีแพ่งธรรมดาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 231 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้โจทก์ใช้สิทธิบังคับคดีตามกฎหมาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
เมื่อโจทก์นำพยานเข้าสืบฟังได้ว่าจำเลยต้องข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วก็เป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำพยานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การและยังขาดนัดพิจารณาอีกด้วย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการบังคับคดี เมื่อระยะเวลาในการบังคับคดีใกล้จะสิ้นสุดจึงมาฟ้องคดี ทำให้มีการคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมาและเป็นจำนวนมากนั้น เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต จะถือเป็นกรณีที่มีเหตุไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงถามแล้วไม่ปฏิเสธ ถือเป็นหนี้เด็ดขาด มีสิทธิบังคับคดีได้ภายใน 10 ปี
หนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้มีหนังสือทวงหนี้และจำเลยมิได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งความ ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้กองทรัพย์สินของเจ้าหนี้เป็นการเด็ดขาดและถือเสมือนว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเสมือนหนึ่งว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดเวลาให้ปฏิเสธหนี้ อันถือเสมือนว่าเป็นวันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 มิใช่นับแต่วันที่ศาลออกคำบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในหนี้รายนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีแล้ว หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยยื่นฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและ อาคารพิพาท จึงเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย โดยวินิจฉัยว่า จำเลย ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย เด็ดขาดไปก่อนจำเลยยื่นฎีกาคดีนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ฎีกาของจำเลยเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยื่นฎีกาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกายกคดี ขึ้นพิจารณาใหม่ในชั้นศาลฎีกาได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8799/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีลูกหนี้ร่วมและทรัพย์สินอื่นเพียงพอ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร การที่โจทก์รับจำนองที่ดินในราคา 8,000,000 บาท เป็นการแสดงให้เห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีราคาที่แท้จริงสูงกว่า 8,000,000 บาท หากโจทก์ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้ดีก่อนฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์ย่อมทราบว่าจำเลยที่ 2 มีที่ดินที่จำนองแก่โจทก์อีก 5 แปลง ซึ่งสามารถยึดมาชำระหนี้จำนองได้และยังมีเงินเหลือที่จะนำมาชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีกด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด
แม้หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นหนี้ร่วม และจำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ ให้โจทก์ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่การมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน และโจทก์สามารถเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ได้เต็มจำนวน เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (5) นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่เคยติดต่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย
of 38